ดิมอคริตัส
เดโมคริตัส (Democritus) เป็นนักปรัชญาชาวกรีก ในราว 460 – 370 ปีก่อน ค.ศ.หรือ พ.ศ.83 – 173 ที่เมืองแอบเดรา (Abdera) ในแคว้นเธรส ( Thrace ) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของชายฝั่งทะเลอีเจียน เดโมคริตัส (Democritus) เป็นศิษย์ของผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาปรมาณูนิยม (The School Atomists ) ที่มีชื่อว่า ลีวซิพพุส (Leucippus) นักปรัชญาร่วมสมัยกับเขา คือ อาแนกซากอรัส (Anaxagoras) เดโมคริตัส (Democritus) ได้ใช้เวลาในการศึกษาโหราศาสตร์ในอียิปต์ เป็นเวลาถึง 7 ปี เขาได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้จำนวนมาก และเขาเป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีปรมาณู (The Atomic theory) และระบบจักรวาลวิทยา (System of Cosmology)
ดิมอคริตัส | |
---|---|
![]() ดิมอคริตัส | |
เกิด | ราว 460 ก่อน ค.ศ. |
เสียชีวิต | ราว 370 ก่อน ค.ศ. |
Era | Pre-Socratic philosophy |
เดโมคริตัส (Democritus) เป็นนักปราชญ์รุ่นหลัง ของพีทากอรัส (Pythagoras) เขาเป็นผู้ที่ไขความลับเกี่ยวกับทางช้างเผือก (Milky Way) ว่าเป็นดาวจำนวนมากที่อยู่รวมกันอย่างหนาแน่น โดยใช้หลักทฤษฎีอะตอม มาอธิบาย เช่น การเคลื่อนไหวของอะตอมในอวกาศ ทำให้เห็นดวงจันทร์ เพราะอะตอมของดวงจันทร์ ได้เข้ามาสัมผัสในตาของเขา จึงทำให้เขาเห็นเช่นนั้น
เขาไม่เชื่อเรื่องวิญญาณ เขาเชื่อว่าสิ่งเดียวที่มีอยู่คือ อะตอมและช่องว่าง เพราะเขาไม่เชื่อในอะไร นอกจากสิ่งที่จับต้องได้ เขาจึงได้รับสมญาอีกอย่างว่า นักวัตถุนิยม ซึ่งเขาเชื่อว่า แม้แต่วิญญาณก็เกิดมาจากอะตอมวิญญาณ ที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายอะตอมนี้จะกระจัดกระจายไปทุกทิศทุกทาง และกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณดวงใหม่ ซึ่งหมายความว่ามนุษย์ไม่มีวิญญาณที่เป็นนิรันดร์ เดโมคริตัส (Democritus) เชื่อว่า วิญญาณมีส่วนเกี่ยวข้องกับสมอง ถ้าสมองเสื่อม มนุษย์ก็จะไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่ว่ารูปแบบใด
ทฤษฎีอะตอมของ เดโมคริตัส (Democritus) ถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคปรัชญาธรรมชาติกรีกในเวลานั้น เขาเห็นด้วยเฮราครีตัส ว่า ทุกสิ่งในธรรมชาติเลื่อนไหล เนื่องจากรูปแบบต่างๆเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไป แต่เบื้องหลังทุกอย่างที่เลื่อนไหลนั้น มีสิ่งที่เป็นนิรันดรและไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ อะตอม
เขากล่าวว่าปฐมธาตุไม่ใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่คือปรมาณู หรือ อะตอม ซึ่งเขาได้ความหมายของคำว่าปรมาณูไว้ว่า "ปรมาณูเป็นวัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดไม่สามารถจะแบ่งย่อยได้อีกแล้ว จึงหมายถึงของสิ่งเดียวกับ "อะตอมที่หมายถึงสิ่งที่ไม่อาจตัดแบ่งออกไปได้อีก"
อ้างอิงแก้ไข
ดูเพิ่มแก้ไข
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |