โหนดของวงโคจร

(เปลี่ยนทางจาก จุดโหนดของวงโคจร)

จุดโหนดของวงโคจร (อังกฤษ: orbital node) หมายถึง จุดตัดของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง จุดโหนดปกติจะมีสองจุดเสมอ[1] หากวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกับระนาบอ้างอิง ถือว่า ไม่มีจุดโหนด

ภาพแสดงโหนดของวงโคจรดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ประกอบด้วย โหนดขึ้นหรือราหู และโหนดลงหรือเกตุ

จุดโหนดสองจุดระหว่างวงโคจรของดวงจันทร์ และวงโคจรเสมือนของดวงอาทิตย์ เมื่อโลกเป็นศูนย์กลาง เรียกว่า จุดโหนดขึ้นหรือจุดราหู (ascending node) และจุดโหนดลงหรือจุดเกตุ (descending node) เมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีลองจิจูดปรากฏใกล้เคียงกัน (โหราศาสตร์เรียกว่า กุม) และมีราหูหรือเกตุอยู่ร่วม ก็จะเกิดสุริยุปราคา เมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีลองจิจูดปรากฏอยู่ห่างเป็นระยะเชิงมุมประมาณ 180 องศา (โหราศาสตร์เรียกว่า เล็ง) และมีราหูหรือเกตุอยู่ร่วมด้วย ก็จะเกิดจันทรุปราคา จุดราหูและเกตุจะมีการเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกครบรอบในระยะเวลา 18.5 ปี[1][2] ตำแหน่งของจุดโหนดทั้งสอง ใช้ในการคำนวณหาสุริยุปราคาและจันทรุปราคา

ระนาบอ้างอิงที่นิยมใช้กัน หากเป็นวงโคจรที่มีโลกเป็นศูนย์กลาง จะใช้ระนาบซึ่งผ่าโลกตรงเส้นศูนย์สูตร เป็นระนาบอ้างอิง หากวงโคจรอยู่ตรงเส้นศูนย์สูตรโลก ก็เรียกว่าวงโคจรศูนย์สูตร หากเป็นวงโคจรที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง จะใช้ระนาบซึ่งผ่าดวงอาทิตย์ตรงเส้นศูนย์สูตร[3] ทั้งนี้ หากมีความซับซ้อน จะใช้ระนาบซึ่งตัดผ่านผู้สังเกตและวัตถุท้องฟ้าหลักเป็นเกณฑ์[4]

สัญลักษณ์ของจุดโหนดขึ้น คือ ☊ หรือ ๘ (เลขแปดไทย) ส่วนโหนดลง ใชัสัญลักษณ์ ☋ หรือ ๙ (เลขเก้าไทย) การที่เรียกว่าราหูกับเกตุนั้นในทางตะวันตกสมัยโบราณก็เรียก หัวมังกร และ หางมังกร ซึ่งคล้ายกับตำนานชาติเวรซึ่งว่า พรุะเกตุเกิดจากเท้าของพระราหู[5]: p.141,  [6]: p.245 

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "node". Columbia Encyclopedia (6th ed.). New York: Columbia University Press. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2007. สืบค้นเมื่อ May 17, 2007.
  2. Marcia Rieke. "Introduction: Coordinates, Seasons, Eclipses (lecture notes)". Astronomy 250. University of Arizona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-26. สืบค้นเมื่อ May 17, 2007.
  3. Darling, David. "line of nodes". The Encyclopedia of Astrobiology, Astronomy, and Spaceflight. สืบค้นเมื่อ May 17, 2007.
  4. Tatum, Jeremy B. "Chapter 17". Celestial Mechanics. สืบค้นเมื่อ May 17, 2007.
  5. Survey of Islamic Astronomical Tables, E. S. Kennedy , Transactions of the American Philosophical Society, new series, 46, #2 (1956), pp. 123–177.
  6. Cyclopædia, or, An universal dictionary of arts and sciences เก็บถาวร 2008-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ephraim Chambers, London: Printed for J. and J. Knapton [and 18 others], 1728, vol. 1.