สมเด็จพระจักรพรรดินีฉืออี้ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง หรือ ฉืออี้หวงไท่โฮ่ว (จีน: 慈懿皇太后; พินอิน: Cí yì huáng tàihòu; ค.ศ. 1426 - 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1468) ทรงพระราชสมภพในตระกูลเฉียน เป็นจักรพรรดินีในจักรพรรดิหมิงอิงจง

ฉืออี้ไทเฮา
สมเด็จพระจักรพรรดินี พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
มหาจักรวรรดิหมิง
{{{alt}}}
ฮองไทเฮา
ดำรงพระยศมีนาคมปี รัชศกเทียนซุ่นปีที่ 8 (ค.ศ. 1464) – 26 มิถุนายน รัชศกเฉิงฮว่าปีที่ 4 (ค.ศ. 1468)
ก่อนหน้าสมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวกงจาง พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เซี่ยวอี้ฮองไทเฮา
ฮองเฮาสมัยที่ 2
ดำรงพระยศค.ศ. 1457 - 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1435
ก่อนหน้าจักรพรรดินีซู้เซี่ยว
ถัดไปจักรพรรดินีหวู่
ไท่ซ่างฮองเฮา
สมเด็จพระจักรพรรดินี พระเจ้านางหลวง
ดำรงพระยศค.ศ. 1449 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1457
ก่อนหน้าพระองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิง
ฮองเฮา
ดำรงพระยศ19 พฤษภาคม รัชศกเจิ้งถงปีที่ 7 (ค.ศ. 1442) – 22 กันยายน ค.ศ. 1449
ก่อนหน้าซ่างเซิ่งไทเฮา
ถัดไปหวังฮองเฮา
ข้อมูลส่วนบุคคล
ลำดับพระยศ皇后 →太上皇后 →皇后 (สมัยที่ 2)→皇太后
ฐานันดรศักดิ์ฮองไทเฮา
สถานะการสมรสพระภรรยาเจ้า
พระราชสมภพค.ศ. 1426
สวรรคต26 มิถุนายน รัชศกเฉิงฮว่าปีที่ 4 (42 พรรษา)
(15 กรกฎาคม ค.ศ. 1468)
พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง
มหาจักรวรรดิหมิง
ฝังพระบรมศพสุสานหลวงหมิงยู่วหลิง
พระนามทั้งหมด
พระนามาภิไธย
ฉืออี้หวงไท่โฮ่ว (慈懿皇太后)
พระสมัญญานาม
แบบสั้น:
เซี่ยวจวงรุ่ยหวงโฮ่ว
(孝莊睿皇后)
แบบยาว:
เซี่ยวจวงเสี้ยนมู่หงฮุ่ยเสียนเรินกงเทียนชินเชิ่งรุ่ยหวงโฮ่ว
(孝莊獻穆弘惠顯仁恭天欽聖睿皇后)
พระราชสวามีอิงจงรุ่ยหวงตี้จู ฉีเจิ้น
พระราชชนกเฉียน กุ้ย
พระราชชนนีท่านหญิงเฉิน
พระราชบุตรไม่มี
ราชวงศ์ราชวงศ์หมิงโดยการสมรส
ตระกูลเฉียน

พระบรมราชประวัติ แก้

ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับพระนามเดิมของฉืออี้ไทเฮา ในพงศวดารบันทึกว่าฉืออี้ไทเฮา เสด็จพระราชสมภพในตระกูลเฉียน (錢) มีพระอัยกานามว่า เฉียนเจิ้ง (錢整) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก เฉียนหลิว (錢鏐) หรือ พระเจ้าอู่ซู่ (武肅王) ปฐมกษัตริย์แห่งรัฐอู๋เยฺว่ (吳越國)[1]

ฉืออี้ไทเฮาทรงได้รับความโปรดปรานจากจางไท่หวงไท่โฮ่วเป็นอย่างมาก ใน 19 พฤษภาคม รัชศกเจิ้งถงปีที่ 7 (ค.ศ. 1442) ฉืออี้ไทเฮาเมื่อเจริญพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็นจักรพรรดินีในจักรพรรดิหมิงอิงจง[2] พระราชพิธีบรมจักรพรรดิยาภิเษกสมรสของฉื่ออี้ไทเฮา มีจางไท่หวงไท่โฮ่วเป็นผู้ดูแลงานพระราชพิธีบรมจักรพรรดิยาภิเษกสมรส เพื่อให้เป็นไปตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี ยิ่งใหญาสมพระเกียรติยศที่สุด อีกทั้งยังเป็นพระราชพิธีบรมจักรพรรดิยาภิเษกสมรสครั้งแรกของจักรพรรดิในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์หมิง และเป็นพระราชพิธีสำคัญครั้งสุดท้ายที่จางไท่หวงไท่โฮ่วได้เป็นผู้ดูแล ก่อนจะเสด็จสวรรคตภายหลังจากจัดงานพระราชพิธีบรมจักรพรรดิยาภิเษกสมรสได้เพียงห้าเดือนเท่านั่น

