ตราบาปลิขิตรัก เป็นชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์เรื่อง Atonement ซึ่งสร้างจากนวนิยายของเอียน แมคอีวานในชื่อเดียวกัน กำกับโดยโจ ไรท์ เขียนบทภาพยนตร์โดยคริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน ถ่ายทำในปี พ.ศ. 2549 ที่ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส นำแสดงโดยเจมส์ แมคอาวอยและเคียรา ไนต์ลีย์ จัดจำหน่ายโดยยูนิเวอร์แซล ออกฉายในประเทศอังกฤษวันที่7 กันยายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) และฉายในไทยวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008)

ตราบาปลิขิตรัก
กำกับโจ ไรท์
เขียนบทนวนิยาย:
เอียน แมคอีวาน
Screenplay:
คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน
อำนวยการสร้างทิม บีแวน
อีริคเฟลเนอร์
พอล เวบสเตอร์
นักแสดงนำเจมส์ แม็กอะวอย
เคียรา ไนต์ลีย์
เซอร์ชา โรนัน
โรโมร่า การาย
วาเนสซา เรดเกรฟ
กำกับภาพซีมัส แมคการ์วี
ตัดต่อพอล ทอตฮิลล์
ดนตรีประกอบดาริโอ มาริอาเนลลี
ผู้จัดจำหน่ายยูนิเวอร์แซล
วันฉายสหราชอาณาจักร:
7 กันยายน ค.ศ. 2007
สหรัฐอเมริกา:
7 ธันวาคม ค.ศ. 2007
ไทย:
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008
ความยาว118 นาที.
ประเทศอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส
ทุนสร้าง15 ล้านปอนด์ [1]
ข้อมูลจาก All Movie Guide
ข้อมูลจาก IMDb

ตราบาปลิขิตรัก ได้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสครั้งที่ 64 ทำให้โจ ไรท์ในวัย 35ปี เป็นผู้กำกับที่มีอายุน้อยที่สุดที่มีผลงานออกฉายในงานเทศกาลนั้น

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์ในสาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในการประกาศรางวัลครั้งที่ 80 และเข้าชิงทั้งหมด 6 สาขารวมทั้ง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม,บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม,นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)[2]

เนื้อเรื่องย่อ แก้

ภาพยนตร์เรื่องนี้แบ่งได้เป็นสี่ตอนเช่นเดียวกันกับนวนิยายต้นฉบับ บางฉากได้ใช้วิธีการเล่าซ้ำโดยแสดงให้เห็นมุมมองที่ต่างกันออกไปต่อเหตุการณ์เดียวกัน ไบรโอนี่ ทาลลิส (เซอร์ชา โรนัน) เป็นเด็กหญิงวัย 13 ปีในครอบครัวที่ร่ำรวยครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ เป็นน้องคนเล็กในบรรดาพี่น้องสามคน และใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักเขียน เซซิเลีย(เคียรา ไนต์ลีย์)พี่สาวของเธอสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เช่นเดียวกันกับร็อบบี เทอร์เนอร์(เจมส์ แมคอาวอย)ลูกชายแม่บ้านที่ได้รับการสนับสนุนทางการศึกษาจากพ่อของเซซิเลีย ร็อบบีซึ่งกำลังจะเข้าเรียนแพทย์ได้ใช้เวลาในช่วงฤดูร้อนทำสวนในที่ดินของตระกูลทาลลิส ไบรโอนี่ได้แสดงให้เห็นตั้งแต่แรกเริ่มว่าเธอมีความรู้สึกพิเศษต่อร็อบบี วันที่เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์นั้น ญาติของตระกูลอันประกอบด้วยโลล่า ควินซีย์(จูโน เทมเพิล)และน้องชายฝาแฝดของเธอ(ฟีลิกซ์และชาร์ลี วอน ซิมสัน)ได้เดินทางมาเยี่ยมในขณะที่พ่อแม่ของพวกเขาเพิ่งหย่าร้างกัน ในขณะที่ลีออน(แพทริก เคนเนดี้) พี่ชายของเซซิเลียและไบรโอนี่ได้กลับบ้านพร้อมพาเพื่อนชื่อพอล มาร์แชล(เบเนดิคด์ คัมเบอร์แบทช์)เจ้าของโรงงานช็อคโกแลต บ้านทาลลิสจัดมื้ออาหารค่ำเป็นพิเศษ ลีออนได้ชักชวนร็อบบีซึ่งตอบตกลง ทำให้เซซิเลียเกิดความรำคาญเป็นอย่างยิ่ง

