ศิลปะการดนตรีของกัมพูชาได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมพราหมณ์-ฮินดู มีนาฏกรรมทางศาสนาและเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ การแสดงบางชนิดใช้วงพิณพาทย์ (pinpeat) ที่ประกอบด้วย ฉิ่ง ระนาด ปี กระจับปี่ ฆ้อง ซอ และกลองหลายชนิด การเคลื่อนไหวแต่ละท่าจะเป็นแนวคิดแทนสิ่งต่างๆ การฟื้นฟูนาฏศิลป์เกิดขึ้นมากในราว พ.ศ. 2493 โดยพระนางสีสุวัตถิ์ กุสุมนารีรัตน์

ดนตรีที่เป็นที่นิยม แก้

ดนตรีสมัยใหม่ในกัมพูชามีสองแบบคือ รำวง และรัมบัจ รำวงเป็นดนตรีช้าๆ ส่วนรัมบัจมีลักษณะคล้ายดนตรีพื้นบ้านของไทยในแถบอีสานใต้ ในจังหวัดเสียมราฐจะนิยมดนตรีที่เรียกกันตรึม ที่เป็นดนตรีพื้นบ้านของชาวเขมรสุรินทร์ และเป็นที่นิยมตามแนวชายแดนไทยและกัมพูชา

นักร้องที่เป็นที่นิยม แก้

นักร้องชาวกัมพูชาที่เป็นที่นิยม ได้แก่ สิน ศรีสมุทร, รส เสรีโสธา (รส สิริสุทธา), แพน โรน นักร้องในปัจจุบันได้แก่ นอย วันเน็ต เมง แกว ปิเชนดา (น้อย วันเนตร และ เมง แก้ว พิจันทา) และลัวร์ สาริท นอกจากนั้นก็มี เชต โสวัณ ปัญญา และเปรียบ โสวัท (เชต สุวรรณปัญญา และปราบ สุวัติ)

อ้างอิง แก้

  • Clewley, John. "Heavenly Dancers". 2000. In Broughton, Simon and Ellingham, Mark with McConnachie, James and Duane, Orla (Ed.), World Music, Vol. 2: Latin & North America, Caribbean, India, Asia and Pacific, pp 20-23. Rough Guides Ltd, Penguin Books. ISBN 1-85828-636-0

แหล่งข้อมูลอื่น แก้