รูมิโกะ ทากาฮาชิ
รูมิโกะ ทากาฮาชิ (ญี่ปุ่น: 高橋 留美子; โรมาจิ: Takahashi Rumiko; เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2500) เป็นนักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นผู้เขียน ลามู ทรามวัยจากต่างดาว, อิกโคคุ บ้านพักหรรษา, วนาแห่งเงือก, รันม่า ½, ฤทธิ์หมัดเสือหิว, อินุยาฉะ, รินเนะ, Mao หาญสู้พลิกชะตาอาถรรพณ์
รูมิโกะ ทากาฮาชิ | |
---|---|
高橋 留美子 | |
เกิด | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2500 เมืองนีงาตะ จังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น |
อาชีพ | นักเขียนการ์ตูน |
ผลงานเด่น | |
รางวัล | Best New Comic Artist Award [1] Seiun Award [2] Inkpot Award [3] Shogakukan Manga Award [4][5] Science Fiction Hall of Fame [6] Eisner Award Hall of Fame [7] Grand Prix de la ville d’Angoulême [8] Medal of Honour (Medal with Purple Ribbon) [9] |
เธอเป็นนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงโด่งดังและได้รับความนิยมอย่างมากทั้งจากผู้คนในวัยเด็กวัยผู้ใหญ่ ผลงานสร้างสรรค์ของเธอมีเอกลักษณ์เป็นที่ยอมรับและมีผู้คนติดตามชื่นชอบทั้งในญี่ปุ่นในต่างประเทศ เนื่องจากการ์ตูนของเธอมีลายเส้นน่ารักอ่านง่ายมีความสนุกสนานในตัวเอง[10]
การงาน
แก้ชีวิตการเรียนของเธอไม่ได้เรียนจบมาในด้านศิลปะ แต่เรียนมาในด้านโบราณคดี และตอนแรกเธอคิดว่า เรียนมาทางไหน ก็ไปทางด้านนั้น ไม่ได้สนใจจะมาทางด้านสายงานวาดเขียนการ์ตูน แต่เมื่อเธอได้เจอกับสมุดบันทึกของเพื่อนที่เต็มไปด้วย การ์ตูน และ การ์ตูน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เธอหันมาฝึกเขียนการ์ตูน
ผลงานเปิดตัวที่ทำให้เธอเป็นที่รู้จักคือ Katte na Yatsura (勝手なやつら) มังงะเรื่องสั้นที่ได้ตีพิมพ์กับโชเน็งซันเดย์และชนะรางวัลนักเขียนหน้าใหม่จากผลงานนี้ใน พ.ศ. 2521 และภายในปีเดียวกัน ลามู ทรามวัยจากต่างดาว ได้เริ่มลงตีพิมพ์เผยแพร่ หลังจากนั้นผลงานเรื่องเด่นหลัก ๆ ของเธอในนิตยสารโชเน็งรายสัปดาห์ และรวมเล่มกับสำนักพิมพ์โชงะกุกัง ทั้ง ลามู ทรามวัยจากต่างดาว, อิกโคคุ บ้านพักหรรษา, รันม่า ½, อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน และ รินเนะ [11] ก็ได้กลายมาเป็นอนิเมะ
รูมิโกะ ทากาฮาชิ เป็นหนึ่งในนักเขียนการ์ตูนที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งในญี่ปุ่นและเป็นนักเขียนการ์ตูนที่เสียภาษีมากที่สุด[12][13]
ผลงาน
แก้พ.ศ. | ชื่อมังงะบนปกญี่ปุ่น | ชื่อคอมมิคบนปกภาษาอังกฤษ | ชื่อหนังสือการ์ตูนบนปกไทย | จำนวนเล่ม |
---|---|---|---|---|
2521–2530 | うる星やつら | The Return of Lum Urusei Yatsura | ลามู ทรามวัย จากต่างดาว uruseiya tsura | 34 |
2523–2530 | めぞん一刻 | Maison Ikkoku | อิกโคคุ บ้านพักหรรษา | 15 |
2530–2539 | らんま 12 | Ranma ½ | รันม่า 12 ไอ้หนุ่มกังฟู | 38 |
2539–2552 | 犬 夜 叉 | Inuyasha | เทพอสูร จิ้ง จอก เงิน | 56 |
