การกระตุ้นที่เหมาะสม
(เปลี่ยนทางจาก ตัวกระตุ้นที่เหมาะสม)
การกระตุ้นที่เหมาะสม (อังกฤษ: adequate stimulus) เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ที่กำหนดประเภทแห่งพลังงานซึ่งตัวรับความรู้สึกเริ่มการตอบสนองด้วยการถ่ายโอนตัวกระตุ้น (transduction[1])
การกระตุ้นที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับกลไกของการถ่ายโอนตัวกระตุ้นของเซลล์ และกับประตูไอออน (ion channel) ที่เป็นส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ตัวรับความรู้สึก ตัวอย่างเช่น แสง เป็นการกระตุ้นที่เหมาะสมสำหรับเซลล์รับแสงในเรตินา
ประเภท
แก้การกระตุ้นเหมาะสมแบ่งประเภทเป็นต้นว่า
- แสง ถ้าการกระตุ้นที่เหมาะสมของตัวรับความรู้สึกคือแสง ตัวรับความรู้สึกย่อมมีโมเลกุลเกี่ยวกับสี (pigment molecule) ที่เปลี่ยนรูปร่างไปเพราะแสง ความเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลเหล่านี้เริ่มการทำงานของประตูไอออน เป็นการเริ่มการถ่ายโอนตัวกระตุ้น[1]
- เสียง ถ้าการกระตุ้นที่เหมาะสมของตัวรับความรู้สึกคือเสียง ตัวรับความรู้สึกย่อมเป็นเซลล์ขน ซึ่งเป็นตัวรับแรงกล เซลล์ขนเหล่านี้มี stereocilia[2] ซึ่งเมื่อเกิดการงอแล้ว ก็จะเหนี่ยวไกการเปิดประตูไอออน ดังนั้น เซลล์ขนจึงเปลี่ยนคลื่นความดันของเสียงไปเป็นศักย์ตัวรับความรู้สึก (Receptor potential[3]) เป็นการเริ่มการถ่ายโอนตัวกระตุ้น
ดู
แก้หมายเหตุและอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 การถ่ายโอน ในสรีรวิทยา (อังกฤษ: Transduction (Physiology)) คือการเปลี่ยนตัวกระตุ้นแบบหนึ่งไปยังอีกแบบหนึ่ง การถ่ายโอนในระบบประสาทมักจะหมายถึงการส่งสัญญาณเพื่อแจ้งการตรวจพบตัวกระตุ้น โดยที่ตัวกระตุ้นเชิงกล ตัวกระตุ้นเชิงเคมี หรือเชิงอื่นๆ ถูกเปลี่ยนเป็นศักยะงานประสาท แล้วส่งไปทางแอกซอน ไปสู่ระบบประสาทกลางซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมสัญญาณประสาทเพื่อประมวลผล
- ↑ stereocilia เป็นส่วนดัดแปลงบนยอดของเซลล์ ต่างจากซีเลีย และ ไมโควิลไล แต่มีส่วนเหมือนกับไมโควิลไล มากกว่าซีเลีย คือเป็นส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์]ที่ยื่นออกมา
- ↑ ศักย์ตัวรับความรู้สึก (Receptor potential) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะสภาวะความซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์เปลี่ยนไปเพราะการถ่ายโอนความรู้สึก (sensory tranduction) โดยทั่วๆไปเป็นเหตุการณ์ที่ลดระดับศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเกิดจากไอออนขั้วบวกที่ไหลเข้ามาภายในเซลล์ กระแสไฟฟ้าที่เข้ามานั้นมักจะนำศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ไปสู่ระดับขีดเริ่มเปลี่ยน ที่จะทำให้เซลล์สร้างศักยะงาน