ทวิภาคคลื่น–อนุภาค
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค (อังกฤษ: Wave–particle duality) เป็นสมมติฐานที่กล่าวว่าอนุภาคทุกชนิดมีคุณสมบัติที่เป็นทั้งคลื่นและอนุภาค และในทางกลับกันคลื่นก็จะมีทั้งคุณสมบัติของคลื่นเองและอนุภาคด้วย แนวคิดนี้เป็นศูนย์กลางของกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการที่แนวคิดแบบดั้งเดิมเกี่ยวกับ "อนุภาค" และ "คลื่น" ไม่สามารถใช้อธิบายพฤติกรรมของวัตถุในระดับของควอนตัมได้ การแปลความกลศาสตร์ควอนตัมมาตรฐานอธิบายปฏิทรรศน์นี้ว่าเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของเอกภพ ขณะที่การแปลความแบบอื่นๆ อธิบายลักษณะทวิภาคนี้ว่าเป็นผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นมาจากขีดจำกัดต่างๆ อันหลากหลายของผู้สังเกตการณ์เอง ในที่นี้จะมุ่งประเด็นไปที่การอธิบายพฤติกรรมนี้จากมุมมองของการตีความโคเปนเฮเกน (Copenhagen interpretation) ซึ่งนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยถือว่าความเป็นทวิภาคของคลื่น-อนุภาค เป็นรูปแบบหนึ่งของหลักการการเติมเต็ม (complementarity) ว่าปรากฏการณ์หนึ่งๆ สามารถมองได้ทั้งในทางหนึ่งหรืออีกทางหนึ่งก็ได้ แต่จะไม่สามารถมองได้ทั้งสองทางพร้อมๆ กัน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- H. Nikolic. "Quantum mechanics: Myths and facts". arXiv:quant-ph/0609163.
- Young & Geller. "College Physics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-16. สืบค้นเมื่อ 2012-02-18.
- B. Crowell. "Light as a Particle". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Web page)เมื่อ 2007-02-16. สืบค้นเมื่อ December 10, 2006.
- E.H. Carlson, Wave–Particle Duality: Light on Project PHYSNET
- R. Nave. "Wave–Particle Duality" (Web page). HyperPhysics. Georgia State University, Department of Physics and Astronomy. สืบค้นเมื่อ December 12, 2005.