ไท่ซางหวงโฮ่ว แก้

ในรัชศกเจิ้งถงปีที่ 14 (ค.ศ. 1449) จักรพรรดิหมิงอิงจงถูกจับเป็นเฉลยในยุทธการถูมู่[3] ชาวเผ่ามองโกลเรียกค่าไถ่ เมื่อพระนางทราบข่าวก็ทรงนำทรัพย์สมบัติส่วนตัวทั้งหมดออกมาเพื่อที่จะนำไปไถ่ตัวพระบรมราชสวามีคืนแต่ก็ล้มเหลว

ฉืออี้ไทเฮาพระชนมายุ 23 พรรษา ทรงพระกันแสงทั้งวันทั้งคืน พระนางคุกเข่าสวดอ้อนวอนตลอดทั้งวันทั้งคืนเพื่อวิงวอนขอให้พระบรมราชสวามีปลอดภัย นอกเหนือจากการระดมทองคำ และเงินกับซางเซิ่งไทเฮาเพื่อไถ่ตัวจักรพรรดิหมิงอิงจงแล้ว ชีวิตประจำวันของฉืออี้ไทเฮายังคงคุกเข่าสวดภาวนาอีกด้วย

ฉืออี้ไทเฮาทรงพระกันแสงอย่างหนัก สวดภาวนาเช่นนี้ทุกวันทั้งคืน และไม่ว่าพระนางจะง่วงหรือเหนื่อยเพียงใด พระนางก็ปฏิเสธที่จะเข้าบรรทมเพื่อพักผ่อน การกระทำเช่นนี้อย่างหนัก เสวยแต่พระกระยาหารที่ไม่ดี พื้นห้องที่เย็น และอากาศหนาวเย็นรุนแรงที่ได้เข้ามาปกคลุมร่างกายของพระนางเป็นเวลานาน ส่งผลให้ขาข้างหนึ่งของพระนางพิการไม่สามารถเดินได้อย่างคนปกติ การร้องไห้ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืนก็ทำให้พระเนตรข้างหนึ่งของฉืออี้ไทเฮาบอดลง ถึงกระนั่นฉืออี้ไทเฮาก็ทรงไม่ใส่ใจในความพิการนี้ และปฏิเสธการรักษา ฉืออี้ไทเฮาเชื่อว่านี่คือสิ่งที่พระเจ้าต้องการแลกเปลี่ยนเพื่อให้พระบรมราชสวามีกลับมาปลอดภัย[4]

ในวันที่ 6 เดือนกันยายน ราชสำนักหมิงจึงได้ทูลเชิญจู ฉี-อฺวี้ (朱祁鈺) พระราชอนุชา ขึ้นสืบราชสมบัติ ใช้พระนามรัชศกว่า "จิ่งไท่" (景泰) ได้สถาปนาพระเกียรติยศเฉลิมพระปรมาภิไธยจักรพรรดิหมิงอิงจงเป็น ไท่ซ่างหวงตี้ (太上皇帝) และฉืออี้ไทเฮาเป็น ไท่ซ่างหวงโฮ่ว (太上皇后) ต่อมาได้สถาปนาเชิ่งหวางเฟย (郕王妃 "พระราชเทวีเชิ่ง") เป็นฮองเฮา และฉืออี้ไทเฮาย้ายไปที่พระราชวังเหรินโซ่ว (仁寿宫)[5]

ในวันที่ 15 สิงหาคม รัชศกจิ่งไท่ปีที่ 1 (ค.ศ. 1450) จักรพรรดิหมิงอิงจงถูกชาวมองโกลส่งตัวคืนราชวงศ์หมิง ได้เสด็จกลับเมืองหลวงในที่สุด ทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากจักรพรรดิจิ่งไท่ ตามแผนจักรพรรดิหมิงอิงจงในฐานะไท่ซ่างหวงตี้ควรอยู่ในพระราชวังเหรินโซ่ว จักรพรรดิจิ่งไท่นำไท่ซ่างหวงตี้ไปกักขังไว้ที่น่านกง (南宫)

