แซมเพลอร์

(เปลี่ยนทางจาก ซามเพลอ)

แซมเพลอร์ (อังกฤษ: sampler) เป็นเครื่องดนตรีอีเลคทรอนิกส์ มีความใกล้เคียงกับเครื่องสังเคราะห์เสียง แทนที่จะใช้เสียงที่ได้จากการถูบนเทิร์นเทเบิล แซมเพลอร์เริ่มจากการนำหลาย ๆ เพลง (หรือเรียกว่า แซมเพิล) จากเสียงหลาย ๆ เสียงนำมาใส่โดยผู้ใช้ และเล่นกลับไปมาโดยขึ้นอยู่กับการปรับแต่งเครื่องดนตรี และเพราะว่าแซมเพิลมักจะเก็บไว้ใน RAM ทำให้การเข้าถึงข้อมูลจึงเร็ว

AKAI MPC2000 sampling sequencer
นักดนตรีใช้ Yamaha SU10 Sampler

การใช้เครื่องแซมเพลอร์ กลายเป็นสิ่งสำคัญในดนตรีฮิปฮอป ดนตรีอีเลกโทรนิกส์ และดนตรีอาวองต์การ์ด[1]

แซมเพลอร์มีส่วนร่วมในการตั้งค่าของเครื่องสังเคราะห์เสียง และสามารถปรับเปลี่ยนได้หลายแบบ แซมเพลอร์มีความสามารถแบบโพลีโฟนิก ที่พวกเขาสามารถเล่นมากกว่า 1 โน้ตได้ในเวลาเดียวกัน

โครงสร้างของแซมเพลอร์

แก้

อินเตอร์เฟส

แก้

ปรกติแล้ว แซมเพลอร์จะถูกควบคุมจากคีย์บอร์ดดนตรีที่อยู่ติดกัน หรือแหล่ง MIDI ภายนอก ค่าของแต่ละโน้ตจะถูกป้อนเข้าแซมเพลอร์ จากนั้นก็เป็นตัวอย่างเฉพาะเรียกว่า (particular sample) มีบ่อยครั้ง ที่แซมเปิลถูกจัดเรียงอยู่ในช่วงต่างๆ ทางดนตรี กำหนดเป็นกลุ่มตัวโน้ต หากสามารถสืบคีย์บอรด์ได้ แซมเปิลจะถูกเลื่อนระดับเสียงในตำแหน่งที่เหมาะสม แต่ละกลุ่มของตัวโน้ตที่แซมเปิลหนึ่งๆ ถูกกำหนดค่าไว้ จะเรียกว่า keyzone และหากรวมเป็นชุด จะเรียกว่า keymap เมื่อค่าโน้ตถูกป้อนสู่แซมเพลอร์ มันจะมองดูค่าดังกล่าว และเล่นแซมเปิลที่เกี่ยวข้องกับโน้ตนั้น

โดยทั่วไปแล้ว แซมเพลอร์สามารถเล่นเสียงใดๆ ก็ได้ที่บันทึกไว้ และแซมเพลอร์ส่วนใหญ่จะมีความสามารถในการตัดต่อแก้ไข ทำใมห้ผู้ใช้สามารถปรับปรุงและประมวลผลเสียงดังกล่าว และใช้กับเอฟเฟ็กต์ในช่วงกว้าง ทำให้แซมเพลอร์เป็นเครื่องมือสำหรับทำเสียงดนตรีที่หลากหลายและทรงพลัง

ลำดับทางโครงสร้าง

แก้

แซมเพลอร์ถูกจัดกลุ่มตามลำดับชั้นของโครงสร้างข้อมูลที่ซับซ้อน สำหรับชั้นล่าสุด จะเป็นแซมเปิล (sample) แซมเปิลคือเสียงที่บันทึกเอาไว้แต่ละเสียง แต่ละแซมเปิลจะถูกบันทึกที่ความละเอียดและอัตราการสุ่มเฉพาะ นับว่าสะดวก หากแซมเปิลถูกจัดพิตช์ ซึ่งจะรวมพิตช์กลางอ้างอิงเอาไว้ด้วย พิตช์นี้จะบ่งบอกถึงความถี่จริงของโน้ตที่บันทึกไว้ แซมเปิลยังอาจมีจุดลูป ซึ่งบ่งบอกตำแหน่งของส่วนที่จะทำซ้ำของการเริ่มและสิ้นสุดของแซมเปิล วิธีดังกล่าวทำให้สามารถเล่นแซมเปิลสั้นๆ ได้ไม่รู้จบ ในบางกรณีจะบอก loop crossfade ซึ่งยอมให้มีการย้ายตำแหน่งโดยไร้รอยต่อที่จุดลูปใดๆ โดยการเฟดจุดสิ้นสุดของลูป ขณะเดียวกันก็เฟสจุดเริ่มต้นของลูปเข้า

