ตะลึงงันและสั่นไหว
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ตะลึงงันและสั่นไหว (ฝรั่งเศส: Stupeur et Tremblements) เป็นผลงานวรรณกรรมฝรั่งเศสของอาเมลี นอตง นักเขียนหญิงชาวเบลเยียม ซึ่งได้รับรางวัลใหญ่ด้านนวนิยายจากบัณฑิตยสถานฝรั่งเศส (Grand Prix du roman de l'Académie française) ด้วย
ตะลึงงันและสั่นไหว | |
---|---|
ผู้ประพันธ์ | อาเมลี นอตง |
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | Stupeur et Tremblement |
ผู้แปล | ณัฐปคัลภ์ ทองสวัสดิ์ และตวงทอง สรประเสริฐ |
ประเทศ | ฝรั่งเศส |
ภาษา | ฝรั่งเศส |
ประเภท | นวนิยาย |
วันที่พิมพ์ | ค.ศ. 1999 |
เนื้อเรื่องย่อ
แก้ตะลึงงันและสั่นไหว เป็นบันทึกเรื่องราวตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ตัวผู้เขียนได้มีโอกาสทำงานในบริษัทยูมิโมโตะคอร์เพอเรชัน (Yumimoto Corporation) ซึ่งเป็นบริษัท นำเข้า-ส่งออก สินค้ายักษ์ใหญ่ชั้นนำของญี่ปุ่น โดยมีสัญญาจ้างงาน 1 ปี เธอมีความภาคภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของยูมิโมโตะ แต่แล้วการทำงานที่บริษัทแห่งนี้กลับไม่ง่ายและไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ เพียงแค่วันแรกของการทำงาน เธอก็สร้างความไม่พอใจให้แก่คุณไซโตะ งานแรกของเธอคือร่างจดหมายเป็นภาษาอังกฤษตอบรับคำเชิญไปตีกอล์ฟกับมิสเตอร์แอดัม ของคุณไซโตะ แต่ถึงแม้จะมีปัญหาอุปสรรคอย่างไร เธอก็ยังพึงพอใจที่ได้ทำงานที่นี่ การได้ลอบมองความงามของฟูบูกิ เจ้านายโดยตรงของเธอดูจะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้การทำงานในแต่ละวันไม่น่าเบื่อจนเกินไปนัก
หลายวันผ่านไป อาเมลีก็ยังไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเหมือนเดิม งานต่อมาของเธอคือชงกาแฟ ส่งเอกสาร เปลี่ยนปฏิทิน จนถึงงานถ่ายเอกสาร ต่อมาเธอได้พบกับคุณเทนชิ ผู้จัดการแผนกผลิตภัณฑ์นม ผู้ซึ่งชักชวนให้เธอมาร่วมทำโครงการเกี่ยวกับวิธีขจัดไขมันออกจากเนยของบริษัทคู่ค้าเบลเยียม เธอจึงตอบรับโดยทันที เนื่องจากจะได้ทำตัวให้มีประโยชน์ขึ้น แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น หลังจากนั้นไม่นาน คุณเทนชิ รวมทั้งอาเมลี ต่างถูกเรียกตัวเข้าพบคุณโอโมชิ เหตุการณ์ครั้งนี้รุนแรงมาก คุณเทนชิถูกเรียกว่าคนทรยศ คนหลอกลวง ผู้สร้างความพินาศให้กับบริษัท
ต่อมา อาเมลีจึงได้รู้ว่าฟูบูกินั่นเองที่เป็นผู้รายงานเรื่องนี้ให้คุณโอโมชิทราบด้วยเหตุผลที่ว่า ฟูบูกิยอมไม่ได้ หากว่าอาเมลีที่เพิ่งทำงานที่นี่ได้เพียง 10 สัปดาห์ จะได้เลื่อนตำแหน่ง ดังนั้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างเธอและเจ้านายแสนสวยจึงสิ้นสุดลง