เมื่อจักรพรรดิหมิงอิงจงได้พบกับฉืออี้ไทเฮา ที่ตอนนี้กลายเป็นเพียงหญิงพิการที่ร่างกายทรุดโทรม ไม่ใช่ผู้หญิงทรงเสน่ห์ ที่มีดวงตาอันสดใสอีกต่อไปแล้ว ในไม่ช้าจักรพรรดิหมิงอิงจงก็รู้สาเหตุความพิการของฉืออี้ไทเฮา ทำให้จักรพรรดิหมิงอิงจงสัมผัสได้ถึงความรักของฉืออี้ไทเฮาในฐานะคู่ครองที่มีต่อพระองค์แม้จะไม่ชอบความพิการของฉืออี้ไทเฮา แต่จักรพรรดิหมิงอิงจงเข้าใจความหมายอย่างแท้จริงของการกระทำนี้ จักรพรรดิหมิงอิงจงมีความรักอย่างลึกซึ้ง ทรงนับถือว่าฉืออี้ไทเฮาเป็นสมบัติล้ำค่าที่สุดของพระองค์

ชีวิตในน่านกงดำเนินไป ขณะที่จักรพรรดิหมิงอิงจงกำลังสนุกสนานสำราญอยู่กับเหล่าพระมเหสีพระนางสนม ฉืออี้ไทเฮาลากร่างที่พิการ ทำงานอย่างหนัก เช่น การทำงานฝีมือเพื่อค้าขายหาเงินดูแลจักรพรรดิหมิงอิงจงให้ได้เสวยแต่อาหารดีๆ[6]

แม้ว่าจักรพรรดิหมิงอิงจงจะไม่มีความสามารถมากนัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพระองค์ทรงยึดในหลักจารีต หลักจริยธรรม อย่างการเคารพฉืออี้ไทเฮาในฐานะคู่ครองของพระองค์

จักรพรรดินีครั้งที่ 2 แก้

ในเช้าตรู่วันที่ 17 เดือนแรกของรัชศกจิ่งไท่ปีที่ 8 (ค.ศ. 1457) จักรพรรดิหมิงอิงจงได้ก่อการฟื้นฟูพระราชอำนาจกลับขึ้นครองราชย์บัลลังก์ เริ่มรัชศกเทียนซุ่น[7]

โจวกุ้ยเฟย (周贵妃) เห็นว่าฉืออี้ไทเฮาทรงทุพพลภาพ และไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้ โจวกุ้ยเฟยหวังจะใช้โอกาสนี้ขึ้นเป็นฮองเฮา[8]

ในไม่ช้าขันทีเจียง เหมียน (蒋冕) ทราบถึงความต้องการของโจวกุ้ยเฟย จึงได้ทูลต่อซางเซิ่งไทเฮาว่า เฉียนฮองเฮาทรงทุพพลภาพ อีกทั้งไม่มีพระราชโอรสธิดา แต่โจวกุ้ยเฟยมีพระราชโอรส สมควรได้เป็นฮองเฮา ซางเซิ่งไทเฮาเห็นด้วยกับความคิดของเจียง เหมียน เมื่อจักรพรรดิหมิงอิงจงทราบข่าว พระองค์ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ จึงตำหนิและลงโทษเจียง เหมียนด้วยความโกรธ โจวกุ้ยเฟยไม่คิดเลยว่าจักรพรรดิหมิงอิงจงไม่สามารถละทิ้งฉื่ออี้ไทเฮาได้ แม้จะกลายเป็นคนพิการไปแล้วก็ตาม จึงต้องยอมให้ฉื่ออี้ไทเฮาได้เป็นฮองเฮาต่อไป

ภายใต้การคุ้มครองของจักรพรรดิหมิงอิงจง ฉืออี้ไทเฮาเริ่มต้นชีวิตในฐานะฮองเฮาอีกครั้งหนึ่ง

ในเดือนกันยายน รัชศกเทียนซุ่นปีที่ 6 (ค.ศ. 1462) ซางเซิ่งไทเฮาสวรรคต พระนางฉืออี้ไทเฮาได้ขอให้จักรพรรดิหมิงอิงจงคืนตำแหน่งฮองเฮาแก่หู๋ฮองเฮา[9]

