ท่าอากาศยานปัตตานี

ท่าอากาศยานปัตตานี หรือ สนามบินปัตตานี (IATA: PANICAO: VTSK) ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 16 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] ปัจจุบันใช้งานเฉพาะราชการทหาร ไม่เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์[2]

ท่าอากาศยานปัตตานี
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ / ทหาร
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน / กองทัพบกไทย
พื้นที่บริการจังหวัดปัตตานี
ที่ตั้งตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
เหนือระดับน้ำทะเล8 ฟุต / 2 เมตร
พิกัด06°47′07.65″N 101°09′12.85″E / 6.7854583°N 101.1535694°E / 6.7854583; 101.1535694
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/pattani/home.php
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
08/26 4,593 1,400 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร0
เที่ยวบิน0
แหล่งข้อมูล: https://airports.go.th

ประวัติ

แก้

สนามบินปัตตานี หรือที่เรียกว่า "สนามบินบ่อทอง" ก่อตั้งขึ้นโดยกองทัพอากาศ ซึ่งใช้ในภารกิจสนับสนุนทางทหาร แต่เนื่องจากความต้องการในการขนส่งทางอากาศสูงขึ้น จึงมีการขยายและปรับปรุงท่าอากาศยานให้เหมาะสม และบริษัทเดินอากาศไทย ได้ทำการบินไปยังท่าอากาศยานปัตตานี ใน พ.ศ. 2506 โดยใช้เครื่องบินดักลาส ดีซี-3 ต่อมาได้พัฒนาปรับปรุงทางวิ่งยาว 1,400 เมตร เพื่อรองรับการขึ้น-ลงของเครื่องบินใบพัดแบบBAe Avro-748 และเครื่องบินชอร์ทบราเทอร์แบบ SD 3-30/60 ที่มีใช้ในกิจการพลเรือนขณะนั้น

หลังจากเดินอากาศไทย ได้รวมกิจการกับการบินไทย ต่อมาประสบปัญหาการให้บริการบินในเส้นทางหาดใหญ่-ปัตตานีไปและกลับ โดยได้ให้บริการด้วยเครื่องบินแบบ เอทีอาร์ 72 เนื่องจากมีปริมาณการเดินทางของผู้โดยสารอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก จึงขอหยุดทำการบินในเส้นทางดังกล่าวเป็นการชั่วคราว ซึ่งก็ได้รับอนุมัติจากกระทรวงคมนาคมให้หยุดบินตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2536 จนถึงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2536 และในที่สุดจึงได้หยุดทำการบินถาวรใน พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีแต่อากาศยานของทางราชการ และอากาศยานเช่าเหมาลำขนาดเล็กใช้บริการที่ท่าอากาศยานแห่งนี้เท่านั้น[2]

อาคารสถานที่

แก้

อาคารผู้โดยสาร

แก้

ท่าอากาศยานปัตตานีมีอาคารผู้โดยสารขนาดเล็ก 1 หลัง พื้นที่ใช้สอย 530 ตารางเมตร และมีลานจอดอากาศยานขนาดกว้าง 60 เมตร ยาว 155 เมตร สามารถรองรับอากาศยานประเภท เอทีอาร์ 72 ได้[3]

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)

แก้

ท่าอากาศยานปัตตานีมีทางวิ่งขนาดกว้าง 40 เมตร โดยไม่มีไหล่ทางวิ่ง และยาว 1,400 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 40 เมตร และความยาวข้างละ 227 และ 52 เมตร และมีทางขับขนาดกว้าง 23 เมตร และยาว 120 เมตร จำนวน 2 เส้น

รายชื่อสายการบิน

แก้

การใช้งานในปัจจุบัน

แก้

ไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ มีแต่อากาศยานของทางราชการ ใช้บริการที่ท่าอากาศยานแห่งนี้ โดยล่าสุดในปี 2559 มีการใช้งานจำนวน 12 เที่ยวบิน[4]

สายการบินที่เคยให้บริการ

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
เดินอากาศไทย นราธิวาส หาดใหญ่
การบินไทย หาดใหญ่[2]

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน

แก้

ท่าอากาศยานปัตตานีตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 (ถนนเพชรเกษมสายปัตตานี–นราธิวาส)

อ้างอิง

แก้
  1. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 "ความเป็นมาของท่าอากาศยานปัตตานี". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  4. ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ กรมท่าอากาศยาน