หลังจากนั้น อาเมลีก็ได้รับมอบหมายให้ทำงานบัญชี และงานตรวจดูรายจ่ายเกี่ยวกับการเดินทางไปทำธุรกิจข้างนอกของพนักงานแผนกต่างๆ ซึ่งทั้ง 2 งานนี้เธอทำไม่สำเร็จ จนทำให้ฟูบูกิต่อว่าเธอว่าเป็นคนมือพิการบ้าง เป็นคนบกพร่องทางจิตบ้าง เพราะใครกันนะที่จะโง่คิดเลขผิดได้ขนาดนั้น
ต่อมา อาเมลีได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานทำความสะอาดห้องน้ำ เนื่องจากความเข้าใจผิดที่ฟูบูกิคิดว่า อาเมลีตามเธอไปที่ห้องน้ำเพื่อจะเยาะเย้ยเธอหลังจากที่ฟูบูกิถูกคุณโอโมชิต่อว่าอย่างสาหัส เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ฟูบูกิรู้สึกไม่ชอบอาเมลีมากกว่าเก่า จึงแก้แค้นเธอด้วยวิธีนี้
อย่างไรก็ตาม ภายหลังที่คุณเทนชิทราบเรื่องที่อาเมลีถูกกระทำเช่นนี้ เขารู้สึกเห็นใจเธอเป็นอย่างมาก จึงกำชับไม่ให้พนักงานในแผนกผลิตภัณฑ์นมเข้าห้องน้ำชั้นนี้ ความวุ่นวายยังคงดำเนินต่อไปและการทำงานของอาเมลีก็ยังคงเหมือนเดิมทุกวัน จนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเดือนที่หมดอายุสัญญาการว่าจ้างงาน 1 ปีพอดี เธอจึงตัดสินใจลาออกโดยแจ้งกับฟูบูกิเป็นคนแรก ต่อมาคือคุณไซโตะ คุณโอโมชิ และคุณฮาเนดะตามลำดับ และในวันที่ 7 มกราคมก็คือวันสุดท้ายของการทำงานที่ยูมิโมโตะ โดยที่เธอไม่เคยหวนกลับไปอีกเลย
คตินิยม
แก้นวนิยายเรื่องนี้ได้สะท้อนได้อย่างชัดเจน เนื่องจาก อาเมลี เป็นสาวชาวตะวันตก ได้เข้ามาทำงานในบริษัทญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นชาวตะวันออก ทำให้เกิดการปะทะระหว่าง 2 วัฒนธรรมเกิดขึ้น ทั้งทางด้านความคิดและวิธีการทำงาน ตัวอย่างเช่น
- ชาวตะวันตกมักมีความคิดว่าเราสามารถแสดงความคิดเห็นได้ เมื่ออยู่ในที่ทำงาน ถ้าเราเห็นว่าเรื่องนั้นไม่ถูกต้อง แต่สำหรับชาวตะวันออกซึ่งมีสังคมการปกครองตามลำดับขั้น เมื่อเป็นลูกน้องจึงต้องเชื่อฟังและทำตามคำสั่งของเจ้านายทุกอย่างโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น
- ชาวตะวันตกมักมีความคิดว่าไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็มีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่สังคมชาวตะวันออก ผู้หญิงมันถูกกดขี่ข่มเหงและมีบทบาททางสังคมน้อยกว่าผู้ชาย
- ชาวตะวันตกมักจะแสดงออกทางอารมณ์อย่างชัดเจน เช่น ดีใจหรือเสียใจ แต่สำหรับชาวตะวันออก มักไม่ค่อยแสดงออกถึงความรู้สึกภายในให้ผู้อื่นรับรู้ เราสามารถเห็นได้จากตอนที่ฟูบูกิ ร้องไห้อยู่ในห้องน้ำ อาเมลีได้เข้ามาปลอบใจ แต่ฟูบูกิกลับต่อว่าเธอและไล่เธอออกไป
- ชาวตะวันออกมีความคิดว่า เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่คับขัน พวกเขาจำเป็นต้องทำทุกอย่างเพื่อเอาตัวรอด แต่สำหรับชาวตะวันตก พวกเขามีความคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร พวกเขาก็ไม่สามารถหลอกตัวเองได้ เราจะเห็นได้จากตอนที่อาเมลีถูกสั่งให้ลืมว่าพูดภาษาญี่ปุ่นได้