ทอย สตอรี่

ภาพยนตร์แอนิเมชั่นอเมริกัน พ.ศ. 2538
(เปลี่ยนทางจาก ทอยสตอรี)

ทอย สตอรี่ (อังกฤษ: Toy Story) เป็นภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชันอเมริกันแนวคอมเมดี้ ผจญภัย ชีวิต ที่สร้างโดย พิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ และจัดจำหน่ายโดย วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ ทอย สตอรี่ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในแฟรนไชส์ ทอย สตอรี่, เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดยาวเรื่องแรกที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมดและเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของพิกซาร์ ภาพยนตร์กำกับโดย จอห์น แลสซีเตอร์ (เป็นการกำกับภาพยนตร์ครั้งแรกของเขา) เขียนบทโดย จอสส์ วีดอน, แอนดรูว์ สแตนตัน, โจล โคเฮนและอเล็ก โซโคโลฟ จากเนื้อเรื่องโดย แลสซีเตอร์, สแตนตัน, พีต ดอกเตอร์และโจ แรนฟต์ ดนตรีประกอบภาพยนตร์โดย แรนดี นิวแมน อำนวยการสร้างโดย บอนนี อาร์โนลด์และราลฟ์ กุกเกนไฮม์ และมีผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหารคือ สตีฟ จอบส์และเอ็ดวิน แคตมัลล์ ตัวละครให้เสียงโดย ทอม แฮงส์, ทิม อัลเลน, ดอน ริกเคิลส์, วอลเลซ ชอว์น, จอห์น แรตเซนเบอร์เกอร์, จิม วาร์นีย์, แอนนี พอตส์, จอห์น มอร์ริส, ลอรี เมตคาล์ฟและเอริก วอน เดตเทน ภาพยนตร์ดำเนินเรื่องในในโลกที่ของเล่นมีชีวิตในเวลาที่มนุษย์ไม่อยู่ โครงเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่าง วูดดี้ ตุ๊กตาคาวบอยแบบดึงเชือกยุคเก่า กับ บัซ ไลท์เยียร์ หุ่นแอ็กชันนักบินอวกาศสมัยใหม่ ความเป็นคู่แข่งเริ่มจากการที่ทั้งคู่ แข่งขันเพื่อแย่งความสนใจจากแอนดี้ เดวิส เจ้าของของพวกเขา ต่อมาพวกเขาได้กลายเป็นเพื่อนที่ต้องร่วมมือกันเพื่อกลับมาเขา หลังถูกแยกออกจากเขา

ทอย สตอรี่
ใบปิดภาพยนตร์แสดงวูดดี้กำลังเกาะบัซ ไลท์เยียร์ ขณะบินอยู่ในห้องของแอนดี้ ข้างล่างคือโบ พีป มิสเตอร์โปเตโต้เฮด โทรลล์ แฮมม์ ซาร์จ และเร็กซ์ ลงมาด้านล่างขวาเป็นชื่อภาพยนตร์ พื้นหลังเป็นวอลล์เปเปอร์รูปก้อนเมฆภายในห้องนอน
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับจอห์น แลสซีเตอร์
บทภาพยนตร์
เนื้อเรื่อง
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบแรนดี นิวแมน
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายบวยนาวิสตาพิกเชอส์ดิสทริบิวชัน
วันฉาย19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 (1995-11-19)(โรงภาพยนตร์เอลคับปิตัน)
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 (1995-11-22)(สหรัฐ)
ความยาว81 นาที[1]
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
ทำเงิน373 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]

หลังภาพยนตร์เรื่องสั้น ทินทอย เมื่อปี ค.ศ. 1988 ของพวกเขาประสบความสำเร็จ พิกซาร์ได้รับการติดต่อจากดิสนีย์ให้สร้างภาพยนตร์แอนิเมชันที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ โดยเล่าเรื่องจากมุมมองของของเล่นขนาดเล็ก แลสซีเตอร์, สแตนตันและดอกเตอร์เขียนทรีตเมนต์แรก ซึ่งถูกดิสนีย์ปฏิเสธ โดยดิสนีย์ต้องการให้โทนของภาพยนตร์มีความ "ตึงเครียด" หลังจากสร้างสตอรีรีลที่ย่ำแย่อยู่หลายครั้ง การสร้างต้องหยุดลงและมีการเขียนบทขึ้นมาใหม่เพื่อสะท้อนโทนเรื่องและเนื้อหาที่พิกซาร์ต้องการ "โดยลึก ๆ แล้ว ของเล่นต้องการให้เด็ก ๆ เล่นกับพวกเขา และ ... ความต้องการนี้ผลักดันให้เกิดความหวัง, ความกลัวและการกระทำต่าง ๆ" สตูดิโอมีพนักงานจำนวนไม่มาก และสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ภายใต้ทุนสร้างที่จำกัด