2552–2560 | Circle of Reincarnation 境界の RINNE りんね | Kyokai no RINNE りんね | Circle of Reincarnation RINNE รินเนะ | 40 |
2561–ปัจจุบัน | MAO マオ | MAO หาญสู้พลิกชะตาอาถรรณ์ | 20 |
พ.ศ. | ชื่อมังงะในญี่ปุ่น | จำนวนเล่ม | ชื่อคอมมิคภาษาอังกฤษ | ชื่อหนังสือการ์ตูนในไทย | จำนวนเล่ม |
---|---|---|---|---|---|
2527–2537 | 人 魚シリーズ 1.人魚の森 2.人魚の傷 3.夜叉の瞳 |
|
Mermaid Saga 1.Mermaid Forest 2.Mermaid's Scar | นินเงียวชิริซุ (เงือกซีรีส์ (ซีรีส์การ์ตูนชุดนี้ในไทยยังไม่มีชื่อเรียกที่เป็นทางการ)) 1.วนาแห่งเงือก 2.รอยแผลนางเงือก | 2 |
2530–2549 | 1ポンドの福音 | 4 เล่ม | One-pound Gospel Hungry for Victory | ฤทธิ์หมัดเสือหิว | 4 |
และผลงานเรื่องสั้นอีกมากมายหลากเรื่องหลายแนว ซึ่งตีพิมพ์รวมเล่มภายในชื่อ
รูมิกเวิลด์ (Rumic World)
และ
รูมิกเทียเตอร์ (Rumic Theater)
อีกทั้งยังมีมังงะเรื่องสั้นจบในตอนเรื่องอื่นและผลงานใหม่ที่เขียนขึ้นในภายหลัง ซึ่งยังไม่ได้จัดพิมพ์เป็นรวมเล่ม เช่น
- Sennen no Mushin (Mindlessness for A Thousand Years)
รางวัล
แก้พ.ศ. 2521 Best New Comic Artist Award รางวัลนักเขียนหน้าใหม่ของสำนักพิมพ์โชงะกุกัง จากมังงะเรื่องสั้นเรื่อง 勝手なやつら "คัตเตะนะ ยัตสึระ" (พวกงั่งผู้ตั้งมั่น)
พ.ศ. 2523 Shogakukan Manga Award ในการประกาศรางวัลโชงะกุกังมังงะอวอร์ด ครั้งที่ 26 ในสาขา Shōnen Shōjo จากมังงะเรื่อง うる星やつら "อูรูเซ ยัตสึระ" (ลามู ทรามวัยจากต่างดาว) [14]
พ.ศ. 2530 Seiun Award ในการประกาศรางวัลเซอุงอวอร์ด ครั้งที่ 18 จากมังงะเรื่อง うる星やつら "อูรูเซ ยัตสึระ" (ลามู ทรามวัยจากต่างดาว) [15]
พ.ศ. 2532 Seiun Award ในการประกาศรางวัลเซอุงอวอร์ด ครั้งที่ 20 จากมังงะเรื่อง 人魚の森 "นินเงียวโนะโมริ" (วนาแห่งเงือก) มังงะเล่มหนึ่งในชุด 人魚シリーズ "นินเงียวชิริซุ" (เงือกซีรีส์)
พ.ศ. 2537 Inkpot Award ประกาศรางวัลจาก Comic-Con International: San Diego [16]
พ.ศ. 2544 Shogakukan Manga Award ในการประกาศรางวัลโชงะกุกังมังงะอวอร์ด ครั้งที่ 47 ในสาขา Shōnen จากมังงะเรื่อง 犬夜叉 "อินุยาฉะ" (เทพอสูรจิ้งจอกเงิน)
พ.ศ. 2560 Science Fiction Hall of Fame สาขา Creator [17]
พ.ศ. 2561 Eisner Award Hall of Fame หอเกียรติยศ รางวัลไอสเนอร์ ประกาศรางวัลจาก Comic-Con International: San Diego
พ.ศ. 2562 Grand Prix de la ville d’Angoulême รางวัลที่อุทิศมอบให้กับความสำเร็จสูงสุดของนักเขียนการ์ตูนระดับนานาชาติ จากการประกาศผลรางวัลในงาน Angoulême International Comics Festival เทศกาลคอมิคนานาชาติอองกูแลม ครั้งที่ 46 [18]
พ.ศ. 2563 เหรียญอิสริยาภรณ์ (ญี่ปุ่น: 褒章; โรมาจิ: Hōshou, อังกฤษ: Medal of Honour) เหรียญเกียรติยศแถบสีม่วง (ญี่ปุ่น: 紫绶褒章, อังกฤษ: Medal with Purple Ribbon) ซึ่งมอบโดยรัฐบาลญี่ปุ่น
อ้างอิง
แก้- ↑ (DISC) Weekly Mangaka Discussion : RumikoTakahashi reddit (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-20.