ไบรโอนี่เพิ่งจะเขียนบทละครเรื่อง การทดสอบของอาราเบลล่า(The Trials of Arabella)สำเร็จ เป็นบทละครที่กล่าวถึงความซับซ้อนของความรัก ไบรโอนี่ตั้งใจจะใช้ละครเรื่องนี้เล่นในช่วงอาหารค่ำโดยมีเธอเป็นผู้กำกับ แต่ลูกพี่ลูกน้องของเธอ โลล่าและฝาแฝดไม่อยากร่วมมือนัก ไบรโอนี่จึงต้องกลับไปที่ห้องอย่างหงุดหงิดและได้เห็นภาพเหตุการณ์ระหว่างเซซิเลียกับร็อบบีที่น้ำพุ โดยภาพที่เห็นคือเซซิเลียถอดเสื้อเหลือเพียงชุดชั้นในและกระโดดลงไปในน้ำพุ มีร็อบบียืนมองใกล้ๆ อันที่จริงเซซิเลียเพียงลงไปเก็บเศษแจกันที่ร็อบบีทำแตกเท่านั้นแต่ก็ทำให้ไบรโอนี่เข้าใจผิดไปแล้ว

ต่อมาเมื่อร็อบบีเขียนจดหมายขอโทษเซซิเลียและฝากไบรโอนี่นำไปส่งให้ ไบรโอนี่ก็แอบอ่านและพบว่าเป็นข้อความหยาบคายเกี่ยวกับเรื่องเพศซึ่งร็อบบีส่งผิดฉบับ ไบรโอนี่เล่าให้โลล่าฟังและกล่าวว่าร็อบบีเป็นบุคคลอันตราย

ต่อมาไบรโอนี่ได้เห็นภาพบาดตาอีกครั้งที่ห้องสมุด เมื่อเซซิเลียกับร็อบบีกำลังกอดก่ายกันอยู่ ในช่วงอาหารค่ำเมื่อฝาแฝดหายตัวไปและทุกคนแยกย้ายกันออกไปตาม ไบรโอนี่ได้เห็นโลล่าถูกใครบางคนข่มขืน โลล่าให้การว่าเธอไม่รู้ว่าใครคือคนที่ทำร้ายเธอ ไบรโอนี่จึงไม่รอช้าที่จะกล่าวหาร็อบบีโดยยืนยันว่าเธอเห็นร็อบบีจริงๆ ร็อบบีที่หาฝาดแฝดพบจึงถูกส่งไปเข้าคุกแม้เซซิเลียจะเชื่อว่าร็อบบีไม่ได้ทำก็ตาม

สี่ปีต่อมา ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ร็อบบีออกจากคุกและเข้าร่วมสงคราม ก่อนหน้านั้นเขาได้พบกับเซซิเลียครั้งหนึ่งในลอนดอนและสัญญาว่าจะกลับมาพบกันอีก ไบรโอนี่ในวัย 18 ปี(โรโมร่า การาย)ไปเป็นพยาบาลตามรอยเซซิเลียและพยายามติดต่อกับเซซิเลียแต่โดนปฏิเสธ เซซิเลียได้ออกจากการเป็นครอบครัวนับตั้งแต่ทุกคนเชื่อว่าร็อบบีกระทำความผิดจริง