แซมเพลอร์มักจะจัดเรียงเป็น keymaps หรือกลุ่มแซมเปิล ที่กระจายไปตามช่วงโน้ต แต่ละแซมเปิลที่ถูกวางอยู่ในพื้นที่คีย์แมป ก็ควรจะอ้างอิงกับค่าตัวโน้ต ที่จะเล่นแซมเปิลนั้นที่พิตช์เดิม

คีย์แมปเหล่านี้ถูกจัดเรียงไว้ในเครื่องดนตรี ที่ระดับเครื่องดนตรี อาจเพิ่มพารามิเตอร์เสริม เพื่อกำหนดการเล่นคีย์แมป ตัวอย่างเช่น อาจใช้ฟิลเตอร์เพื่อเปลี่ยนสี ออสซิลเลเตอร์ความถี่ต่ำ และการแต่งรูปร่างแอมปลิจูด พิตช์ ฟิลเตอร์ หรือพารามิเตอร์อื่นๆ เครื่องดนตรีอาจมีเลเยอร์ของคีย์แมปหลายชั้น หรือหลายเลเยอร์ เครื่องดนตรีแบบหลายเลเยอร์จะสามารถเล่นแซมเปิลได้มากกว่า 1 แซมเปิลในเวลาเดียวกัน มีบ่อยครั้งที่แต่ละเลเยอร์ของคีย์แมทปมีชึดพารามิเตอร์ต่างกัน ทำให้อินพุตมีผลต่อแต่ละเลเยอร์แตกต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น สองเลเยอร์อาจมีความไวต่อความเร็วที่ต่างกัน และดังนั้นโน้ตที่มีความเร็วสูงอาจเน้นเลเยอร์หนึ่งมากกว่า

ในระดับนี้ ยังมีแนวทางพื้นฐานสองอย่างสำหรับองค์ประกอบของแซมเพลอร์ ในการใช้แบบคลังข้อมูล แต่ละแชนแนล MIDI ถูกกำหนดเป็นเครื่องดนตรีต่างๆ กัน จากนั้นคลังแบบรวมสามารถบันทึกเพื่อปรับแก้ค่าของแซมเพลอร์ได้

วิธีการอย่างหนึ่ง ที่ใช้การได้มากกว่า คือ อาศัยเครื่องดนตรี ที่มี ID จากนั้น แต่ละช่อง MIDI จะถูกกำหนดโดยอิสระ โดยการส่งข้อมูลเปลี่ยนแพตช์ไปยังแต่ละแชนแนล ทำให่มีความยืดหยุ่นกว่ามากในการกำหนดค่าของแซมเพลอร์

ชนิด

แก้

เครื่องแซมเพลอร์นั้น อาจจำแนกได้สองแบบ คือ เฟส แซมเพลอร์ (phrase samplers) และสตูดิโอแซมเพลอร์ (studio samplers) อย่างหลังนี้ เป็นแบบไม่เป็นทางการ ส่วนแบบเฟสนั้นปรากฏในเอกสารของผู้ผลิต