ฮองไทเฮา แก้

ก่อนที่จักรพรรดิหมิงอิงจงจะสวรรคตได้สั่งเสียหวงไท่จื่อจู เจี้ยนเซิน ไว้ว่าจะต้องกตัญญูต่อเฉียนฮองเฮา และพระบรมราชอิสริยยศของเฉียนฮองเฮาถูกกำหนดไว้แล้ว แต่พระองค์ก็ยังคงรู้สึกไม่สบายพระทัย เพราะรู้ดีว่ายังไงลูกก็ต้องเชื่อฟังแม่ จึงได้สั่งเสียกับหลี่เสียน (李贤) ไว้ว่าในอนาคตเฉียนฮองเฮาจะต้องถูกฝังไว้กับพระองค์ภายในสุสานหลวง เมื่อพระราชประสงค์เป็นเช่นนี้ หลี่เซี่ยนจึงเพิ่มประโยคนี้ในพระบรมราชโองการ

เมื่อหวงไท่จื่อจูเจี้ยนเซิน ขึ้นครองราชบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิ[10]) ได้มีการหารือเกี่ยวกับการสถาปนาฮองไทเฮา ตามหลักจักรพรรดินีในรัชกาลก่อนนั่นคือฉืออี้ไทเฮาจะต้องได้เป็นฮองไทเฮา

โจวกุ้ยเฟยได้ส่ง เซี่ยสือ (夏时) ขันทีไปที่ประชุนของเหล่าขุนนางเพื่อประกาศพระเสาวนีย์ว่า "เฉียนฮองเฮาทรงทุพพลภาพ อีกทั้งยังไม่มีพระราชโอรสธิดา จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะถูกเรียกว่าฮองไทเฮา โจวกุ้ยเฟยในฐานะพระราชมารดาของจักรพรรดิ ควรได้เป็นฮองไทเฮา และเฉียนฮองเฮาสมควรถูกปลดไปตั้งนานแล้ว ตามแบบอย่างของหูฮองเฮาในอตีด

เมื่อกล่าวจบ หลี่เสียนในฐานะอุปราช ไม่เห็นด้วยกับความคิดของโจวกุ้ยเฟยอย่างแข็งขัน หลี่เซี่ยนกล่าวว่า "พระบรมราชโองการของจักรพรรดิผู้ล่วงลับได้รับการสรุปแล้ว จะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร" เมื่อกล่าวจบมหาอำมาตย์เผิงสือ (大学士彭时) แสดงท่าทีเห็นด้วยกับหลี่เสียน ด้วยการกล่าวว่า "บรรพบุรุษทุกชั่วอายุคน เทพเจ้าฟ้าดินเป็นพยานอยู่เหนือเรา ในเมื่อจักรพรรดิปกครองราษฎรด้วยหลักกตัญญู พระองค์จะเคารพมารดาผู้ให้กำเนิด แต่ไม่เคารพมารดาตามกฎหมายได้อย่างไร" เมื่อกล่าวจบขุนนางทั้งหลายต่างเห็นด้วย โจวกุ้ยเฟยจึงไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากยอมรับความจริงว่าจักรพรรดินีเฉียนจะต้องเป็นฮองไทเฮา

เดือนมีนาคมปี รัชศกเทียนซุ่นปีที่ 8 (ค.ศ. 1464) สองเดือนหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิหมิงอิงจง เฉียนฮองเฮาได้รับการสถาปนาเป็นฮองไทเฮา เฉลิมพระนามาภิไธยว่า ฉืออี้ไทเฮา และโจวกุ้ยเฟยได้เป็นฮองไทเฮา

การสวรรคต แก้

วันที่ 26 มิถุนายน รัชศกเฉิงฮว่าปีที่ 4 (ค.ศ. 1468) ฉืออี้ไทเฮาเสด็จสวรรคตด้วยพระอาการประชวร สิริพระชนมายุ 42 ตามพระบรมราชโองการของจักรพรรดิหมิงอิงจง ฉืออี้ไทเฮาจะต้องฝังพระบรมศพไว้ในสุสานหลวงร่วมกับพระองค์ แต่โจวไทเฮาต่อต้านการฝังพระบรมศพฉืออี้ไทเฮาไว้ในสุสานหลวง และขอให้จักรพรรดิเฉิงฮว่าเลือกสุสานอื่นเพื่อฝังพระบรมศพของฉืออี้ไทเฮา