 
เจมส์ แมคอาวอย ในฉากอพยพที่ดันเคิร์ก

ร็อบบีและเพื่อนทหารสองนายซึ่งพลัดหลงกับกองทัพเดินทางไปถึงดันเคิร์ก ประเทศฝรั่งเศส และได้พบกับกองทัพที่รอการเคลื่อนย้ายกลับอังกฤษที่นั่น ร็อบบีได้ยินว่ากองทัพจะทำการเคลื่อนย้ายในวันรุ่งขึ้น ในช่วงเวลาหลังจากนั้น ที่โรงพยาบาลในลอนดอน ไบรโอนี่ได้พบกับความพรั่นพรึงจากผู้ที่ผ่านการรบมาแล้ว

หลังจากเห็นข่าวสมเด็จพระราชินีเสด็จเยี่ยมโรงงานของพอล มาร์แชล ไบรโอนี่ได้เข้าร่วมงานแต่งงานของพอลและโลล่า ณ ที่นั้นเธอตระหนักได้ว่า ในค่ำคืนที่เธอเป็นพยานการข่มขืน ชายที่อยู่ที่นั่นคือพอล ไม่ใช่ร็อบบี ในวันนั้นไบรโอนี่ไปหาเซซิเลียและกล่าวขอโทษ เซซิเลียอาศัยอยู่กับร็อบบี ทั้งสองชี้แนะว่าไบรโอนี่จะต้องสารภาพความจริงทั้งหมดให้ทุกคนได้รับรู้

ในปีค.ศ. 1999 ไบรโอนี่ในวัยชรา(วาเนสซา เรดเกรฟ)ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนวนิยายเรื่องสุดท้ายของเธอ ไบรโอนี่เปิดเผยว่าเธอเป็นโรค Vascular dementia ทำให้ความจำของเธอจะเสื่อมลงในไม่ช้า นอกจากนี้เธอยังเปิดเผยอีกว่าตอนจบของนิยายกับชีวิตจริงไม่เหมือนกัน ในความจริงเธอไม่ได้ไปหาเซซิเลีย เซซิเลียกับร็อบบีเองก็ไม่ได้พบกันหรือใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะร็อบบีได้เสียชีวิตที่ดันเคิร์ก ส่วนเซซิเลียจมน้ำจากเหตุการณ์ท่อระเบิดที่สถานีรถไฟใต้ดิน เสียชีวิตเช่นกัน ไบรโอนี่กล่าวว่านวนิยายเรื่องนี้คือการไถ่บาป(Atonement)ของเธอ

ฉากสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้คือร็อบบีและเซซิเลียยิ้มอย่างร่าเริงที่ชายหาด ใกล้ๆมีบ้านสีฟ้าที่ทั้งสองคนคาดหวังว่าจะได้อยู่ร่วมกัน ทั้งสองดูมีความสุขมากซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่เคยมีช่วงเวลาเช่นนั้น