ทอย สตอรี่ ฉายรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 ที่โรงภาพยนตร์เอลคับปิตันในลอสแอนเจลิสม, แคลิฟอร์เนีย และฉายในโรงภาพยนตร์ในอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 เคยเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในวันเปิดตัววันหยุดสุดสัปดาห์[2] ภาพยนตร์ทำเงินมากกว่า 373 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปี ค.ศ. 1995 ภาพยนตร์ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ โดยยกย่องเรื่องนวัตกรรมการทำแอนิเมชันสามมิติ, บทาภพยนตร์ที่ฉลาดและมีเนื้อหาเข้มข้นและชมการให้เสียงของแฮงส์และอัลเลน นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้คะแนนบทวิจารณ์ที่อนุมัติแล้ว 100% บน รอตเทนโทเมโทส์ นักวิจารณ์หลายคนยกย่องให้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์แอนิเมชันที่ดีที่สุดที่เคยสร้างมา[4] ภาพยนตร์ได้รับการเสนอเข้าชิง รางวัลออสการ์ สามสาขา (บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม (ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกที่ได้รับการเสนอชื่อในสาขานี้), เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สำหรับเพลง "You've got a friend in me" และดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม) ภาพยนตร์ได้รับรางวัลสเปเชียลอะชีฟเมนต์อะคาเดมีอะวอร์ด[5] ภาพยนตร์ได้รับเลือกโดย หอสมุดรัฐสภา ให้มีการเก็บรักษาใน หอทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติ เมื่อปี ค.ศ. 2005 ในฐานะที่ภาพยนตร์ "มีวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์, หรือมีความสุนทรีย์อย่างมีนัยสำคัญ"[6] ความสำเร็จของ ทอย สตอรี่ ทำให้เกิดแฟรนไชส์สื่อประสมและภาพยนตร์ชุดที่ตามมาภาคต่อสี่เรื่อง เริ่มต้นด้วย ทอย สตอรี่ 2 (1999) จนไปถึง ทอย สตอรี่ 5

เรื่องย่อ แก้

วูดดี้ ของเล่นคาวบอยยุคคลาสสิก ในฐานะของเล่นตัวโปรดของแอนดี้ เด็กชายวัย 6 ขวบ ทำให้วูดดี้กลายเป็นหัวหน้าบรรดาของเล่น ด้วยความมาดมั่น ใกล้วันที่ย้ายบ้าน แอนดี้ จึงจัดวันเกิดก่อนวันเกิดจริง แต่เมื่อบัซ ไลท์เยียร์ ตุ๊กตาตำรวจอวกาศที่แม่ให้เป็นของขวัญเซอร์ไพรส์ ได้ก้าวเข้าในถิ่นของวูดดี้ ในฐานะของขวัญวันเกิดชิ้นโปรดของแอนดี้ การชิงดีชิงเด่น เพื่อเป็นขวัญใจ ของเจ้านายตัวน้อยจึงเกิดขึ้น และส่งผลให้ทั้งคู่ต้องตกไปอยู่ในบ้านของซิด เด็กชายข้างบ้านผู้รักที่จะทำลายของเล่นเป็นชีวิตจิตใจ และการร่วมมือระหว่างวูดดี้กับบัซ เพื่อหลบหนีกลับมานี่เองที่ทำให้พวกเขาตระหนักถึงมิตรแท้ วูดดี้ และ บัซ ไลท์เยียร์ ได้พยายามไปให้ทันรถขนส่งให้ได้ คู่หูที่ดูไม่น่าจะเข้ากันได้ทั้งสองต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยวางความแตกต่างของแต่ละคนเพื่อที่จะเอาชนะอุปสรรคที่จะทำให้ทั้งคู่ต้องแยกจาก แอนดี้ เจ้าของพวกเขา กับการผจญภัยสุดป่วน ภารกิจสุดฮา กับเพื่อนพ้องของเล่นอีกมากมาย

ตัวละคร แก้

ของเล่นของแอนดี้ แก้

วูดดี้ (Woody)

ให้เสียงโดย : ทอม แฮงค์ (อังกฤษ) , สรพงษ์ ชาตรี (ไทย)

