ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)

ผู้ช่วยประธานาธิบดีฝ่ายกิจการความมั่นคงแห่งชาติ (อังกฤษ: Assistant to the President for National Security Affairs, ย่อ APNSA) หรือ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (อังกฤษ: National Security Advisor, ย่อ NSA) [1][2] ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของประธานาธิบดีสหรัฐฯในเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีและไม่จำเป็นต้องได้รับการยืนยันจากวุฒิสภา[3] แต่การแต่งตั้งนายพลสามหรือสี่ดาวให้ดำรงตำแหน่งต้องมีลงมติจากวุฒิสภาสหรัฐฯ[4]

ผู้ช่วยประธานาธิบดีฝ่ายกิจการความมั่นคงแห่งชาติ
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
เจค ซัลลิแวน

ตั้งแต่ 09 เมษายน 2018
สำนักประธานาธิบดีสหรัฐ
สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ
รายงานต่อประธานาธิบดีสหรัฐ
ผู้แต่งตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
ตราสารจัดตั้งรายงานประธานาธิบดีด้านความมั่นคงแห่งชาติ
สถาปนา1953
คนแรกโรเบิร์ต คัทเลอร์
รองรองที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ
เว็บไซต์The White House

ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ มีส่วนร่วมในการประชุมของสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NSC) และมักจะเป็นประธานการประชุมของคณะกรรมการหลักของสภาความมั่นคงแห่งชาติร่วมกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (การประชุมที่ประธานาธิบดีสหรัฐไม่ได้เข้าร่วม) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานการวิจัยและการบรรยายให้กับที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติเพื่อทบทวนและนำเสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือต่อประธานาธิบดีโดยตรง

บทบาทและหน้าที่ แก้

อิทธิพลและบทบาทของที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ แตกต่างกันไปตั้งแต่การบริหารงานจนถึงคุณสมบัติของบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่ยังอยู่ในรูปแบบและปรัชญาการบริหารของประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ด้วย[5] ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติทำหน้าที่เป็นนายหน้าที่ซื่อสัตย์ในการเลือกนโยบายสำหรับประธานาธิบดีในด้านของความมั่นคงของชาติ แทนที่จะเป็นผู้สนับสนุนนโยบายของตนเอง[6]

อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติเป็นตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในสำนักบริหารของประธานาธิบดีและไม่มีอำนาจทางสายบังคับบัญชาหรืองบประมาณเหนือกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ หรือกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ซึ่งแตกต่างจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซึ่ง วุฒิสภาสหรัฐ ได้ลงมติยินยอมและเห็นชอบให้มีอำนาจตามกฎหมายในหน่วยงานของตน[7] แต่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสามารถให้คำแนะนำด้านสถานการณ์รายวัน (เนื่องจากความใกล้ชิดกับประธานาธิบดี) ต่อประธานาธิบดีโดยไม่ขึ้นกับผลประโยชน์ของหน่วยงานใดหรือบุคคลใด[5]

ในยามวิกฤตการณ์ หรือ สถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสามารถดำเนินงานได้จากจากห้องสถานการณ์ทำเนียบขาว หรือศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินของประธานาธิบดี (เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544[8]), ซึ่งได้แก้ไขระเบียบตามคำสั่งประธานาธิบดี หลังจากเผชิญเหตุวิกฤตการณ์ในช่วงล่าสุด

ผู้ดำรงตำแหน่ง จอห์น อาร์ โบลตัน อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ ในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ตามการแต่งตั้งของประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ สืบต่อจาก พลโท เอช อาร์ แม็คมาสเทอร์

ตั้งแต่วันที่ 09 เมษายน 2561 ซึ่งดำรงตำแหน่งคนที่ 27 และ คนปัจจุบัน

ประวัติ แก้

 
ประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ประชุมในห้องทำงานรูปไข่ กับทีมสภาความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับปฏิบัติการโล่ทะเลทราย ค.ศ.1991

สภาความมั่นคงแห่งชาติ ถูกสร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นสงครามเย็นภายใต้รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ พ. ศ. 2490 เพื่อประสานงานด้านงานกลาโหม,การต่างประเทศ,นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและหน่วยสืบราชการลับ นี่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปครั้งใหญ่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐและสำนักข่าวกรองกลาง[9][10] ตัวรัฐบัญญัติไม่ได้สร้างตำแหน่งที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติโดยตัวของมันเอง แต่มันก็สร้างตำแหน่งเลขานุการบริหารเพื่อดูแลและรับผิดชอบเจ้าหน้าที่ขึ้นมา ในปี พ. ศ. 2492 สภาความมั่นคงแห่งชาติได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานบริหารของประธานาธิบดี[9]

โรเบิร์ต คัทเลอร์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติเป็นคนแรกในปี พ. ศ. 2496 ระบบดังกล่าวยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปนับตั้งแต่นั้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติและเจ้าหน้าที่ที่เข้มแข็งแต่มีความสำคัญน้อยลง ความต่อเนื่องเหล่านี้ยังคงมีอยู่แม้จะมีแนวโน้มที่ประธานาธิบดีคนใหม่จะแต่งตั้งที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติและเจ้าหน้าที่อาวุโสของสภาความมั่นคงแห่งชาติใหม่ก็ตามที[9]

ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ,เฮนรี คิสซินเจอร์ ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทการควบคุมการไหลเวียนของข้อมูลให้กับประธานาธิบดี และประชุมเขาหลายครั้งต่อวัน คิสซิงเจอร์ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติและรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ในเวลาเดียวกันนับจากวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2516 จนถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2518[9][10]

อ้างอิง แก้

  1. The National Security Advisor and Staff: p. 1.
  2. Abbreviated NSA, or sometimes APNSA or ANSA in order to avoid confusion with the abbreviation of the National Security Agency.
  3. The National Security Advisor and Staff: p. 29.
  4. "McMaster will need Senate confirmation to serve as national security adviser" (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-01. สืบค้นเมื่อ 2017-03-12.
  5. 5.0 5.1 The National Security Advisor and Staff: pp. 17-21.
  6. The National Security Advisor and Staff: pp. 10-14.
  7. See 22 U.S.C. § 2651 for the Secretary of State and 10 U.S.C. § 113 for the Secretary of Defense.
  8. Clarke, Richard A. (2004). Against All Enemies. New York: Free Press. p. 18. ISBN 0-7432-6024-4.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 George, Robert Z; Harvey Rishikof (2011). The National Security Enterprise: Navigating the Labyrinth. Georgetown University Press. p. 32.
  10. 10.0 10.1 Schmitz, David F. (2011). Brent Scowcroft: Internationalism and Post-Vietnam War American Foreign Policy. Rowman & Littlefield. pp. 2–3.