ตัวละครหลัก แก้

  • เคียรา ไนต์ลีย์ รับบทเป็น เซซิเลีย ทาลลิส ลูกคนกลางของตระกูลทาลลิส ในตอนแรกจะได้รับบทเป็นไบรโอนี่วัย 18 ปีแต่โจ ไรท์ซึ่งเป็นผู้กำกับได้เห็นว่าเธอเหมาะกับบทเซซิเลียมากกว่า ไนต์ลีย์เคยร่วมงานกับไรท์มาแล้วในภาพยนตร์เรื่อง Pride & Prejudice (ค.ศ. 2005) ไนต์ลีย์ต้องฝึกพูดภาษาอังกฤษสำเนียงยุค ค.ศ. 1940 เพื่อรับบทนี้
  • เจมส์ แมคอาวอย รับบทเป็น ร็อบบี เทอร์เนอร์ ลูกชายแม่บ้านของตระกูลทาลลิส หลังจากปฏิเสธงานก่อนหน้านี้ ไรท์ได้เลือกแมคอาวอยเป็นร็อบบี แม้ว่าโปรดิวเซอร์จะเลือกนักแสดงไว้หลายคนเช่นเจค จิลเลนฮอล แมคอาวอยกล่าวว่าร็อบบีเป็นบทที่เล่นยากที่สุดบทหนึ่งเลยทีเดียว
  • เซอร์ชา โรนัน รับบทเป็น ไบรโอนี่ ทาลลิส ในวัย 13 ปี เด็กหญิงผู้ทะเยอะทะยานอยากเป็นนักเขียนและมีจินตนาการสูงส่ง เอียน แมคอีวานกล่าวชมการแสดงของเธอว่าไม่ธรรมดา โรนันได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจากบทนี้
  • โรโมร่า การาย รับบทเป็น ไบรโอนี่ ทาลลิส ในวัย 18 ปี ในตอนแรกผู้ที่จะได้รับบทนี้คือแอบบี คอร์นิชซึ่งปฏิเสธเพราะต้องถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Elizabeth: The Golden Age โรโมร่าใช้เวลาอยู่ในกองถ่ายเพียง 4 วันเท่านั้น
  • วาเนสซา เรดเกรฟ รับบทเป็น ไบรโอนี่ ทาลลิส ในวัย 77 ปี เรดเกรฟได้รับการเลือกเป็นไบรโอนี่วัยชราหลังจากที่โรนันได้รับการเลือกเป็นไบรโอนี่ในวัยเด็ก ทั้งโรนัน การาย และเรดเกรฟ ต้องทำผมทรงเดียวกันและแสดงความเป็นไบรโอนี่ออกมาคล้ายคลึงกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • แฮเรียต วอลเทอร์ รับบทเป็น เอมิลี่ ทาลลิส แม่และหัวหน้าครอบครัวของตระกูลทาลลิส
  • แพทริค เคนเนดี้ รับบทเป็น ลีออน ทาลลิส พี่ชายคนโตในบรรดาพี่น้องสามคนของตระกูลทาลลิส
  • เบรนดา เบลทติน รับบทเป็น เกรซ เทอร์เนอร์ แม่บ้านของตระกูลทาลลิส แม่ของร็อบบี
  • จูโน เทมเพิล รับบทเป็น โลล่า ควินซีย์ ลูกพี่ลูกน้องของไบรโอนี่ที่มาเยี่ยมบ้าน
  • ฟีลิกซ์และชาร์ลี วอน ซิมสัน รับบทเป็น น้องชายฝาแฝดของโลล่า
  • เบเนดิกด์ คัมเบอร์แบตช์ รับบทเป็นพอล มาร์แชล เพื่อนของลีออน เจ้าของโรงงานช็อกโกแลต

งานสร้างภาพยนตร์ แก้

สถานที่ถ่ายทำ แก้

 
เซเว่นซิสเตอร์ ซัสเซกส์ สถานที่ถ่ายทำฉากบ้านพักตากอากาศ

สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องตราบาปลิขิตรักส่วนมากอยู่ในประเทศอังกฤษ เช่นฉากอพยพทหารที่ดันเคิร์กถ่ายทำที่เรดคาร์เมืองตากอากาศริมทะเล, สเตรทแฮม, ทางตอนใต้ของลอนดอน ใช้ถ่ายทำฉากอพาร์ทเมนต์ของเซซิเลียหลังจากที่เธอตัดขาดจากครอบครัวแล้ว ในส่วนของคฤหาสน์ตระกูลทาลลิสถ่ายทำที่คฤหาสน์สโตรคเซย์ เขตชรอพเชียร์ ซึ่งเป็นบ้าพักส่วนบุคคลที่สร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1889 เป็นคฤหาสน์สไตล์วิคตอเรียน[3]

