ดินแดนมอนเตเนโกรที่ถูกเยอรมนียึดครอง

พื้นที่เขตผู้ว่าการมอนเตเนโกรของอิตาลีถูกนาซีเยอรมนียึดครองเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 ภายหลังจากการสงบศึกกัสซีบีเล ซึ่งราชอาณาจักรอิตาลีได้ยอมจำนนและเข้าร่วมต่อฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อกองกำลังของอิตาลีล่าถอยออกจากเขตผู้ว่าการและพื้นที่ข้างเคียง กองทัพเยอรมันจึงเข้ายึดครองมอนเตเนโกร พร้อมกับแอลเบเนียและดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ จนกระทั่งการล่าถอยของฝ่ายอักษะในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944[1]

การปกครองของเยอรมนีในมอนเตเนโกร

1943–1944
ธงชาติดินแดนมอนเตเนโกรที่ถูกเยอรมนียึดครอง
การยึดครองและการแบ่งดินแดนของยูโกสลาเวียหลังจากการยอมจำนนของอิตาลีในเดือนกันยายน พ.ศ. 2486 การยึดครองของเยอรมนี ของมอนเตเนโกรแสดงเป็นสีเทาในพื้นที่ชายฝั่งทางตอนใต้
การยึดครองและการแบ่งดินแดนของยูโกสลาเวียหลังจากการยอมจำนนของอิตาลีในเดือนกันยายน พ.ศ. 2486 การยึดครองของเยอรมนี ของมอนเตเนโกรแสดงเป็นสีเทาในพื้นที่ชายฝั่งทางตอนใต้
เมืองหลวงเซติเญ
การปกครองการปกครองโดยทหาร
จอมพล 
• 1943–1944
วิลเฮล์ม ไคลเปอร์
ผู้นำฝั่งมอนเตเนโกร 
• 1943–1944
ลูโบเมียร์ วุคซาโนวิช
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง
• การจำนนของอิตาลี
8 กันยายน 1943
• การควบคุมโดยเยอรมนี
12 กันยายน 1943
• ZAVNOCGB
14 มิถุนายน 1944
• เยอรมนีถอยทัพ
15 ธันวาคม 1944
สกุลเงินไรช์มาร์ค ดีนาร์ยูโกสลาฟ
ก่อนหน้า
ถัดไป
เขตผู้ว่าการมอนเตเนโกรของอิตาลี
สหพันธ์ประชาธิปไตยยูโกสลาเวีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมอนเตเนโกร
เซอร์เบีย

ในระหว่างการยึดครอง พื้นที่แห่งนี้ถูกวิลเฮ็ล์ม ไคเพอร์ ปกครองในฐานะผู้แทนสามัญ ซึ่งในตอนแรกเขาอยู่ภายใต้การบัญชาการของ "ผู้บัญชาการทหารแอลเบเนียและมอนเตเนโกร" ธีโอดอร์ กีบ จนถึงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1944 จากนั้นการปกครองพื้นที่มอนเตเนโกรของไคเพอร์ก็เป็นอิสระและอยู่ภายใต้การบัญชาการโดยตรงจากผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งยุโรปตะวันออกเฉียงใต้อเล็คซันเดอร์ เลอร์ ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943 ลูโบเมียร์ วุคซาโนวิช ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประธานคณะบริหารสูงสุด และได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน

มีการต่อสู้กันระหว่างกองกำลังเยอรมันและผู้ร่วมมือตามท้องถิ่นของมอนเตเนโกรกับพลพรรคยูโกสลาเวีย ซึ่งภายหลังจากการถอนกำลังของเยอรมนีออกจากมอนเตเนโกรไปออสเตรีย ผู้นำฟาสซิสต์ เซคูลา ดรีเจวิช มีความพยายามที่จะก่อตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในประเทศเพื่อนบ้านอย่างโครเอเชีย ซึ่งเป็นรัฐกึ่งอารักขาของเยอรมนี อีกทั้ง ดรีเจวิช ยังได้ก่อตั้งกองทัพแห่งชาติมอนเตเนโกร โดยกองกำลังนี้ได้รับวางระเบียบจากตัวเขาและผู้นำฟาสซิสต์โครเอเชีย อานเต ปาเวลิช อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพลัดถิ่นของเขาหรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "คณะแห่งรัฐมอนเตเนโกร" ถูกยุบเลิกภายหลังการล่มสลายลงของรัฐบาลฟาสซิสต์โครเอเชีย

ในเวลาต่อมามอนเตเนโกรถูกพลพรรคยูโกสลาเวียของยอซีป บรอซ ตีโต ยึดครอง และกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์ประชาธิปไตยยูโกสลาเวีย

อ้างอิง แก้

  1. Tomasevich 2001, pp. 138–148.

บรรณานุกรม แก้

  • Roberts, Walter R. (1987). Tito, Mihailović and the Allies: 1941–1945. New Brunswick, New Jersey: Duke University Press. ISBN 978-0-8223-0773-0.
  • Tomasevich, Jozo (1975). War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: The Chetniks. Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-0857-9.
  • Tomasevich, Jozo (2001). War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: Occupation and Collaboration. Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-3615-2.