ทะเลสาบอูร์เมีย

ทะเลสาบอูร์เมีย (เปอร์เซีย: دریاچه ارومیه, Daryâche-ye Orumiye; อาร์มีเนีย: Ուրմիա լիճ; อาเซอร์ไบจาน: اورمو ﮔﺆﻟﻮ, Urmiya gölü; เคิร์ด: دەریاچەی ورمێ) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มในประเทศอิหร่าน[4][5] ทะเลสาบตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออกกับจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันตกของประเทศอิหร่าน และอยู่ในบริเวณทะเลแคสเปียนตอนใต้ฝั่งตะวันตก ตอนมีขนาดใหญ่สุด ทะเลสาบนี้เคยเป็นทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลางและทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก โดยมีพื้นที่ผิวประมาณ 5,200 ตารางกิโลเมตร (2,000 ตารางไมล์) ยาว 140 กิโลเมตร (87 ไมล์) กว้าง 55 กิโลเมตร (34 ไมล์) และจุดที่ลึกสุดอยู่ที่ 16 เมตร (52 ฟุต)[6] ในช่วงปลาย ค.ศ. 2017 ทะเลสาบนี้ลดขนาดลงถึง 10% ของขนาดในอดีต (และมวลน้ำ 1/60 ใน ค.ศ. 1998) เนื่องจากภัยแล้งทั่วไปต่อเนื่องในประเทศ มีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำที่ไหลไปหามัน และการสูบน้ำบาดาลจากพื้นที่โดยรอบ[7] ทะเลสาบนี้เริ่มมีน้ำเข้ามาตั้งแต่ ค.ศ. 2019 และเริ่มฟื้นฟูใน ค.ศ. 2020 เนื่องจากมีอัตราหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยมากกว่าปกติและการจัดโครงการฟื้นฟูทะเลสาบอูร์เมีย[8]

ทะเลสาบอูร์เมีย
ภาพถ่ายจากอวกาศ ค.ศ. 1984
ทะเลสาบอูร์เมียตั้งอยู่ในประเทศอิหร่าน
ทะเลสาบอูร์เมีย
ทะเลสาบอูร์เมีย
พิกัด37°42′N 45°22′E / 37.700°N 45.367°E / 37.700; 45.367
ชนิดทะเลสาบน้ำเค็ม
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักแม่น้ำแซร์รีเน, แม่น้ำซีมีเน, แม่น้ำแมฮอบอด, แม่น้ำกอแดร์, แม่น้ำบอรอนดูซ, แม่น้ำแชแฮร์, แม่น้ำ Nazlou, แม่น้ำโซลอ, Kaftar Ali Chay, Aji Chay, Boyuk Chay, Rudkhaneh-ye Qal'eh Chay, Qobi Chay, Rudkhaneh-ye Mordaq, แม่น้ำ Leylan
แหล่งน้ำไหลออกไม่มี: น้ำในทะเลสาบทั้งหมดหายไปผ่านการระเหย
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศอิหร่าน
ช่วงยาวที่สุด140 กิโลเมตร (87 ไมล์)
ช่วงกว้างที่สุด55 กิโลเมตร (34 ไมล์)
พื้นที่พื้นน้ำ5,200 ตารางกิโลเมตร (2,000 ตารางไมล์)
ความลึกสูงสุด16 เมตร (52 ฟุต)
ความเค็มน้ำเกลือเข้มข้น 217–235 g L−1 Na–(Mg)–Cl–(SO4)[1]
8–11% ในฤดูใบไม้ผลิ, 26–28% ในฤดูใบไม้ร่วงตอนปลาย[2]
เกาะ102 (ดูรายชื่อ)
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนทะเลสาบอูร์เมีย [หรือโอรูมีเย]
ขึ้นเมื่อ23 มิถุนายน ค.ศ. 1975
เลขอ้างอิง38[3]
การลดลงของพื้นผิวทะเลสาบอูร์เมีย
ทะเลสาบอูร์เมียในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2015

อ้างอิง

แก้
  1. Stevens, Lora R.; Djamali, Morteza; Andrieu-Ponel, Valérie; de Beaulieu, Jacques-Louis (1 April 2012). "Hydroclimatic variations over the last two glacial/interglacial cycles at Urmia Lake, Iran". Journal of Paleolimnology. Springer Netherlands. 47 (4): 647. doi:10.1007/s10933-012-9588-3. S2CID 128970562.
  2. Urmia Lake. 2012. Encyclopædia Britannica Online. Retrieved 14 August 2015, from http://www.britannica.com/EBchecked/topic/619901/Lake-Urmia
  3. "Lake Urmia [or Orumiyeh]". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.
  4. Henry, Roger (2003) Synchronized chronology: Rethinking Middle East Antiquity: A Simple Correction to Egyptian Chronology Resolves the Major Problems in Biblical and Greek Archaeology Algora Publishing, New York, p. 138, ISBN 0-87586-191-1
  5. E. J. Brill's first encyclopaedia of Islam, 1913–1936, vol. 7, page 1037 citing Strabo and Ptolemy.
  6. "Britanica". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 4 September 2011.
  7. Stone, Richard (2 September 2015). "Saving Iran's great salt lake". Science. 349 (6252): 1044–5, 1047. Bibcode:2015Sci...349.1044S. doi:10.1126/science.aad1702. PMID 26339009.
  8. Dudley, Dominic. "Iran's Lake Urmia: How A Dying Salt Lake Is Being Brought Back From The Brink". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้