ตุ๊กตาคาวบอยยุคคลาสสิก เขาเป็นของเล่นชิ้นโปรดของแอนดี้และเป็นผู้นำของเหล่าของเล่นทั้งหมด มีนิสัยดี ซื่อสัตย์ เป็นผู้นำ เขามักจะพูดความจริงอยู่เสมอ ในตอนแรกที่บัซมาที่ห้องของแอนดี้ เขารู้สึกอิจฉาบัซมากเพราะบัซกลายเป็นคนโปรดของแอนดี้ เขาพยายามทุกวิถีทางเพื่อทำให้ตนเองกลับมาเป็นคนโปรดของแอนดี้อีกครั้ง แต่สุดท้าย เขาก็เปิดใจยอมรับบัซและกลายเป็นเพื่อนกัน ลูกเล่นของเขาคือกล่องเสียงที่อยู่ด้านหลัง เมื่อดึงแล้วจะมีเสียงพูดออกมา เขามีวลีเด็ดประจำตัวคือ "มีงูอยู่ในบูทฉัน"

บัซ ไลท์เยียร์ (Buzz Lightyear)

ให้เสียงโดย : ทิม อัลเลน (อังกฤษ) , สันติสุข พรหมศิริ (ไทย)

ตุ๊กตาตำรวจอวกาศสมัยใหม่ เป็นของขวัญเซอร์ไพรส์วันเกิดของแอนดี้ เขามีลูกเล่นเยอะมาก เช่น แสงเลเซอร์จากแขน (วูดดี้บอกว่าเป็นแค่ปุ่มไฟกระพริบ) ปีกที่กางออกได้ ท่าคาราเต้พิฆาต ปุ่มเสียงพูด กระจกแก้วที่หน้าสามารถเปิดปิดได้ เรืองแสงในที่มืด ฯลฯ ในตอนแรกที่เขามาที่ห้องของแอนดี้ เขายังไม่รู้ว่าตนเองนั้นเป็นของเล่น เขาคิดมาตลอดว่าเขาคือผู้พิทักษ์อวกาศที่ต้องคอยปกป้องจักรวาลจากเหล่าร้าย ในตอนแรกเขาไม่ค่อยถูกกับวูดดี้นัก เมื่อเขารู้ความจริงว่าเขาเป็นแค่ของเล่น เขาก็เสียใจมาก แต่เมื่อวูดดี้พูดปลอบใจเขา ว่าเขายังคงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับแอนดี้ เขาก็กลายเป็นเพื่อนสนิทกับวูดดี้ในที่สุด เขามีนิสัยกล้าหาญ มั่นใจ มีความเป็นผู้นำสูงเช่นเดียวกันกับวูดดี้ เขามีวลีเด็ดประจำตัวคือ"สู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้น" ต่อมาในปี 2022 มีภาพยนตร์แยกเป็นของตัวเองชื่อว่า "ไลท์เยียร์ "

มิสเตอร์โปเตโต้เฮด หรือ นายหัวมันฝรั่ง (Mr.Potato Head)

ให้เสียงโดย : ดอน ริคเลส (อังกฤษ) , ขจรศักดิ์ นฤภัทร(ไทย)

ของเล่นรูปร่างมันฝรั่งที่สามารถประกอบชิ้นส่วนเข้าออกได้อย่างอิสระ มีคู่รักคือ มิสซิสโปเตโต้เฮด (นางหัวมันฝรั่ง) ในเหตุการณ์ที่วูดดี้ผลักบัซตกจากหน้าต่าง เขาโกรธวูดดี้มาก แต่สุดท้ายเขาก็ให้อภัยวูดดี้ในที่สุด เป็นเพื่อนสนิทกับแฮม

มิสซิสโปเตโต้เฮด หรือ นางหัวมันฝรั่ง (Mrs. Potato Head)

ให้เสียงโดย : เอสเทล แฮร์ริส (อังกฤษ) สุมาลี สุธีรธรรม (ไทย)

ของเล่นรูปร่างมันฝรั่งเช่นเดียวกันกับมิสเตอร์โปเตโต้เฮด นิสัยใจดีและเอาใจใส่ (เปิดตัวใน ทอย สตอรี่ 2)

โบ พีป (Bo peep)

ให้เสียงโดย : แอนนี่ พอตส์ (อังกฤษ), ปองสุข บุณยะปานะ, โศภิตา รังสิโยทัย (ไทย)