สถานที่ถ่ายทำในลอนดอนมีทั้งถนนไวท์ฮอลล์ในเวสท์มินสเตอร์และเบธนอลกรีนทาวเวอร์ฮอลล์ซึ่งใช้เป็นฉากร้านน้ำชาในปี ค.ศ. 1939 นอกจากนี้ยังมีโบสถ์เซนต์จอห์นสมิธแสควร์ในเวสท์มินสเตอร์ที่ใช้เป็นฉากงานแต่งงานของโล่ล่ากับพอล มาร์แชล ในบางส่วนของฉากโรงพยาบาลเซนต์โธมัสถ่ายทำที่ พาร์คพาเลซ เบิร์กเชียร์ และเมืองเฮนเลย์ออนเทมส์ทางตอนใต้ของออกฟอร์ดเชียร์ ส่วนภายนอกโรงพยาบาลนั้นถ่ายทำที่มหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน(University College London) บ้านพักตากอากาศในรูปถ่ายและในฉากสุดท้ายของภาพยนตร์ถ่ายทำที่เซเว่นซิสเตอร์ ซัสเซกส์ ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ

การตอบรับจากสังคม แก้

รางวัล แก้

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80: ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)[2]
  • รางวัลภาพยนตร์แห่งอังกฤษ ครั้งที่ 61[4]:
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม
  • รางวัลมะเขือเทศทองคำ: ภาพยนตร์รักโรแมนติคยอดเยี่ยม[5]
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ฮูสตัน[6]:
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมหนึ่งในสิบอันดับ
    • ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
  • รางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 65[7]:
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์ดรามา
    • ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ดนตรีประกอบภาพยตร์นานาชาติ[8]:
    • ดนตรีประกอบภาพยนตร์แห่งปี (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
    • ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทดรามา
    • เรียบเรียงดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
  • รางวัลภาพยนตร์และโทรทัศน์ไอริช:
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
    • กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี)
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ลาสเวกัส[9]: นักแสดงรุ่นเยาว์หญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
  • รางวัลกลุ่มผู้วิจารณ์ภาพยนตร์แห่งลอนดอน[10]:
  • รางวัลนิลส์สันสาขาภาพยนตร์[11]:
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
    • ประดับฉากยอดเยี่ยม
    • ศิลปินรุ่นเยาว์ (เซอร์ชา โรนัน)
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ฟีนิกส์[12]:
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมหนึ่งในสิบอันดับ
    • กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี)
    • ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
    • นักแสดงรุ่นเยาว์ในบทนำหรือสมทบยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ซานดิเอโก[13]:
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมหนึ่งในเจ็ดอันดับ
    • ตัดต่อยอดเยี่ยม (พอล ทอตฮิลล์)
  • รางวัลแซทเทิลไลท์ ครั้งที่ 12[14]: บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)

