ช็อนกยุน (เกาหลี전균; ฮันจา田畇; ค.ศ. 1409-1470) เป็นขุนนางขันทีที่เข้ารับใช้ราชสำนักในปลายรัชสมัยของสมัยพระเจ้าแทจงจนถึงสมัยพระเจ้าซองจง ช็อนกยุน หรือ โค[โช?]ช็อนกยุน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1904 ถูกตอนและเข้ามาเป็นขันทีรับใช้ในวังหลวงโดยเป็นขันทีชั้นในซึ่งต้องถูกตอนอย่างหมดจด (ตัดทั้งอัณฑะและองคชาติ) จากนั้นก็กลายเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าเซจงมากเนื่องจากความสามารถเชิงศิลปะที่โดดเด่นโดยเฉพาะการเล่นดนตรีและการระบำพัด จนสามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของกรมขันทีได้ขณะที่อายุยังน้อยและได้รับการยกย่องจากคนรุ่นหลังว่าเป็นมหาขันทีที่มีเกียรติและสูงส่งที่สุดนับตั้งแต่เคยมีมาในประวัติศาสตร์เกาหลี

หลังแผ่นดินพระเจ้าเซจง ช็อนกยุนก็ยังได้ถวายงานพระเจ้ามุนจงและพระเจ้าทันจงด้วย ในปลายรัชและสมัยของพระเจ้าดันจงนี้เกิดการชิงอำนาจอย่างใหญ่จนจอนคยูนได้รับผลกระทบรุนแรงถึงขั้นหลุดจากตำแหน่งเจ้ากรม จากการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างขุนนางกับเชื้อพระวงศ์หลายฝ่าย ในที่สุดฝ่ายขององค์ชายซูยางชนะจึงบังคับให้พระเจ้าดันจงสละราชสมบัติและขึ้นเป็นพระราชาองค์ใหม่นามว่าพระเจ้าเซโจ ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 1999 จอนคยอนได้รู้แผนการขบถของกลุ่มขุนนางที่เป็นศัตรูทางการเมือง จึงทำทีเข้าร่วมขบวนการก่อนจะเปิดโปงแผนการทั้งหมดในปีพ.ศ. 2000 ทำให้มีความดีความชอบมากจนกลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าเซโจและได้กลับคืนสู่ตำแหน่งเจ้ากรมแผนกขันทีอีกครั้ง เนื่องจากพระเจ้าเซโจได้ลดฐานะของขุนนางที่มีอำนาจให้เป็นแค่พนักงานของรัฐที่ไม่มีสิทธิต้านนโยบายของพระองค์ ทำให้จอนคยอนและแผนกขันทีที่ขึ้นตรงต่อพระราชายิ่งมีอำนาจมากขึ้นไปอีก พระเจ้าเซโจยังโปรดให้จอนคยอนทำการปฏิรูประบบการทำงานของกรมขันทีให้สอดคล้องกับการแนวทางการบริหารราชกิจของพระองค์ใหม่โดยมีคิม ซอ-ซ็อนซึ่งเป็นลูกบุญธรรมเป็นหัวแรงสำคัญ ในที่สุดก็สามารถควบคุมอำนาจได้ทั้งหมดในปี ค.ศ. 1458

ในปี ค.ศ. 1458 พระเจ้าเซโจสวรรคต และพระเจ้าเยจงได้ราชสมบัติ ในยุคนี้พระเจ้าเยจงพยายามเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองใหม่และกวาดล้างเหล่าผู้มีอิทธิพลในวังแม้พระมารดาจะว่าราชการแผ่นดินอยู่หลังม่าน โดยมียูจากวางเป็นกำลังสำคัญ พระองค์ได้ห้ามการติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นและยังประหารองค์ชายนัมอัยที่เป็นโอรสในพระพี่นางของพระองค์ แล้วจากนั้นก็ทรงพยายามบีบคั้นจอนคยอนในทุกๆ ด้าน รวมถึงการโปรดให้มีพระบัญชาห้ามขันทีแต่งงานทำให้จอนคยอนนำเหล่าขันทีซึ่งทนการกดขี่ไม่ไหวออกมาการประท้วงหน้าพระตำหนัก ทำให้พระเจ้าเยจงยอมถอนรับสั่งคืน แต่จอนคยูนก็ถูกทรมานสาหัสและปลดจากตำแหน่ง แต่กระนั้นจอนคยูนก็ยังมีกิจกรรมทางการเมืองอยู่จนถูกเพ่งเล็งและลงพระอาญาหลายครั้ง ต่อมาพระเจ้าเยจงก็ประชวรหนักและสวรรคตหลังจากครองราชย์ได้เพียง 14 เดือน ทำให้เกิดความวุ่นวายในราชสำนัก จอนคยูนสนับสนุนราชโอรสลำดับที่สองของอดีตรัชทายาทอึยกยองคือ องค์ชายชาซาน ให้ขึ้นเป็นพระเจ้าซองจงและจัดแจงให้พระองค์ได้อภิเษกกับธิดาของฮันมย็องฮี (ใต้เท้าซังตัง) ได้สำเร็จทำให้จอนคยูนมีความดีความชอบมากจนได้กลับมาสู่ตำแหน่งเดิมอีกครั้ง และพระเจ้าซองจงก็ยังโปรดให้จอนคยูนถวายลูกสาวบุญธรรม (ยุนโซฮวา) ให้เข้าวังมาเป็นพระสนม ทำให้จอนคยอนกลับมามีอำนาจในราชสำนักอีกครั้ง แต่ช็อนกยุนมักเจ็บป่วยออดๆ แอดๆ อยู่ตลอดเวลา เนื่องมาจากความบอบช้ำที่สะสมตลอดสมัยพระเจ้าเยจงจนในปี ค.ศ. 1470 ช็อนกยุนก็เสียชีวิตลงทั้งๆ ที่ถวายงานพระเจ้าซ็องจงได้เพียงปีเดียว นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของกรมขันทีและราชสำนัก

ช็อนกยุนนั้นไม่มีร่างกายให้ฝังตามความเชื่อของลัทธิขงเจื้อแต่ถูกเผาศพให้เป็นเถ้าและโปรยให้ฟุ้งกระจายในอากาศ (เชื่อว่าเพราะเปลี่ยนไปนับถือพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเซโจ หรืออาจจะนับถือพุทธศาสนามานแล้ว) แต่ก็มีสุสานของจอนคยูนอยู่ที่เกาหลี และมีการสลักเขาหินให้เป็นรูปขันทีในชุดเต็มยศเพื่อแทนร่างกายที่สูญสลายไป

เกร็ด แก้

นอกจากนี้ คำว่า "จอนคยอน" ยังเป็นชื่อเมืองๆ หนึ่งในแถบเกาหลีเหนือ จึงทำให้นักประวัศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า จอนคยอน อาจจะเป็นนามพระราชทาน หรืออาจจะเป็นชื่อที่พระราชาโปรดให้จารึกในประวัติศาสตร์เท่านั้น โดยได้ชื่อนี้มาเพราะมหาขันทีที่ยิ่งใหญ่ผู้นี้อาจจะมีพื้นเพเป็นคนที่จอนคยอน และเมื่อช่อง SBS ของเกาหลีใต้ได้นำเรื่อง The King and I (บันทึกรักของคิมชูซอน สุภาพบุรุษมหาขันที) ออกอากาศก็ทำให้มีคนไม่น้อยเชื่อว่าชื่อจริงๆของจอนคยอนก็คือ โชชิคย็อม (조치겸; 趙致兼) ตามที่ผู้กำกับได้นำเสนอ เพราะผู้กำกับเองก็ได้คำการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์มามากเหมือนกัน และอีกส่วนหนึ่งเพราะในจดหมายเหตุและบันทึกร่วมสมัยได้ระบุถึงจอนคยอนโดยเรียกจอนคยอนว่า "โชชังซ็อน" (คำว่าซังซ็อน (相鮮) เป็นคำที่ใช้เรียกขันทีสูงอายุ เหมือนกับคำว่า "กงกง" ในภาษาจีน) ซึ่งแปลว่าขันทีผู้นี้แซ่ "โช" และบันทึกบางเล่มเรียกท่านว่า "ชิเม"

สำหรับเหตุผลที่จอนคยอนเสียชีวิตนั้นก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันพอสมควร บ้างก็ว่าเป็นผลจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง เพราะถูกทรมานในสมัยพระเจ้าเยจง แต่บ้างก็เห็นว่าถ้าเป็นดังข้อสัญนิฐานแรก จอนคยอนก็ไม่น่าจะยังทำงานในวัง และในต้นสัยพระเจ้าซองจงมีการเนรเทศหมู่ขุนนางที่มีความผิดฐานขบถซึ่งเกิดขึ้นหลังการเสียชีวิตของจอนคยอนไม่กี่วัน จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าจอนคยอนเสียชีวิตเพราะเกี่ยวพันธ์กับเรื่องนี้

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การเสียชีวิตของจอนคยอนได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากแก่ราชสำนัก และยังเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้ากรมมหาดเล็ก คงเหลือไว้แต่เพียงตำแหน่ง "หัวหน้ามหาดเล็กสูงสุด" ที่ทำหน้าที่ดูถวายงานใกล้ชิดพระราชาที่ไม่มีสิทธิและอิทธิพลในการสั่งการทหารคนใดในวัง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้