- ↑ Seiun Award 第18回 (昭和62年/1987年度) และ 第20回 (平成1年/1989年度) 星雲賞 ครั้งที่ 18 (ปีโชวะที่ 62 / ปี ค.ศ. 1987) และ ครั้งที่ 20 (ปีเฮเซที่ 1 / ปี ค.ศ. 1989) prizesworld.com (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-18.
- ↑ Inkpot Award (T) 1994 Comic-Con (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-17.
- ↑ 小学館漫画賞 第26回(1980年)受賞作品 โชงะกุกังมังงะอวอร์ด Cmoa.jp (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-17.
- ↑ 小学館漫画賞 第47回(2001年)受賞作品 โชงะกุกังมังงะอวอร์ด Cmoa.jp (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-17.
- ↑ Science Fiction Hall of Fame 2017 (Awards Summary) sfadb (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-18.
- ↑ Eisner Awards 2018 เก็บถาวร 2017-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Hall of Fame: Voters’ Choices Comic-Con (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-07-26.
- ↑ RUMIKO TAKAHASHI GRAND PRIX DU FESTIVAL D'ANGOULEME 2019 เก็บถาวร 2019-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน grandprix.bdangouleme.com (ในภาษาฝรั่งเศส) เรียกข้อมูลเมื่อ 2019-02-08.
- ↑ อาจารย์ Takahashi Rumiko ผู้เขียน Inuyasha ได้รับอิสริยาภรณ์เหรียญเกียรติยศแถบสีม่วง เก็บถาวร 2020-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน akibatan.com/2020/11 เรียกข้อมูลเมื่อ 2020-12-06.
- ↑ mangaka! ทาคาฮาชิ รูมิโกะ : เจ้าหญิงผู้เขียนการ์ตูนผู้ชาย เก็บถาวร 2018-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-17.
- ↑ "「高橋留美子」作品でアニメ化した作品5選!" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
- ↑ "Japanese Top Tax Payers" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2008-02-26.
- ↑ "2005年高額納税者ランキング" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2008-02-26.
- ↑ 小学館漫画賞受賞作品 comics.shogakukan.co.jp (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2019-02-08.
- ↑ Seiun Awards sfadb (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2019-02-08.
- ↑ Awards Front Page เก็บถาวร 2018-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Comic-Con (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-18.
- ↑ Science Fiction Hall of Fame sfadb (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-18.
- ↑ อาจารย์ทากาฮาชิ รูมิโกะ ได้รับรางวัล Angoulême Grand Prix 2019 เก็บถาวร 2020-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน news.dexclub.com เรียกข้อมูลเมื่อ 2019-02-08.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- รูมิกเวิลด์ — แฟนไซต์เกี่ยวกับผลงานของรูมิโกะ ทากาฮาชิ(อังกฤษ)
- รูมิโกะ ทากาฮาชิ ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ(อังกฤษ)
- บทสัมภาษณ์ใน แอะนิเมริกา(อังกฤษ)