รางวัลที่เสนอชื่อเข้าชิง แก้

  • รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80:
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
    • บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)
    • กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ซาราห์ กรีนวูด,เคที สเปนเซอร์)
    • กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี)
    • ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (แจคเคอลีน เดอร์แรน)
  • รางวัลสมาคมผู้กำกับศิลป์ ครั้งที่12: ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยมในภาพยนตร์เรื่องยาว (ซาราห์ กรีนวูด)
  • รางวัลสมาคมช่างกล้องภาพยนตร์แห่งอเมริกา ครั้งที่22: กำกับภาพยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ (ซีมัส แมคการ์วี)
  • รางวัลภาพยนตร์แห่งอังกฤษ ครั้งที่ 61:
    • ภาพยนตร์อังกฤษยอดเยี่ยม
    • ผู้กำกับยอดเยี่ยม (โจ ไรท์)
    • บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)
    • นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (เจมส์ แมคอาวอย)
    • นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (เคียรา ไนต์ลีย์)
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
    • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
    • กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี)
    • ตัดต่อยอดเยี่ยม (พอล ทอตฮิลล์)
    • ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (แจคเคอลีน เดอร์แรน)
    • เสียงประกอบยอดเยี่ยม (แอดนนี แฮมบรูค,พอล ฮัมบลิน,แคทเทอรีน ฮอดจ์สัน)
    • แต่งหน้ายอดเยี่ยม (อิวานา พรีโมแรค)
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์กระจายเสียง (BFCA):
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • ผู้กำกับยอดเยี่ยม (โจ ไรท์)
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (วาเนสซา เรดเกรฟ)
    • นักประพันธ์ดนตรียอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
    • นักแสดงรุ่นเยาว์หญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ชิคาโก:
    • บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)
    • กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี)
    • ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
  • รางวัลสมาคมนักออกแบบเสื้อผ้า ครั้งที่10: ออกแบบเครื่องแต่งกายสำหรับภาพยนตร์ย้อนยุคยอดเยี่ยม (แจคเคอลีน เดอร์แรน)
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ดัลลัส-ฟอร์ท วอร์ธ (DFWFCA): นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
  • รางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 65:
    • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โจ ไรท์)
    • นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมสาขาภาพยนตร์ดรามา (เจมส์ แมคอาวอย)
    • นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมสาขาภาพยนตร์ดรามา (เคียรา ไนต์ลีย์)
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมสาขาภาพยนตร์ดรามา (เซอร์ชา โรนัน)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ดนตรีประกอบภาพยตร์นานาชาติ: นักประพันธ์ดนตรีแห่งปี (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
  • รางวัลภาพยนตร์และโทรทัศน์ไอริช:
    • ภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม
    • นักแสดงนำชายนานาชาติยอดเยี่ยม (เจมส์ แมคอาวอย)
    • นักแสดงนำหญิงนานาชาติยอดเยี่ยม (เคียรา ไนต์ลีย์)
  • รางวัลกลุ่มผู้วิจารณ์ภาพยนตร์แห่งลอนดอน:
    • รางวัลแอทเทนเบอโรห์สำหรับภาพยนตร์อังกฤษแห่งปี
    • ผู้กำกับแห่งปี (โจ ไรท์)
    • นักแสดงนำหญิงอังกฤษแห่งปี (เคียรา ไนต์ลีย์)
    • นักแสดงสมทบหญิงอังกฤษยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
    • นักเขียนบทภาพยนตร์แห่งปี (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)
    • พัฒนาการแสดงยอดเยี่ยมแห่งอังกฤษ (เซอร์ชา โรนัน)
  • รางวัลม้วนฟิล์มทองคำของผู้ตัดต่อเสียงภาพยนตร์ ครั้งที่ 55: กำกับเสียงยอดเยี่ยม (เบคกี พอนทิงก์,ปีเตอร์ เบอร์จิส)
  • สมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ออนไลน์:
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
    • บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)
    • กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี)
    • ตัดต่อยอดเยี่ยม (พอล ทอตฮิลล์)
    • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
  • รางวัลแซทเทิลไลท์:
    • นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ดรามา (เคียรา ไนต์ลีย์)
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ดรามา (เซอร์ชา โรนัน)
    • ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (แจคเคอลีน เดอร์แรน)
    • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์เซนต์หลุยส์เกทเวย์:
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
    • รองอันดับหนึ่ง กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)
    • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ตะวันออกเฉียงใต้:
    • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โจ ไรท์)
    • บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)
  • รางวัลห้องสมุดยูเอสซี(USC): บทภาพยนตร์ดัดแปลงจากหนังสือยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน:บทภาพยนตร์,เอียน แมคอีวาน:หนังสือต้นฉบับ)
  • รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์วอชิงตัน ดี.ซี.:
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โจ ไรท์)
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
    • บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)
    • กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ซาราห์ กรีนวูด)
    • พัฒนาการแสดงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)
  • รางวัลไอวอร์ โนเวลโล: ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี)
  • รางวัลภาพยนตร์และโทรทัศน์ลียง:
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โจ ไรท์)
    • บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)
    • กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ซาราห์ กรีนวูด,เคที สเปนเซอร์)

