ซัตตันฮู (อังกฤษ: Sutton Hoo) ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวูดบริดจ์ ซัฟฟอล์ก ประเทศอังกฤษ เป็นที่ตั้งของสุสานโบราณจากราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ของแองโกล-แซกซัน สุสานหนึ่งเป็นการฝังศพในเรือที่ไม่ได้รับการแตะต้องมาจนกระทั่งไปพบเข้า และรวมทั้งสิ่งของและงานอันมีค่าทั้งทางศิลปะและทางโบราณคดีเป็นจำนวนมากมาย

ซัตตันฮู
ฟื้นที่ฝังซัตตันฮู
ซัตตันฮูตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ
ซัตตันฮู
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอังกฤษ
แผนที่
ที่ตั้งวูดบริดจ์ ซัฟฟอล์ก ประเทศอังกฤษ
พิกัด52°05′20″N 1°20′17″E / 52.089°N 1.338°E / 52.089; 1.338
ประเภทสุสานสมัยกลางตอนต้นสองแห่ง หนึ่งในนั้นฝังในเรือ
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ผู้ถือกรรมสิทธิ์องค์การอนุรักษ์สถานที่เพื่อประโยชน์ทางประวัติศาสตร์หรือความสวยงามแห่งชาติ

ซัตตันฮูมีความสำคัญต่อนักประวัติศาสตร์ยุคกลางตอนต้นในการให้ความรู้เกี่ยวกับสมัยประวัติศาสตร์ของอังกฤษที่อยู่ในช่วงที่ก้ำกึ่งระหว่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตำนาน และเรื่องปรัมปรา ซัตตันฮูมามีความสำคัญขึ้นในยุคที่ประมุข (เรดวอลด์แห่งอีสต์แองเกลีย) แห่งอีสต์แองเกลียมีอำนาจเหนือบรรดาชนอังกฤษ และมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานของการปกครองโดยผู้นำที่ถือคริสต์ศาสนาในอังกฤษ ซัตตันฮูเป็นหัวใจสำคัญในการทำความเข้าใจราชอาณาจักรอีสต์แองเกลียของแองโกล-แซกซัน และช่วงสมัยในบริบทที่กว้างกว่า

การฝังศพในเรืออาจจะเริ่มทำกันมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 และมาทำการขุดในปี ค.ศ. 1939 ซัตตันฮูเป็นแหล่งโบราณคดีอันเพียบพร้อมและงดงามที่สุดเท่าที่พบมาในสหราชอาณาจักร[1]ทั้งทางด้านขนาดและความสมบูรณ์, ความสัมพันธ์อันกว้างไกล, คุณภาพและความงามของสิ่งที่พบ และความรู้อันลึกซึ้งเกี่ยวกับธรรมเนียมนิยมของการฝังศพในเรือเอง

แม้ว่าการฝังศพในเรือจะเป็นสิ่งที่เรียกร้องความสนใจมากที่สุดจากนักท่องเที่ยว แต่นอกไปจากนั้น ซัตตันฮูก็ยังมีความสำคัญทางด้านความหมายทางประวัติศาสตร์ของทั้งสองสุสาน, ด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เกี่ยวข้องกับปากแม่น้ำดีเบนและทะเลเหนือ และความสัมพันธ์กับที่ตั้งของสถานที่สำคัญในบริเวณข้างเคียง

ภูมินามวิทยา

แก้

Sutton Hoo ได้ชื่อมาจากภาษาอังกฤษเก่า ผ่านการนำ Sut ประสมกับ tun ทำให้มีความหมายว่า "ฟาร์มพร้อมด้วยสิ่งก่อสร้างบนฟาร์มทางใต้" หรือ "ที่ตั้งถิ่นฐาน" และ hoh สื่อถึงเนินที่ "มีรูปร่างเหมือนส้นเดือย"[2][3] คำลงท้ายนี้ปรากฎในเมืองเพียงไม่กี่แห่ง เช่น Plymouth Hoe และ Fingringhoe[4] บันทึกดูมสเดย์บันทึกบริเวณนี้เป็น Hoi/Hou[5]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "AD 700 – Sutton Hoo". Current Archaeology. 2007. สืบค้นเมื่อ 2010-10-03.
  2. "Sutton". Key to English place names. University of Nottingham. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
  3. "Lost Myths of Time: Sutton Hoo". Stanford.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-08. สืบค้นเมื่อ 9 June 2020.
  4. Matthews, Constance Mary (1974). How place names began, and how they develop. Lutterworth Press. ISBN 9780718820060.
  5. "Suffolk F-H". The Domesday Book Online. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Arwidsson, Greta (1934). "A New Scandinavian Form of Helmet from the Vendel-Time". Acta Archaeologica. V: 243–257. ISSN 0065-101X.
  • Care Evans, Angela (1986). The Sutton Hoo Ship Burial (British Museum Press).
  • Carver, Martin, บ.ก. (1992). The Age of Sutton Hoo: The seventh century in north-western Europe. Woodbridge: Boydell Press. ISBN 0-85115-330-5.
  • Carver, Martin (2017). The Sutton Hoo Story: Encounters with Early England. Woodbridge: Boydell Press. ISBN 9781783272044. Includes an account of all the excavation campaigns at Sutton Hoo from 1938 to 1992.
  • Crumlin-Pedersen, Ole & Thye, Birgitte Munch, บ.ก. (1995). The Ship as Symbol in Prehistoric and Medieval Scandinavia: Papers from an International Research Seminar at the Danish National Museum, Copenhagen, 5th–7th May 1994. Publications from the National Museum. Studies in archaeology & history. Vol. 1. Copenhagen: National Museum of Denmark, Department of Archaeology and Early History. ISBN 9788789384016.
  • Engstrom, Robert; Lankton, Scott Michael & Lesher-Engstrom, Audrey (1989). A Modern Replication Based on the Pattern-Welded Sword of Sutton Hoo. Kalamazoo: Medieval Institute Publications, Western Michigan University. ISBN 0-918720-29-X.
  • Fairclough, John & Plunkett, Steven J. (2000). "Drawings of Walton Castle and other monuments in Walton and Felixstowe" (PDF). Proceedings of the Suffolk Institute of Archaeology. Ipswich: Society of Antiquaries of London. XXXIX (4): 419–459.
  • Farrell, Robert T. (1972). Beowulf, Swedes and Geats (PDF). London: Viking Society for Northern Research.  
  • Farrell, Robert T. & Neuman de Vegvar, Carol L., บ.ก. (1992). Sutton Hoo: Fifty Years After. American Early Medieval Studies. Vol. 2. Oxford, Ohio: American Early Medieval Studies, Miami University, Department of Art. ISBN 9781879836013.
  • Green, Charles (1963). Sutton Hoo: The Excavation of a Royal Ship-Burial. New York: Barnes & Novle.
  • Mayr-Harting, Henry (1972). The Coming of Christianity to Anglo-Saxon England. University Park: Pennsylvania State University Press. ISBN 978-0271007694.
  • Leahy, Kevin & Bland, Roger (2009). The Staffordshire Hoard. London: British Museum Press. ISBN 978-0-7141-2328-8.
  • Newton, Sam (2003). The Reckoning of King Rædwald: The Story of the King linked to the Sutton Hoo Ship-Burial. Brightlingsea: Red Bird Publishing. ISBN 9781902626321.
  • Scarfe, Norman (1986). Suffolk in the Middle Ages. Woodbridge: Boydell Press. ISBN 978-1-84383-068-9.
  • Warner, Peter (1996). The Origins of Suffolk. Manchester and New York: Manchester University Press. ISBN 0-7190-3817-0.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้