ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นตลาดน้ำในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์)[1][2] เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวหลักทั้งในและต่างประเทศ[1][2][3][4][5] และถือเป็นตลาดน้ำที่โด่งดังที่สุด[2][3][4][5] โดยเปิดขายกันตั้งแต่เวลา 07.00 - 17.00 น.

ประวัติ แก้ไข
ใน พ.ศ. 2409 ถึง 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งให้ขุดคลองดำเนินสะดวกที่มีความยาว 32-กิโลเมตร (20-ไมล์) เพื่อเชื่อมกับแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีน[4][6] ทำให้เกิดตลาดน้ำในคลองนี้ และชาวบ้านขุดคลองย่อยอีกประมาณ 200 แห่ง[4] ตลาดน้ำหลักมีชื่อว่า ตลาดลัดพลี ซึ่งอยู่ติดกับวัดและมีการใช้งานไปจนกระทั่งมีการพัฒนาถนนแทนการสัญจรทางน้ำใน พ.ศ. 2510[4] ทำให้ตลาดน้ำเก่าหลายแห่งหายไปในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[4]
ใน พ.ศ. 2514 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ทำให้ตลาดลัดพลีเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ[4] ใน พ.ศ. 2524 มีการสร้างถนนใหม่ไปยังคลองต้นเข็ม และมีผู้ประกอบการภาคเอกชนเข้ามาทำกิจการในตลาดน้ำดำเนินสะดวก[4]
รายละเอียด แก้ไข
ตลาดน้ำดำเนินสะดวกมีคลองแคบที่เหมือนเขาวงกต[1][7] มีแม่ค้าที่มักสวมชุดหม้อห้อมกับงอบโดยสารด้วยเรือสำปั้นเพื่อขายสินค้า[1][7][8] เรือเหล่านี้เต็มไปด้วยผักกับผลไม้หลากสี และภาพเหล่านี้มักใช้สนับสนุนการท่องเที่ยว[2] ตลาดมักมีคนคึกคักที่สุดในช่วงเช้าตั้งแต่ 07:00 ถึง 09:00 และยังคงมีต่อจนถึงเที่ยง[1][8] มีการสร้างหลังคาในตลาดเพื่อให้บริการได้ทั้งวันทุกวัน[9]
ตลาดน้ำมีตลาดขนาดเล็ก 3 แห่ง: ต้นเข็ม, เฮียกุ่ย และขุนพิทักษ์[1][7][10] ต้นเข็มเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในคลองดำเนินสะดวก[1][7] เฮียกุ่ยตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของคลองและมีร้านขายของที่ระลึกริมคลองเพื่อขายสินค้าให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวขนาดใหญ่[1][7] ส่วนขุนพิทักษ์อยู่ทางใต้ของเฮียกุ่ยประมาณ 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) เป็นตลาดที่พลุกพล่านน้อยที่สุดและมีขนาดเล็กทีสุด[1][7]
ตลาดน้ำเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวและถือเป็นกับดักนักท่องเที่ยว (tourist trap)[11] ด้วยเหตุนี้ เครื่องใช้จึงมีราคาสูงเกินจริง[11] ถึงแม้ว่าราคาของที่ระลึกกับอาหารจะจัดตามเงินบาทเพียงไม่กี่เหรียญ ก็ยังคงมีการต่อรองกันต่อไป นักท่องเที่ยวสามารถพบพ่อครัวบนเรือทำและขายก๋วยเตี๋ยวเรือ[7][5] ถึงกระนั้น ตลาดน้ำได้รับการกล่าวถึงว่าขาดความถูกต้องทางวัฒนธรรม (cultural authenticity) แม้ว่ามันยังคงเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศก็ตาม[4][10][11][5]
มีการฉายตลาดนี้ในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ฉากไล่ล่าในคลองในภาพยนตร์ 007 เพชฌฆาตปืนทอง ที่โรเจอร์ มัวร์รับบทเป็นเจมส์ บอนด์[12] และภาพยนตร์ ฮีโร่ เพชฌฆาต ล่าข้ามโลก ที่นำแสดงโดยนิโคลัส เคจ[12][13]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 Dorling Kindersley (2 August 2010). DK Eyewitness Travel Guide: Thailand. DK Publishing. p. 132. ISBN 978-0-7566-7422-9.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Andrew Burke; Austin Bush (2008). Bangkok. Lonely Planet. pp. 235–6. ISBN 978-1-74104-858-2.
- ↑ 3.0 3.1 Lonely Planet; Mark Beales; Tim Bewer; Joe Bindloss, Austin Bush, David Eimer, Bruce Evans, Damian Harper, Isabella Noble (1 June 2016). Lonely Planet Thailand. Lonely Planet Publications. p. 302. ISBN 978-1-76034-164-0.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 Cohen, Erik (June 2016). "The Permutations of Thailand's 'Floating Markets'" (PDF). Asian Journal of Tourism Research. 1 (1): 59–98. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 February 2017. สืบค้นเมื่อ 29 January 2017.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Austin Bush; China Williams (2009). Bangkok Encounter. Lonely Planet. p. 154. ISBN 978-1-74220-512-0.
- ↑ Philipp Meier (2012). SPOT-ON IN ASIA. Lulu.com. p. 18. ISBN 978-1-4716-0711-0.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 Ron Emmons (1 September 2010). Top 10 Bangkok. DK Publishing. pp. 20–1. ISBN 978-0-7566-8850-9.
- ↑ 8.0 8.1 Phil Macdonald; Carl Parkes (3 March 2015). Thailand. National Geographic Society. pp. 122–3. ISBN 978-1-4262-1464-6.
- ↑ https://www.bangkokpost.com/travel/1595006/too-much-of-a-good-thing
- ↑ 10.0 10.1 Andrew Spooner (28 February 2013). Thailand Dream Trip. Footprint Travel Guides. p. 58. ISBN 978-1-907263-67-5.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Pile, Tim (2017-01-19). "Bangkok - the good, bad and ugly sides to the Thai capital for visitors". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 2017-01-29.
- ↑ 12.0 12.1 Marek Lenarcik (31 May 2013). This Is Thailand. eBookIt.com. p. 201. ISBN 978-1-4566-1726-4.
- ↑ Coplans, Chris (2008-10-03). "Bangkok Dangerous: not so dangerous after all?". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2017-01-29.
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°31′09″N 99°57′33″E / 13.5193°N 99.9592°E