ดนตรีประกอบ แก้

ดนตรีประกอบของภาพยนตร์เรื่องตราบาปลิขิตรัก ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัลมากมาย ซึ่งอัลบัมดนตรีประกอบนี้ประพันธ์โดยดาริโอ มาริอาเนลลี และเล่นโดย ชอง-อีฟ ติโบเดต์นักเปียโนคลาสสิกชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการร่วมมือกับโจ ไรท์เป็นครั้งที่สองหลังจากภาพยนตร์เรื่อง Pride & Prejudice

รายชื่อเพลง แก้

  1. ไบรโอนี่ (Briony) - 1:46
  2. ข้อความของร็อบบี (Robbie's Note) - 3:07
  3. สองคนที่น้ำพุ (Two Figures By a Fountain) - 1:17
  4. ซี เธอ และชา (Cee, You and Tea) - 2:27
  5. ด้วยสองตาของฉันเอง(With My Own Eyes) - 4:41
  6. อำลา (Farewell) - 3:32
  7. จดหมายรัก (Love Letters) - 3:12
  8. ครึ่งหนึ่งถูกสังหาร (The Half Killed) - 2:11
  9. ช่วยฉันด้วย (Rescue Me) - 3:21
  10. บทอาลัยแด่ดันเคิร์ก (Elegy for Dunkirk) - 4:16
  11. กลับมา (Come Back) - 4:28
  12. จุดจบ (Denouement) - 2:29
  13. บ้านพักริมหาด (The Cottage on the Beach) 3:25
  14. การไถ่บาป (Atonement) - 5:24
  15. Suite bergamasque: Clair de lune (โคล้ด เดอบุซซี) - 4:52

สื่อภายในที่พักอาศัย แก้

ตราบาปลิขิตรักในรูปแบบดีวีดีโซน 2 ออกวางจำหน่ายวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 และแบบHD DVDในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2008 ส่วนดีวีดีโซน 1 วางจำหน่ายวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2008[15] ในประเทศไทยวางจำหน่ายทั้งในรูปแบบวีซีดีและดีวีดีในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2008[16] ภายในดีวีดีประกอบด้วยภาพยนตร์, คำอธิบายภาพยนตร์โดยผู้กำกับ โจ ไรท์, เบื้องหลังการถ่ายทำ, จากนวนิยายสู่ภาพยนตร์, ฉากที่ถูกตัดออกพร้อมคำอธิบายโดยผู้กำกับ โจ ไรท์ และตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องอลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์ทอง

อ้างอิง แก้

  1. "Keira Knightly shines in Atonement". The Age.
  2. 2.0 2.1 "Academy Award nominations for Atonement". Academy Awards.
  3. Atonement FilmInFocus Production Notes[ลิงก์เสีย]
  4. "รางวัล BAFTA ประจำปี ค.ศ. 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-08. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13.
  5. รางวัลมะเขือเทศทองคำ สาขาภาพยนตร์รักโรแมนติคยอดเยี่ยม
  6. รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ฮูสตันประจำปี ค.ศ. 2007
  7. "รางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 65". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2012-05-24.
  8. รางวัลสมาคมวิจารณ์ดนตรีประกอบภาพยตร์นานาชาติประจำปี ค.ศ. 2007
  9. "รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ลาสเวกัสประจำปี ค.ศ. 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-21. สืบค้นเมื่อ 2008-09-02.
  10. รางวัลกลุ่มผู้วิจารณ์ภาพยนตร์แห่งลอนดอนประจำปี ค.ศ. 2007
  11. 6th Annual Nilsson Award Nominees for the Most Outstanding Filmmaking of 2007
  12. "รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ฟีนิกส์ประจำปี ค.ศ. 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 2008-09-02.
  13. "รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ซานดิเอโกประจำปี ค.ศ. 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-26. สืบค้นเมื่อ 2008-09-02.
  14. "รางวัลแซทเทิลไลท์ครั้งที่ 12". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-22. สืบค้นเมื่อ 2008-09-02.
  15. Atonement [WS DVD
  16. http://www.japclub.com/dvd_box/catalyts/2008_jun/atonement.htm

แหล่งข้อมูลอื่น แก้