จุนโชอิง

อนุภรรยาของโทกูงาวะ อิเอมิตสึ
(เปลี่ยนทางจาก จุงโชอิง)

จุนโชอิง (順性院; 1622 – 19 กันยายน 1683) เป็นอนุภรรยาของ โทกูงาวะ อิเอมิตสึ โชกุนลำดับที่ 3 ของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นมารดาของโทกูงาวะ สึนาชิเงะ ไดเมียวแห่งแคว้นศักดินาโคฟุคนที่ 3 เป็นย่าของ โทกูงาวะ อิเอโนบุ โชกุนลำดับที่ 6 และเป็นย่าทวดของ โทกูงาวะ อิเอสึงุ โชกุนลำดับที่ 7 มีชื่อจริงว่า นัตสึ พ่อของเธอคือ ยาอิจิโร เป็นชาวเมืองจากเกียวโต[1] หลังจากที่นัตสึลูกสาวของเขาให้กำเนิดบุตรชายของอิเอมิตสึ เขาก็กลายเป็นซามูไร และในตอนแรกเขาเปลี่ยนชื่อเป็น ฮาจิซาเอมง ชิเกอิเอะ โอกาเบะ และต่อมาเป็น ชิเกอิเอะ ฟูจิเอดะ น้องชายของเธอคือมาซาตากะ ฟูจิเอดะ

ประวัติ แก้

เดิมทีนัตสึเป็นสาวใช้ที่ดูแลทากาสึกาซะ ทากาโกะ ภรรยาเอกของโทกูงาวะ อิเอมิตสึ และมีตำแหน่งเป็น 'โกสึเอะ' ได้รับมอบหมายให้ดูแล 'โอยูเด็น' สถานที่ที่โชกุนอาบน้ำ ในโอโอะกุ กระทั่งมีสัมพันธ์กับอิเอมิตสึและตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม ปีที่นัตสึตั้งครรภ์นั้นเป็นปีที่โชคร้ายสำหรับอิเอมิตสึ และอิเอมิตสึก็สั่งให้เท็นจูอิง (เซ็นฮิเมะ) พี่สาวของเขาปกป้องลูกที่ยังไม่เกิดของเขาจากภัยร้าย หลังจากปรึกษากันแล้ว โชกุนอิเอมิตสึตัดสินใจให้เท็นจูอิงเป็นแม่บุญธรรมของนัตสึโกะในที่สุด ในช่วงฤดูร้อน เธอย้ายไปที่ทาเกบาชิ ที่พำนักของเท็นจูอิง และในวันที่ 24 เดือน 5 ปีโชโฮ (28 มิถุนายน ค.ศ. 1644) เธอได้ให้กำเนิดบุตรชายที่ทาเกบาชิ ชื่อในวัยเด็กของเขาคือ นางามัตสึ (ชื่อในวัยเด็กของฮิเดตาดะ ปู่ของเขา) ต่อมาคือโทกูงาวะ สึนาชิเงะ ไดเมียวแห่งแคว้นศักดินาโคฟุ หลังจากที่อิเอมิตสึถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 เดือน 4 ปีเคอัง ที่ 4 (8 มิถุนายน ค.ศ. 1651) นัตสึได้ออกบวชเป็นแม่ชีมีฉายาทางธรรมว่า จุนโชอิง จุนโชอิงถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 29 เดือน 7 ปีเท็นนะ ที่ 3 (19 กันยายน ค.ศ. 1683) ว่ากันว่าเคโชอิงซึ่งเป็นอนุภรรยาอีกคนของอิเอมิตสึมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเธอ[2]

26 ปีหลังจากการเสียชีวิตของจุนโชอิง โชกุนคนที่ห้าคือโทกูงาวะ สึนาโยชิ ถึงแก่อสัญกรรมโดยไม่มีทายาทและอิเอโนบุบุตรชายของโทกูงาวะ สึนาชิเงะก็กลายเป็นโชกุน นอกจากนี้ โทกูงาวะ อิเอสึงุ บุตรชายของอิเอโนบุ และเหลนของ จุนโชอิง ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นโชกุนคนที่ 7 มัตสึไดระ คิโยตาเกะ น้องชายของอิเอโนบุซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายเป็นเจ้าแคว้นศักดินาทาเตบายาชิได้ช่วยเหลืออิเอสึงุหลานชายของเขา

อ้างอิง แก้

  1. 寛政重修諸家譜では弥七郎
  2. 『ビジュアル日本史ヒロイン1000人』174頁