ท่ากรรเชียง (อังกฤษ: Backstroke) เป็นท่าว่ายน้ำที่นิยมกันทั้งในการแข่งขันและในการออกกำลังกายยามว่าง ผู้เริ่มฝึกว่ายน้ำจะมีความรู้สึกว่าตนเองเรียนรู้วิธีการว่ายท่ากรรเชียงได้ง่ายกว่าท่าวัดวา ท่ากบหรือท่าผีเสื้อ เพราะใบหน้าไม่ต้องจมอยู่ในน้ำ นอกจากนี้การลอยตัวหงายว่ายท่ากรรเชียงทำให้หายใจได้สะดวกกว่า ลืมตาได้ง่ายกว่า แต่การว่ายน้ำไปข้างหลังซึ่งตามองไม่เห็น ต้องระวังไม่ให้ชนกับสิ่งอื่น ก่อนฝึกท่ากรรเชียงต้องแน่ใจว่าสามารถลอยตัวหงายได้ดี ไม่เกร็ง แล้วจึงเริ่มฝึกขั้นต่อไป

การว่ายน้ำท่ากรรเชียง

ความเร็วและการยศาสตร์ แก้

เทคนิค แก้

การเคลื่อนไหวของแขน แก้

วางแขนข้างใดข้างหนึ่งลงในน้ำ ในลักษณะแขนเหยียดตรงเหนือศีรษะจนเกือบเป็นเส้นตรงกับหัวไหล่ นิ้วมือทั้งห้าชิดกัน โดยนิ้วก้อยจะสัมผัสผิวน้ำเป็นอันดับแรกตรงตำแหน่งด้านหลัง ในตำแหน่ง 11 นาฬิกา หรือ 1 นาฬิกา ให้ไหล่ยกเล็กน้อยและหันฝ่ามือออกจากลำตัว ในจุดนี้มือจะกดลงในน้ำลึกประมาณ 4-6 นิ้ว ต่อจากนั้นให้พุ้ยน้ำและผลักฝ่ามือกลับเข้ามาที่ขา เป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะลง-ขึ้น-ลงเหมือนขว้างน้ำหรือร่อนจานตรงไปยังเท้าด้วยฝ่ามือ เมื่อสิ้นสุดการเคลื่อนไหวแขนในแต่ละครั้งมือจะอยู่ชิดกับขา ฝ่ามือลงสู่พื้นสระ หลังจากผลักมือไปแล้วจะยกขึ้นพ้นน้ำ ขั้นตอนนี้เรียกว่าการกลับเข้าที่ วิธีปฏิบัติอย่างง่ายที่สุดในการดึงแขนกลับเข้าที่คือพยายามเหยียดแขนให้ตรงและยกขึ้นตรง ๆ จุดหมุน คือ ข้อต่อหัวไหล่และยกมือขึ้นจนถึงจุดสูงสุดในอากาศแล้วฝ่ามือจะหมุนออกไปจากลำตัวซึ่งจะทำให้นิ้วก้อยหันลงสู่ผิวน้ำเป็นอันดับแรก เมื่อจะยกแขนขึ้นจากน้ำต้องหันฝ่ามือเข้าหาขาก่อน โดยบิดข้อมือเล็กน้อยให้ฝ่ามืออยู่ข้างขา แล้วยกขึ้นตรง ๆ หัวแม่มือจะพ้นน้ำขึ้นมาก่อน ถ้ายกขึ้นในลักษณะคว่ำมือจะเกิดแรงต้านทานกับน้ำ ทำให้ความเร็วลดลงได้ การเคลื่อนไหวแขนมีความสำคัญต่อการเคลื่อนที่ไปข้างหน้ามากกว่าการเคลื่อนไหวขา

การเตะสลับเท้าได้คงที่สม่ำเสมอเป็นหัวใจของความสำเร็จในการว่ายท่ากรรเชียง ในขณะเคลื่อนไหวเท้า ให้งอเข่าเล็กน้อยในจังหวะที่เตะปลายเท้าขึ้นบน พร้อมกันนั้นปลายเท้าต้องชี้ตรง ไม่เกร็งข้อเท้า ขณะเตะสลับเท้าควรจำไว้ว่า ต้องทำน้ำให้เดือดด้วยปลายเท้า ในลักษณะนี้คือการทำน้ำกระจายขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การหายใจ แก้

หลังจากรู้วิธีเคลื่อนไหวแขนและขาแล้ว ต่อไปก็ควรฝึกการหายใจให้เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอและทำด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย สบายและไม่เกร็ง โดยปฏิบัติ ดังนี้มือทั้งสองอยู่ในตำแหน่งที่ตรงข้ามกันเสมอ เมื่อมือข้างหนึ่งต้องลงสู่น้ำ ในขณะเดียวกันต้องยกปลายเท้าหรือหัวแม่เท้าเตะสลับในลักษณะตีน้ำให้เดือด หายใจเข้า-ออกให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอคงที่ ช้า ๆ ไม่เร่งรีบ จะช่วยให้ฝึกว่ายน้ำท่ากรรเชียงได้ง่ายและดีขึ้นโดยใช้เวลาไม่มากเกินไป

การเคลื่อนไหวร่างกาย แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้