ทะเลสาบรูปแอก, บึงโค้ง หรือ กุด (อังกฤษ: oxbow lake) เป็นทะเลสาบหรือบึงที่มีรูปร่างโค้งเข้าหากัน เกิดจากการที่ลำน้ำโค้งตวัดเปลี่ยนเส้นทางการไหลจากแนวโค้งเดิมเป็นลำน้ำสายใหม่ที่ตรง ทำให้ที่ดินบริเวณนั้นเป็นเกาะระยะหนึ่ง ต่อมาลำน้ำสายเก่าถูกตะกอนมาทับถมปิดหัวและท้ายจึงถูกตัดขาดกลายเป็นบึงที่มีลักษณะเป็นรูปแอก และทะเลสาบรูปแอกนี้จะถูกทำลายจากการทับถมของตะกอนชายฝั่งกลายมาเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงเรียกว่า รอยบึงโค้ง (oxbow scar) ซึ่งเป็นที่ลุ่มน้ำขังชื้นแฉะต่อไป[1] ตัวอย่างเช่น บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร ซึ่งเกิดจากแม่น้ำน่าน[2][3][4], น้ำครก จังหวัดน่าน ซึ่งเกิดจากแม่น้ำน่าน[5] และ หนองกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเกิดจากแม่น้ำโขง[6]

ทะเลสาบรูปแอกคดเคี้ยว (สแกนดิเนเวีย)
การก่อตัวของทะเลสาบรูปแอกในแม่น้ำโนวิทนาในอะแลสกา

คำว่า "รูปแอก" ยังอาจใช้เรียกส่วนโค้งรูปตัวยูของแม่น้ำลำธาร โดยที่ส่วนโค้งนั้นไม่จำเป็นต้องถูกตัดขาดจากลำน้ำสายหลักก็ได้[7][8]

อ้างอิง แก้

  1. "ลักษณะภูมิประเทศจากกษัยการของน้ำไหล". Physical Geography. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. การประชุมคณะรัฐมนตรี ข้อมูลสำหรับสื่อมวลชนจังหวัดพิจิตรและจังหวัดนครสวรรค์ 11-12 มิถุนายน พ.ศ. 2561
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-28. สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.
  4. https://guru.sanook.com/14808/
  5. เว็บไซด์สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), น้ำครก จังหวัดน่าน, สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ. 2565
  6. http://wetlands.onep.go.th/wetland/details/20190808113100620630[ลิงก์เสีย]
  7. "Oxbow". Oxford English Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-10-27.
  8. "Oxbow". Merriam–Webster. สืบค้นเมื่อ 2009-10-27.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้