จักรพรรดิเฉิงฮว่าเรียกประชุมเหล่าขุนนาง มหาอำมาตย์เผิงสือรู้ดีว่าจักรพรรดิต้องการจะกล่าวอะไร จึงกล่าวขึ้นว่า "ฉืออี้ไทเฮา และจักรพรรดิผู้ล่วงลับจะต้องฝังพระบรมศพร่วมกันในสุสานหลวง นี่เป็นพระบรมราชโองการของจักรพรรดิผู้ล่วงลับ มีสิ่งใดจะต้องหารืออีก" จักรพรรดิเฉิงฮว่าได้กลับไปครุ่นคิดอย่างหนักตลอดทั้งคืน เพราะไม่สามารถขัดพระบรมราชโองการของพระชนกนาถตามหลักกตัญญูได้

ในวันต่อมาเมื่อจักรพรรดิเฉิงฮว่าเรียกประชุมเหล่าขุนนางอีกครั้ง และมหาอำมาตย์เผิงสือก็ขัดขวางโดยการกล่าวเช่นเดิมกับการประชุมในครั้งก่อน จักรพรรดิเฉิงฮว่ารู้สึกไม่พอพระทัย สิ่งที่พระองค์ครุ่นคิดมาตลอดทั้งคืนพังทลายลง จักรพรรดิเฉิงฮว่าจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแค่กังวลว่าถ้าฉืออี้ไทเฮาถูกฝังในสุสานหลวงแล้ว พระมารดาของเราก็จะไม่สามารถฝังในสุสานหลวงได้"

มหาอำมาตย์เผิงสือรู้สึกโล่งใจเมื่อเห็นว่า จักรพรรดิเฉิงฮว่าทรงถือหลักกตัญญูต่อพระราชมารดาทั้งสอง ถึงอย่างไรก็มีขุนนานชื่อว่าหลิวติ้งจือ (刘定之) กล่าวว่า "ความกตัญญูจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานจริยธรรม" เมื่อจักรพรรดิเฉิงฮว่าได้ยินก็รู้สึกเสียหน้า จึงกล่าวขึ้นว่า "ถ้าไม่เชื่อฟังมารดาผู้ให้กำเนิด แล้วยังจะถือว่าเป็นบุตรผู้กตัญญูได้อีกหรือ"

เมื่อจักรพรรดิเฉิงฮว่ากล่าวจบ มหาอำมาตย์เผิงสือก็นึกถึงแผนการในอดีตที่ตนกับหลี่เสียนได้เคยวางแผนสร้างที่สำหรับฝังไทเฮาทั้งสองภายในสุสานหลวง ดังนั่นเผิงสือจึงเสนอต่อจักรพรรดิเฉิงฮว่าว่าสามารถฝังฉืออี้ไทเฮาไว้ทางด้านซ้ายของจักรพรรดิผู้ล่วงลับได้ และตำแหน่งทางด้านขวาจะได้รับการสงวนไว้สำหรับโจวไทเฮาในอนาคต

อย่างไรก็ตาม โจวไทเฮาทรงไม่ยอมรับการฝังร่วมกัน ทำให้ข้อเสนอของมหาอำมาตย์เผิงสือ ถูกจักรพรรดิเฉิงฮว่าปัดตกไป ทำให้เหล่าขุนนางต่างไม่พอใจกันเป็นอย่างมาก จึงรวมตัวกันเรียกร้องความยุติธรรมให้กับฉื่ออี้ไทเฮา กดดันให้จักรพรรดิเฉิงฮว่าฝังพระบรมศพฉืออี้ไทเฮาในสุสานหลวง

จากการเรียกร้องของเหล่าขุนนาง ทำให้โจวไทเฮารู้สึกไม่พอพระทัยเป็นอย่างมาก และยังคงมีพระเสาวนีย์อย่างแข็งขันที่จะให้หาสุสานอื่นสำหรับฝังพระบรมศพฉืออี้ไทเฮา แต่เหล่าขุนนางก็ยังคงรวมตัวกันเรียกร้องจนสุดท้ายโจวไทเฮาก็ต้องยอมต่อแรงกดดันมหาศาลนี้

วันที่ 19 กรกฎาคม จักรพรรดิเฉิงฮว่าถวายพระสมัญญานามแด่ฉืออี้ไทเฮาอย่างเป็นทางการว่า "เซี่ยวจวงเสี้ยนมู่หงฮุ่ยเสียนเรินกงเทียนชินเชิ่งรุ่ยหวงโฮ่ว" (孝肃贞顺康懿光烈辅天承圣睿皇后)