เครื่องแซมเพลอร์แบบเฟส (Phrase samplers) ทำงานด้วยหลักปรัชญาเดียวกับกลองชุด นั่นคือ แต่ละคีย์แมป จะขยายเพียง 1 คีย์ และปกติจะมีแซมเปิลต่างๆ อยู่ในนั้น ส่วนแซมเพลอร์สำหรับสตูดิโอ จะต้องการโซนจำนวนมาก (มากถึง 61 โซน เพื่อเติมให้ครบบนคีย์บอร์ดเท่าไป) แต่ละตัวจะมีการกำหนดค่าของตัวมันเอง และแต่ละคีย์แมปจะต้องถูกโปรแกรมเพื่อขยายเพียง 1 คีย์ นับว่าเป็นงานที่หนัก โดยเฉพาะในแซมเพลอร์แบบฮาร์ดแวร์ที่สั่งด้วยเมนูแบบเก่า การใช้วิธีเฟสแซมปลิงจะทำให้ทำงานได้ง่าย และแปลเป็นอินเตอร์เฟสอื่นที่ง่ายขึ้น (เช่น แป้น 16 แพด บนซีรีส์ Akai MPC) ข้อเท็จจริงที่ว่าแต่ละแป้นมีแต่ละโน้ตซ่อนอยู่นั้น ถูกซ่อนไปจากผู้ใช้ นอกจากนี้ยังประหยัดกำลังการคำนวณ เพราะเครื่องแซมปลิงจะไม่ต้องปรับพิตช์ของแต่แซมเปิล (ไม่จำเป็นสำหรับอัลกอริธึมแบบ anti-aliasing) มันเพียงแต่เล่นเสียงออกมาเท่านั้น เมื่ออินเตอร์เฟสผู้ใช้ง่ายลงโดยทั่วไป มันก็เหมาะสำหรับการใช้งานแสดงสดมากกว่า แซมเพลอร์แบบสตูดิโอ (Studio samplers) ทำงานอย่างที่บรรยายมาข้างบน พร้อมกับระบบ keymapping โดยถือว่าผู้ใช้ต้องการเร่งความเร็วแซมเปิลจากช่วงคีย์ต่างๆ นี่เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นแน่นอน สิ่งที่ต้องการก็คือ เช่น การเร่ง หรือผ่อนความเร็วของลูปกลอง การจูนแซมเพลอร์อย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นเทิร์นเทเบิลแบบดิจิตอล ในบางกรณี ก็ไม่เป็นที่ต้องการ เช่น เมื่อมีแซมเปิลไม่พอในเครื่องดนตรี ส่วนที่สูงกว่า และต่ำกว่าของ keymap อาจให้เสียงไม่เป็นธรรมชาติ และการย้ายตำแหน่งจากคีย์แมปหนึ่งไปอีกคีย์แมปหนึ่ง ก็อาจสังเกตได้ชัดเกินไป สำหรับการเลียนเสียงเครื่องดนตรีจริงนั้น ศิลปะที่ต้องใช้เพื่อคือ การย้ายตำแหน่งให้แนบเนียบและนุ่มนวลเท่าที่จะทำได้

รูปแบบที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ได้แก่ แซมเพลอร์ในสตูดิโอนั้น มีขนาดสำหรับแร็ก 19 นิ้ว เฟสแซมเพลอร์มีรูปแบบ groovebox น้ำหนักเบา ใช้งานและขนย้ายง่าย

พารามิเตอร์

แก้

เราอาจจำแนกแซมเพลอร์ในแง่ของความสามารถทางพารามิเตอร์ที่หลากหลายดังนี้

  • Polyphony: เล่นหลายเสียงได้ในเวลาเดียวกัน
  • Sample Space: หน่วยความจำในการโหลดแซมเปิล
  • Channels: แชนแนล MIDI ต่างๆ ที่ใช้สำหรับเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน
  • Bit depth: ความละเอียดของแซมเปิลที่สนับสนุน
  • Outputs: ช่องเอาต์พุตเสียงอิสระที่มีอยู่

ประวัติย่อของแซมเพลอร์

แก้

กำเนิดของแซมเพลอร์ดิจิตอล ทำให้การทำแซมปลิงทำได้ดีขึ้นย และเครื่องแซมเพลอร์ยังเพิ่มการประวลผลดิจิตอลมากขึ้นกับเสียงที่บันทึกไว้ โดยเริ่มที่จะรวมเข้ากับซินธีไซเซอร์ดิจิตอลสมัยใหม่ที่หลากหลาย ซินธีไซเซอร์แบบแซมปลิงตัวแรก คือ Computer Music Melodian ซึ่งมีขายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1976 เครื่องซินธีไซเซอร์ที่ทำแซมปลิงแบบดิจิตอล ชนิดโพลีโฟนิกตัวแรก คือ Fairlight CMI ของออสเตรเลีย ซึ่งมีขายครั้งแรกในปี 1979