ตุ๊กตาเซรามิกสาวน้อยเลี้ยงแกะที่อยู่บนโคมไฟของน้องสาวแอนดี้ เป็นของเล่นที่วูดดี้ชอบ มีแกะ 3 ตัว (บิลลี่ , โกรท , กรัฟ) มีนิสัยใจดีและคอยเป็นห่วงเป็นใยวูดดี้และเพื่อนๆของเล่นตัวอื่นๆ อยู่เสมอๆ

สลิงกี้ด็อก (Slinky dog)

ให้เสียงโดย : จิม วานี (อังกฤษ), สามารถ พรหมวรางกูร , ศุภสรณ์ มุมแดง (ไทย)

ของเล่นรูปร่างลักษณะหมาสปริงที่สามารถยืดหดได้ ความยาวของเขามักจะถูกใช้ในสถานการณ์คับขันต่างๆ รักและเชื่อใจวูดดี้มากที่สุดในบรรดาของเล่นทั้งหมด

เร็กซ์ (Rex)

ให้เสียงโดย : วิลเลส ชาวน์ (อังกฤษ), ทวี ศรีประดิษฐ์ (ไทย)

ของเล่นรูปร่างลักษณะไดโนเสาร์ มีนิสัยขี้กลัว รักและเชื่อใจวูดดี้พอๆกับสลิงกี้ด็อก

แฮมม์ (Hamm)

ให้เสียงโดย : จอห์น เรเซนเบอร์เจอร์ (อังกฤษ), กฤษณะ ศฤงคารนนท์ (ไทย)

กระปุกออมสินรูปร่างหมู เป็นเพื่อนสนิทของมิสเตอร์โปเตโต้เฮด นิสัยหัวร้อน รุนแรง ในบทบาทสมมติต่างๆ เขามักได้รับบท"ด็อกเตอร์พอร์กช็อปผู้ชั่วร้าย" (Evil Dr.Porkchop)

ของเล่นอื่นๆ แก้

  • เจสซี่ (Jessie)
  • บูลส์อาย (Bullseye)
  • สติงกี้พีท (Stinky Pete)
  • จักรพรรดิ์เซิร์กผู้ชั่วร้าย (Evil Emperor zurg)
  • คอมแบคคัล (Kombaccal)
  • ล็อตโซ่ (Lotso Huggin Bear)
  • เอเลี่ยนสีเขียว (Little Green Man)
  • ทหารเขียว (Green Army Man)
  • โตโตโร่ (Totoro)
  • ดอลลี่ (Dolly)
  • บาร์บี้ (Barbie)
  • เคน (Ken)
  • น้องตัวโต (Big Baby)
  • สไปค์ (Spike)
  • ฟอร์คกี้ (Forky)
  • ดุ๊ก คาบูม (Duke Kaboom)
  • ดั๊กกี้ & บันนี่ (Duckky & Bunny)
  • เบนสัน (Benson)
  • แก๊บบี้แก๊บบี้ (Gabby Gabby)
  • อาร์ซี (RC Toy Car)
  • เลนนี่ (Lenny)

มนุษย์ แก้

  • แอนดี้ เดวิส (Andy Davis)
  • มอลลี่ เดวิส (Molly Davis)
  • แม่ของแอนดี้ (Mrs.Davis)
  • ซิด ฟิลลิปส์ (Sid Phillips)
  • ฮันนา (Hanna)
  • อัล แมควิลกิ้น (Ai Mcwiggin)
  • บอนนี่ แอนเดอร์สัน (Bonnie Anderson)
  • แม่ของบอนนี่ (Mrs.Anderson)
  • พ่อของบอนนี่ (Mr.Anderson)

อ้างอิง แก้

  1. "Toy Story". British Board of Film Classification. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 21, 2013. สืบค้นเมื่อ August 2, 2013.
  2. 2.0 2.1 "Toy Story (1995) – Financial Information". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2014. สืบค้นเมื่อ December 7, 2014.
  3. "Toy Story (1995)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 22, 2012. สืบค้นเมื่อ August 20, 2016.
  4. Sources that refer to Toy Story is referred to as one of the best-animated films of all time include:
  5. King, Susan (September 30, 2015). "How 'Toy Story' changed the face of animation, taking off 'like an explosion'". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 2, 2015. สืบค้นเมื่อ September 30, 2015.
  6. "Librarian of Congress Adds 25 Films to National Film Registry – News Releases (Library of Congress)". Loc.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2009. สืบค้นเมื่อ June 10, 2013.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้