วันที่ 15 กันยายน พระบรมศพของฉืออี้ไทเฮาได้รับการฝังในในสุสานหลวงร่วมกับจักรพรรดิหมิงอิงจง

โจวไทเฮาแอบสั่งขันทีให้ขุดอุโมงค์ในสุสานหลวงของฉื่ออี้ไทเฮาไปในทิศทางที่ผิด ไม่เพียงแต่อยู่ห่างจากทิศทางของจักรพรรดิหมิงอิงจง หลายฟุตเท่านั้น แต่อุโมงค์ถูกปิดกั้นไว้ครึ่งทาง ถ้ำหินที่เหลือสำหรับโจวไทเฮาอยู่ตรงข้ามมีอุโมงค์กว้างขวางที่ทอดตรงไปยังสุสานของจักรพรรดิหมิงอิงจง นอกจากนี้ โจวไทเฮาไม่อนุญาตให้ประดิษฐานพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของฉืออี้ไทเฮาไว้ถัดจากจักรพรรดิหมิงอิงจง ในพระที่นั่งเฟิ่งเซียน ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิ และจักรพรรดินีแห่งราชวงศ์หมิง[11]

แหล่งข้อมูล แก้

  • 卷一百十三 列传第一
  • 《英宗睿皇帝实录•卷九十二》正统七年五月三日 中军都督府都督同知臣钱贵奏曰:臣贵伏承嘉命……臣女,臣夫妇所生……臣女今年十六,谨具奏闻。
  • 《宪宗纯皇帝实录•卷五十五》成化四年六月二十六日○甲寅 慈懿皇太后崩

อ้างอิง แก้

  1. 有誤:錢貴非錢氏的哥哥,應為其父親。《明孝宗敬皇帝實錄卷之二十五》:封錦衣衛帶俸都指揮使錢承宗為安昌伯,子孫世襲。承宗高祖通以軍功官至指揮使。曾祖貴以孝莊睿皇后之兄升中軍都督府都督同知。祖鐘及伯祖欽俱隨駕北征死於王事。父雄襲指揮使亦升至都督同知。至是承宗祖母王氏援皇親王源封瑞安伯事例,奏乞加封吏部覆奏故有是命
  2. 务择其父母克修仁义,家法齐肃。女子年十三至十五,容貌端洁,性资纯美,言动恭和,咸中礼度者。有司以礼令其父母亲送赴京,吾将亲阅焉。—《明英宗实录卷七十五》
  3. 宣府总兵杨洪
  4. 英宗北狩,倾中宫赀佐迎驾。夜哀泣吁天,倦即卧地,损一股。以哭泣复损一目。—《明史卷一·列传第一》
  5. 谨上尊圣母皇太后曰上圣皇太后,生母曰皇太后。勉遵辞让之旨,迁皇后居仁寿宫,以俟大兄銮舆之复。进皇太子母周氏为贵妃,示重天下之本。册朕妃汪氏为皇后,以厚大伦之原。—《明英宗实录卷一百八十六·废帝郕戾王附录第四》
  6. 《万历野获编》卷三
  7. 郕王薨,谥曰戾,毁所营寿陵,葬金山,与夭殇诸公主坟相属。帝欲以汪妃殉,以李贤言乃止,以妃唐氏等殉葬。
  8. 朱見深 周氏 皇貴妃 上复辟,太监蒋冕白于皇太后,谓后无子,周贵妃有子,请立周贵妃为后。上怒,立斥之。—《胜朝彤史拾遗记卷二》
  9. 《明史卷一百十三·列传第一》
  10. 《明憲宗實錄》“英宗睿皇帝之长子,母今圣慈仁寿太皇太后,于丁卯十一月二日生。”
  11. 《明孝宗实录》:「弘治十七年三月壬戌朔 圣慈仁寿太皇太后崩 上即日发丧,命礼部具仪以闻,告讣于诸王,颁遗诏于天下曰:予昔获奉事英宗皇帝越既有年不幸龙驭上宾攀号莫逮。宪宗皇帝嗣统之日遂膺尊号备隆孝养,及重罹变故内疚予衷。赖今皇帝孝敬诚笃及皇太后、皇后、皇太子奉养周至,予心甚安,兹寿至七十有五,得复从先皇帝左右于地下,死无憾矣。」