ทะเลคารา (รัสเซีย: Ка́рское мо́ре, อักษรโรมัน: Kárskoye móre; อังกฤษ: Kara Sea) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือของไซบีเรีย ทิศตะวันตกติดทะเลแบเร็นตส์ ทิศตะวันออกติดทะเลลัปเตฟ มีเกาะหลายเกาะ เช่น เกาะดิกสัน เกาะโอเลนี เป็นต้น เป็นพื้นที่ซึ่งมีการค้นพบปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ แต่ยังไม่ได้พัฒนามากนัก

ทะเลคารา
ทะเลคาราตั้งอยู่ในอาร์กติก
ทะเลคารา
ทะเลคารา
แผนที่แสดงที่ตั้งของทะเลคารา
ที่ตั้งมหาสมุทรอาร์กติก
พิกัด77°N 77°E / 77°N 77°E / 77; 77
ชนิดทะเล
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศรัสเซีย
พื้นที่พื้นน้ำ926,000 ตารางกิโลเมตร (358,000 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย131 เมตร (430 ฟุต)
ปริมาณน้ำ121,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (98 พันล้าน เอเคอร์-ฟุต)
แข็งตัวทั้งปี
อ้างอิง[1]

ทะเลคารามีความกว้าง 970 กิโลเมตร ยาว 1,450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 880,000 ตารางกิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 110 เมตร

แม่น้ำหลักที่ไหลลงสู่ทะเลคารา ได้แก่ แม่น้ำอ็อบและแม่น้ำเยนีเซย์

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ทะเลนี้ตั้งชื่อตามแม่น้ำคารา (ไหลไปยังอ่าวบัยดารัตสกายา) ซึ่งในปัจจุบันไม่มีบทบาทสำคัญ แต่เคยมีบทบาทสำคัญต่อการพิชิตไซบีเรียตอนเหนือของรัสเซีย[2] ชื่อแม่น้ำคารามาจากศัพท์เนเน็ตส์ที่หมายถึง 'เนินน้ำแข็งกลม'[3]

อ้างอิง

แก้
  1. Stein, R. (2008). Arctic Ocean Sediments: Processes, Proxies, and Paleoenvironment. Elsevier. p. 37. ISBN 9780080558851.
  2. Pospelov, E.M. (1998). Geograficheskie nazvaniya mira [Geographic names of the world] (ภาษารัสเซีย). Moscow. p. 191.
  3. Vize, V.Yu. (1939). Karskoye more // Morya Sovetskoy Arktiki: Ocherki po istorii issledovaniya [Kara Sea // Seas of the Soviet Arctic: Essays on the history of research] (ภาษารัสเซีย). Leningrad. pp. 180–217.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้