ก่อนจะมีแซมเพลอร์แบบใช้หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ นักดนตรีจะใช้คีย์บอร์ดแบบเล่นจากเทป (tape replay keyboards) ซึ่งจะบันทึกเสียงโน้ตเครื่องดนตรี และซาวด์เอฟเฟ็กต์ไว้ในเทปแบบแอนะลอก เมื่อกดคีย์บอร์ด หัวเทปจะสัมผัสเส้นเทป และเล่นเสียง ทั้งนี้ Mellotron ถูกนำไปใช้ในกลุ่มนักดนตรีหลายกลุ่ม เมื่อปลายทศวรรษ 1960 และทศวรรษ 1970 ระบบดังกล่าวทั้งแรง และหนักมาก อันเนื่องจากกลไกเทปที่อยู่หลายใน ปัจจุบันดังกล่าวนี้เองมีผลไปจำกัดช่วงของเครื่องดนตรีทำให้เล่นได้เต็มที่เพียง 3 ออกเตฟ หากผู้ใช้อยากเปลี่ยนเสียง ก็มักจะต้องเปลี่ยนเทปจำนวนมาก จึงไม่เหมาะกับการใช้งานการแสดงดนตรีสดทั่วไป

เครื่องแซมเพลอร์แบบดิจิตอลสมัยใหม่จะใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเกือบทั้งหมด เพื่อประมวลผลแซมเปิลให้เป็นเสียงที่น่าสนใจ แซมเพลอร์เสียงเพอร์คัสชัน SP1200 ของ E-mu ทำสไตล์ฮิปฮอปจากเสียงกลองที่ผ่านเข้ามา ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม 1987 โดยการใช้เสียงที่อิงกับแซมเปิลจากเมื่อปลายทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990. ต่อมา Akai ได้บุกเบิกเทคนิคการประมวลผลอย่างหลากหลาย เช่น ฟังก์ชัน Crossfade Looping เพื่อลดกลิตช์ และฟังก์ชัน Time Stretch ซึ่งช่วยลดความยาวของแซมเปิล โดยไม่มีผลต่อพิตช์ และในทางกลับกัน ปัจจัยที่จำกัดในสมัยแรกๆ ก็คือ ต้นทุนของหน่วความจำเชิงกายภาพ (RAM) และข้อจำกัดเรื่องอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอก

ในช่วงทศวรรษ 1990 เครื่องซินธีไซเซอร์แบบลูกผสมเริ่มจะเกิดขึ้น ซึ่งใช้แซมเปิลที่สั้นมากของเสียงธรรมชาติ และเสียงดนตรี พร้อมกับซินธีไซเวอร์แบบดิจิตอล ที่สร้างเสียงเครื่องดนตรีได้สมจริงมากขึ้น ตัวอย่างได้แก่ Korg M1, Korg O1/W และในภายหลังก็มี Korg Triton และKorg Trinity รวมถึง Yamaha SY series และ Kawai K series ทำให้ใฃ้หน่วยความจำที่น้อยนิดเท่าที่มีอยู่อย่างดีที่สุดสำหรับวิศวกรผู้ออกแบบ

เครื่องเวิร์กสเตชันดนตรีในปัจจุบัน มักจะมีส่วนต่างๆ ของการแซมปลิง จากการเล่นแซมเปิล จนถึงการตัดต่อที่ซับซ้อน ที่สอดคล้องกับแซมเพลอร์ส่วนใหญ่ เว้นแต่รุ่นที่ละเอียดซับซ้อนจริงๆ ความแตกต่างพื้นฐานก็คือ เวิร์กสเตชันจะมีคุณสมบัติเพิ่ม เช่น ซีเควนเซอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานสะดวกสำหรับนักแต่งเพลง

แซมเพลอร์ และศิลปิน Foley นับเป็นกระแสหลักของการผลิตซาวด์เอฟเฟ็กต์สมัยใหม่ การใช้เทคนิคดิจิตอล ทำให้สมารถย้ายพิตช์ และเปลียนอย่างที่ต้องการได้ ซึ่งหากใช้เทปเสียงแบบเดิมจะใช้เวลาหลายชั่วโมง

