ฏุณฑิเขล
ฏุณฑิเขล [ตุน-ดิ-เขน] (เนปาล: टुँडिखेल) หรือ ตินิขยะห์ (เนวาร์: तिनिख्य) เป็นลานหญ้าขนาดใหญ่ในใจกลางนครกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล และเป็นหนึ่งในจุดหมายตาที่สำคัญของเมือง ลานหญ้ามีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางพาดตามแนวทิศเหนือ–ใต้ ตั้งอยู่ระหว่างรัตนอุทยานทางเหนือ กับสาหีททวารทางใต้
ฏุณฑิเขลมีประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปได้ถึงอย่างน้อยศตวรรษที่ 18 ตอนต้น ในสมัยยุคมัลละ ใช้งานเป็นทั้งที่เดินสวนสนาม, สนามแข่งม้า, พื้นที่สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาไปจนถึงการแสดงดนตรี สวนสาธารณะไปจนถึงลานหญ้าสำหรับสัตว์ใช้กิน ฏุณฑิเขลยังได้รับการบรรยายไว้ว่าเป็นประดุจปอดของกาฐมาณฑุ เป็นพื้นที่สี่เขียวท่ามกลางบ้านเรือนที่อยู่อย่างหนาแน่น ชาวเมืองนิยมเดินหรือออกกำลังกายในฏุณฑิเขลในช่วงเช้าและช่วงเย็น[1] นอกจากนี้ยังปรากฏฏุณฑิเขลอยู่ในตำนานหลายเรื่อง
ในอดีต ฏุณฑิเชลกินพื้นที่ยาวกว่า 5 กิโลเมตรจากรานีโปขรีไปถึงสนามกีฬาทศรถรงคศาลา และว่ากันว่าเป็นลานเดินสวนสนามที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย ในปัจจุบัน พื้นที่ของลานหดลงจากการก่อสร้างสาธารณูปโภครุกคืบเข้ามาในพื้นที่ของลานจากทั้งสี่ด้าน[2][3][4][5]
เทศกาล
แก้เทศกาลวิ่งม้า โฆเฑยาตรา เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นที่ลานนี้ในราวเดือนมีนาคม โดยประกอบไปด้วยการแข่งม้า ธรรมเนียมนี้มีอายุหลายศตวรรษ และมีต้นมาจากครั้งหนึ่ง ได้มีกษัตริย์รับสั่งให้ม้ามาวิ่งไปทั่วลานนี้เพื่อกระทืบดวงวิญญาณที่ชั่วร้ายของปิศาจให้จมลงไปในดิน[6] นอกจากนี้ในเทศกาลยังมีการเดินแสดงมัา, การแสดงกายกรรม และกระโดดร่มเช่นกัน[7]
กองทัพเนปาลจัดพิธีการยิงปืนฉลองที่ฏุณฑิเขลอยู่สองโอกาส โดยการยิงปืนและปืนใหญ่ ในเทศกาลดาเซน กับ มหาศิวราตรี ซึ่งมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์[8]
ประวัติศาสตร์
แก้ในบรรดาเอกสารที่มีการอ้างถึงฏุณฑิเขลที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในบันทึกของนักบวชนิกายเยซูอิตชาวอิตาลี อิปโปลีโต เดซีเดรี ผู้เดินทางมายังกาฐมาณฑุในปี 1721 สมัยที่อยู่ภายใต้ปกครองของกษัตริย์แห่งมัลละ ในบันทึกการเดินทางเขาเล่าถึงทุ่งกว้างขนาดสองไมล์ ใกล้กับแหล่งน้ำรานีโปขรี ตั้งอยู่นอกประตูอมือง และยังบันทึกไว้ว่ามีวิหารมากมายตลอดระยะทางของลานกว้างนั้น[9]
ปัจจุบันมีวิหารอยู่เพียงสองแห่งที่ยังคงอยู่ ได้แก่ วิหารของเทพเจ้า ลุมรีอชิมา (Lumari Ajimā) เทวมารดาซึ่งเป็นที่รู้จักในอีกนามว่าพระนางภัทรกาลี ตั้งอยู่ทางขอบตะวันออกของฏุณฑิเขล อีกวิหารคือวิหารของเพทเจ้า มหากาฬะ หรือ มหานกาทยะห์ (Mahākāla or Mahānkā Dyah) ตั้งอยู่บนขอบทางตะวันตก พระมหากาฬะ เป็นเทพพิทักษ์ในพระพุทธศาสนาแบบวัชรยาน รวมถึงยังมีการบูชาในศาสนาฮินดูเป็นอวตารปางหนึ่งของพระศิวะ[10][11]
อ้างอิง
แก้- ↑ Sharma, Nirjana (23 May 2011). "Tundikhel the Capital's lungs". The Kathmandu Post. Kathmandu. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Proksch, Andreas; และคณะ (1995). Images of a century: the changing townscapes of the Kathmandu Valley. Deutsche Gesellschaft für Technische Zusammenarbeit. p. 46. สืบค้นเมื่อ 5 December 2013.
- ↑ Rai, Hemlata (16 August 2002). "Shrinking Tundikhel". Nepali Times. สืบค้นเมื่อ 5 December 2013.
- ↑ Sengupta, Urmi (24 July 2017). "Diminishing public space: Not just Tundikhel, every inch of public space that is at risk of disappearing deserves reinvention". The Kathmandu Post. Kathmandu. Retrieved 24 July 2017.
- ↑ Sengupta, Urmi (2017), Ruptured space and spatial estrangement: (Un)making of public space in Kathmandu, Urban Studies
- ↑ Proksch, Andreas; และคณะ (1995). Images of a century: the changing townscapes of the Kathmandu Valley. Deutsche Gesellschaft für Technische Zusammenarbeit. p. 40. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
- ↑ "Ghode Jatra to 'trample the demon's spirit' being marked". The Himalayan Times. 10 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 6 December 2013.
- ↑ "Prez attends Army's Fulpati feu-dejoie". The Himalayan Times. Kathmandu. 21 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
- ↑ Desideri, Ippolito (1995). "The Kingdom of Nepal". ใน De Filippi, Filippo (บ.ก.). An Account of Tibet: The Travels of Ippolito Desideri 1712-1727 AES reprint. Asian Educational Services. p. 317. ISBN 9788120610194. สืบค้นเมื่อ 6 December 2013.
- ↑ Huntington, John C.; Bangdel, Dina (2003). The Circle of Bliss: Buddhist Meditational Art. Serindia Publications, Inc. p. 332. ISBN 9781932476019.
- ↑ Landon, Perceval (1928). Nepal (PDF). London: Constable and Co. Ltd. p. 218. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.