ดอบริตซา ชอซิช
ดอบริตซา ชอซิช (เซอร์เบีย: Добрица Ћосић, ออกเสียง: [dǒbritsa tɕôːsitɕ]; 29 ธันวาคม 1921 – 18 พฤษภาคม 2014) เป็นนักการเมือง นักเขียน และนักทฤษฎีการเมืองยูโกสลาเวียและเซอร์เบีย
ดอบริตซา ชอซิช | |
---|---|
ชอซิชในปี 1961 | |
ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียคนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มิถุนายน 1992 – 1 มิถุนายน 1994 | |
นายกรัฐมนตรี | อาเล็กซานดาร์ มิตรอวิช (รักษาการ) มิลัน ปานิช ราดอเย กอนติช |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ซอรัน ลีลิช |
ประธานขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดคนที่ 15 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มิถุนายน 1992 – 7 กันยายน 1992 | |
ก่อนหน้า | บรางกอ ก็อสติช |
ถัดไป | ซูฮาร์โต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ดอบรอซาฟ ชอซิช 29 ธันวาคม ค.ศ. 1921 เวลิกาเดรนอวา ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน |
เสียชีวิต | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 เบลเกรด เซอร์เบีย | (92 ปี)
ที่ไว้ศพ | สุสานใหม่เบลเกรด |
เชื้อชาติ | ชาวเซอร์เบีย |
พรรคการเมือง | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย (ก่อนปี 1968) |
รางวัล | เครื่องอิสริยาภรณ์ความกล้าหาญ เครื่องอิสริยาภรณ์คุณความดีเพื่อประชาชน เครื่องอิสริยาภรณ์ภราดรภาพและความสามัคคี รางวัลนิน (1954, 1961) รางวัลปุชกิน (2010) |
ชอซิชได้รับรางวัลนินสาขาวรรณกรรมอันทรงเกียรติถึงสองครั้งและรางวัลปุชกินจากงานเขียนของเขา หนังสือของเขาได้รับการแปลเป็น 30 ภาษา[1]
เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียโดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 1992 ถึง 1994 บางครั้งผู้คนเรียกเขาว่าบิดาแห่งชาติ เนื่องจากอิทธิพลของเขาในการเมืองเซอร์เบียสมัยใหม่และขบวนการฟื้นฟูชาติในช่วงปลายทศวรรษ 1980[2] ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามใช้คำนั้นในลักษณะแฝงนัย[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Dobrica Ćosić | Laguna". www.laguna.rs (ภาษาเซอร์เบีย). สืบค้นเมื่อ 2019-05-15.
- ↑ Zorica Vulić (11 May 2000). "Ko je ovaj čovek?: Dobrica Ćosić" (ภาษาเซอร์เบีย). Glas javnosti. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2023-12-02.
- ↑ Lukić, Svetlana Lukić & Svetlana Vuković (16 March 2007). "Injekcija za Srbe". B92: Peščanik. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-27.