ตัวอย่างของแซมเพลอร์แบบดิจิตอล

แก้

Melodian

แก้

บริษัท Computer Music Inc. ก่อตั้งขึ้นในรัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1972 โดย Harry Mendell และ Dan Coren บริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาและทำการตลาดเครื่องดนตรีที่อาศัยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

เมโลเดียน (Melodian) นั้นอาศัยคอมพิวเตอร์ PDP-8 ของ Digital Equipment Corporation และ hand wired D/A and A/D conversion and tracking anti-aliasing filters เครื่อง Melodian นี้ตอนแรกใช้โดย Stevie Wonder ในอัลบัม "Secret Life of Plants" (1979) เครื่อง Melodian นี่เป็นซินธ์แบบโมโน 12 bit A/D มีอัตราการสุ่ม 22 kHz มีการออกแบบให้ใช้งานได้กับซินธีไซเซอร์แบบแอนะลอก และมีคุณสมบัติที่จะซิงค์ได้กับพิตช์ของซินธ์แบบอนาลอก เช่น Arp 2600 นั่นก็หมายความ่า Melodian จะจับเอฟเฟ็กต์การมอดูเลตความถี่ทั้งหมด รวมทั้งการควบคุมทัชริบบอน (touch ribbon) นอกจากนี้แล้ว ยังกระตุ้นคีย์บอร์ดของ ARP ทำให้เกือบจะถือเป็น ซินแบบแอนะลอก/แซมเพลอร์ลูกผสม ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ได้อย่างดีที่สุดในเวลานั้น

Fairlight Instruments

แก้

Fairlight Instruments นั้น เริ่มต้นขึ้นในเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 1975 โดย Peter Vogel และ Kim Ryrie บริษัทนี้เดิมก่อตั้งเพื่อเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์สเปเชียลเอฟเฟ็กต์งานวิดีโอ

Fairlight CMI หรือ Computer Music Instrument ที่เปิดตัวเมื่อปี 1979 ก็เริ่มต้นชีวิตเป็น QASAR M8 ถือเป็นตำนาน ที่ใช้เวลา 2 ชั่วโมงถึงจะบู๊ตขึ้น เจ้า CMI เป็นเครื่องแซมปลิงดิจิตอลที่มีขายเชิงพาณิชย์ครั้งแรก Fairlight CMI เดิมนั้นแซมปลิงด้วยความละเอียด 8-bit ที่อัตรา 10 kHz และใช้โปรเซสเซอร์ 8-bit Motorola 6800 สองตัว ต่อมาอัปเกรดเป็นชิป 16/32-bit Motorola 68000 ซึ่งมีกำลังมากกว่า นอกจากนี้ยังมีคีย์บอร์ด 6 ออกเตฟ 2 ตัว คียบอร์ดตัวอักษร และ VDU แบบโต้ตอบ ซึ่งสามารถแก้ไขคลื่นเสียง หรือดึงจากสแครตช์ โดยใช้ปากกาแสง มีซอฟต์แวร์สำหรับการแก้ไข ทำลูปและผสมเสียง ซึ่งจะเล่นผ่านคีย์บอร์ด หรือซีเควนเซอร์ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์

ในปี 1982 Fairlight ก็ได้ปล่อย Series II ออกมา ซึ่งมีอัตราแซมปลิงเป็นสองเท่า คือ 16 kHz สำหรับ Series IIx นั้นเปิดตัวเมื่อปี 1983 และนับเป็นรุ่นแรกที่มีการใช้งาน MIDI พื้นฐาน ครั้นปี 1985 ก็มี Series III ซึ่งมีความละเอียดการแซมปลิงถึง 16-bit ผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Peter Gabriel, Trevor Horn, Art of Noise, Yello, Pet Shop Boys, Jean Michel Jarre และ Kate Bush

ระบบ E-Mu

แก้

E-mu Emulator (1981) Emulator นี้มีรุ่นโพลีโฟนิก 2-, 4-, และ 8 โน้ต รุ่น 2 โน้ตเลิกไปเพราะความนิยมน้อย โดยมีอัตราการสุ่มสูงสุด 27.7 kHz และมีคีย์บอร์ด 4 ออกเตฟ หน่วยความจำ 128 kB

E-mu Emulator II (1985) ออกแบบมาเพื่อเติมช่องว่างระหว่าง Fairlight CMI และ Synclavier และ Ensoniq Mirage โดยมีการสุ่ม 8 บิต หน่วยความจำแซมเปิ้ลถึง 1 MB มีซีเควนเซอร์ 8 แทร็ก และฟิลเตอร์อนาลอก เมื่อมีการเพิ่มฮาร์ดดิสก์ ทำให้ Emulator II สามารถเทียบเท่ากับแซมเพลอร์ที่ปล่อยอีก 5 ปีต่อมาได้

E-mu Emulator III (1987) เป็นแซมเพลอร์แบบดิจิตอลสเตอริโอ 16 บิต โดยมีเสียงโพลีโฟนี 16 โน้ต อัตราสุ่มสูงสุด 44.1 kHz และหน่วยความจำสูง 8 MB มีซีเควนเซอร์ 16 แชนแนล SMPTE และฮาร์ดดิสก์ 40 MB

มาถึง E-mu SP-1200 ยังคงเป็นแซมเพลอร์นิยมสูงสุดรุ่นหนึ่งสำหรับการใช้งานเกี่ยวกับดนตรีแนวฮิปฮอป เครื่องแซมเพลอร์ 12 บิตจะให้ความอบอุ่นตามที่ต้องการแก่เครื่องดนตรี และเสียงอัดกระแทกสำหรับกลอง

E-mu Emax มีจำหน่ายในช่วง ค.ศ. 1985 ถึง 1995 โดยมีเป้าหมายที่ตลาดล่าง หรือกลุ่มผู้ซื้อที่มีกำลังไม่สูงนัก

Akai ได้เข้ามาในโลกเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เมื่อปี 1984 เมื่อ Roger Linn ผู้สร้าง Linn LM-1, Linn 9000, และ Linn Drum ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนกับ Akai Corporation เพื่อสร้างเครื่องแซมเพลอร์ที่คล้ายกับตัวที่สร้างโดยบริษัทของ Linn นั่นคือ Linn Electronics และในที่สุดก็ได้รุ่นแรกของซีรีส์ คือ S612 เป็นโมดูลของแซมเพลอร์ดิจิตอล 12 บิต และต่อมาก็มีรุ่น S900 ตามมาในปี 1986

S900 ของ Akai นั้นเป็นแซมเพลอร์แบบดิจิตอลแท้รุ่นแรกที่ให้ประสิทธิภาพน่าพอใจ มีเสียงโพลีโฟนี 8 โน้ต และการแซมปลิ้ง 12 บิต ช่วงความถี่สูงถึง 40 kHz และหน่วยความจำ 750 kB ทำให้สามารถให้อัตราแซมปลิงดีที่สุดในเวลา 2 วินาที โดยสามารถเก็บแซมเปิลได้สูงสุด 32 แซมเปิลในหน่วยความจำ ระบบปฏิบัติการเป็นซอฟต์แวร์ที่อัปเกรดได้ โดยจะต้องบูตแต่ละครั้งที่เปิดสวิตช์แซมเพลอร์

Akai MPC60 เป็น ดิจิตอลแซมเพลอร์/กลอง และมีดีซีเควนเซอร์ (1987) เป็นรุ่นติดตั้งไม่มีแร็กรุ่นแรก และเป็นครั้งแรกแซมเพลอร์ที่แป้นทริกเกอร์ไวสัมผัส ซึ่งผลิตโดย AKAI S950 (1988) เป็นรุ่นปรับปรุงจาก S900 มีความถี่แซมเปิลสูงสุด 48 kHz และความสามารถตัดต่อบางอย่างเหมือน S1000 ที่ออกมาพร้อมกัน

S1000 (1988) น่าจะเป็นแซมเพลอร์สเตอริโอ 16-bit 44.1 kHz ที่นิยมที่สุดในเวลานั้น มี 16 เสียงร้อง หน่วยความจำ 32 MB และประมวลผลภายใน 24 บิต มีฟิลเตอร์ดิจิตอล (18dB/ออกตเฟ) LFO และ ADSR สองตัว (สำหรับแอมปลิจูด และฟิลเตอร์) นอกจากนี้ S1000 ยังมีจุดลูป 8 จุดต่างๆ กัน ฟังก์ชันเพิ่มเติม ได้แก่ Autolooping, Crossfade Looping, Loop in Release, Loop Until Release, Reverse และ Time Stretch (รุ่น 1.3 และที่สูงกว่า)

เครื่องแซมเพลอร์รุ่นอื่นๆ ของ AKAI ได้แก่ S01, S700, S2000, S3000, S3000XL, S5000, S6000, MPC500, MPC1000, MPC2000, MPC2000XL, MPC2500, MPC3000, MPC3000XL, MPC3000LE, MPC4000, MPC60, Z4 และ Z8

Roland Corporation ผลิตแซมเพลอร์ซีรีส์ S โดยถือเป็นแซเปลอร์ที่จะให้คุณสมบัติทุกอย่างที่บรรยายมา ได้แก่ การแซมปลิง ติดต่อแซมเปิล ย้ายพิตช์ และทำ keyzone mapping รุ่นต่างๆ มีดังนี้ Roland S-10, Roland S-50, Roland S-330, Roland S-550, Roland S-760 และ Roland S-770

เมื่อเร็วๆ นี้ Roland ได้เปิดตัวแนวคิด Groove Sampler ขึ้น อุปกรณ์นี้มีชื่อเสียงในฐานะที่ใช้งานง่าย แต่ขาดการทรานสโพสต์ หรือเลื่อนพิตช์ และความสามารถทำ keyzone mapping ซึ่งแซมเพลอร์ส่วนใหญ่มี ทำให้มันไม่สามารถให้ลูป หรือเอฟเฟ็กต์เสียงที่เล่นกับพิตชิ์เดิมที่บันทึกมา แม้ว่าเครื่องเหล่านี้จะมีเอฟเฟ็กต์ในช่วงเป็นช่วงกว้าง แต่การขาดทรานสโพสต์พิตช์เสียง และ keyzone mapping ทำให้ขาดความโดดเด่นไปอย่างน่าเสียดาย เครื่องที่อยู่ในกลุ่ม Groove Sampler ได้แก่ SP-808, SP-606, SP-505, SP-404 , SP-303 และ SP-202

ผู้ผลิตรายอื่นๆ

แก้
  • Casio (เลิกผลิต) Ensoniq Fairlight Korg Kurzweil Native Instruments Sequential Circuits (เลิกผลิต) Steinberg Tascam Waveframe Yamaha Alesis

แซมเพลอร์แบบใช้ซอฟต์แวร์

แก้

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พลังหน่วยความจำและอำนาจของคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถพัฒนาการใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้อย่างดี สามารถให้ประสิทธิภาพในระดับเดียวกัน และความสามารถเหมือนเครื่องที่อาศัยฮาร์ดแวร์ แต่ผู้ผลิตแซมเพลอร์ที่ใช้ซอฟต์แวร์ จะมีปัญหาข้อจำกัดที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น แซมเพลอร์แบบซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะไม่มีความสามารถตัดต่อ บันทึกแซมเปิล เอฟเฟ็กต์ DSP ชั้นเยี่ยม ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ใช้งานง่ายกว่าแซมเพลอร์ที่เป็นฮาร์ดแวร์มาก แต่ก็ไม่เหมือนกับเครื่องฮาร์ดแวร์ คำว่า "soft-sampler" นั้นความจริงเป็นการเรียกผิดๆ เพราะมีน้อยรายที่จะทำงานเป็นแซมเพลอร์จริงๆ สำหรับคำว่า Soundbank player น่าจะใกล้เคียงกว่า และทำให้เข้าใจผิดน้อยกว่า สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถเชิงสร้างสรรค์ และการทำงานเท่าแซมเพลอร์แท้ให้ได้ ก็สามารถใช้แซมเพลอร์แบบซอฟต์แวร์แท้ ที่มีขายอยู่ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะบันทึกแซมเปิล และแก้ไขแซมเปิล รวมทั้งให้เอฟเฟ็กต์ DSP และยังมีฟังก์ชันอื่นๆ อีกมากมาย

อ้างอิง

แก้