จักรกลสนทนา
จักรกลสนทนา[1] หรือ แชตบอต (อังกฤษ: chatbot, เดิมเรียกว่า chatterbot)[2] คือโปรแกรมประยุกต์, ซอฟต์แวร์ หรือ ส่วนต่อประสานบนเว็บไซต์ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเลียนแบบการสนทนาของมนุษย์ผ่านการโต้ตอบทางข้อความหรือทางเสียงพูด[3][4][5] โดยทั่วไปแล้วจักรกลสนทนาสมัยใหม่จะอยู่ในสถานะออนไลน์และใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ช่วยสร้างที่สามารถต่อบทสนทนากับผู้ใช้รายหนึ่ง ๆ เป็นภาษาธรรมชาติและจำลองพฤติกรรมของมนุษย์ในฐานะคู่สนทนา เทคโนโลยีดังกล่าวมักใช้ประโยชน์จากแง่มุมต่าง ๆ ของการเรียนรู้เชิงลึกและการประมวลภาษาธรรมชาติ แต่จักรกลสนทนาแบบเรียบง่ายนั้นมีมานานหลายทศวรรษแล้ว
ณ พ.ศ. 2565 เขตข้อมูลนี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางเนื่องจากความนิยมของแชตจีพีที (ใช้จีพีที-3 หรือจีพีที-4)[6] ซึ่งโอเพนเอไอเปิดตัวใน พ.ศ. 2565[7] ตามมาด้วยตัวเลือกอื่น เช่น บิงแชตของไมโครซอฟท์ (ใช้จีพีที-4 ของโอเพนเอไอ) และ บาร์ด (เจมินี) ของกูเกิล[8] ตัวอย่างดังกล่าวสะท้อนถึงแนวโน้มในปัจจุบันของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบจำลองภาษาขนาดใหญ่เป็นแบบจำลองรากฐานและได้รับการปรับละเอียดให้เข้ากับภารกิจหรือวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ (เช่น การจำลองการสนทนาของมนุษย์ในกรณีของจักรกลสนทนา) จักรกลสนทนายังอาจได้รับการออกแบบหรือปรับแต่งเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถจัดการกับสถานการณ์เฉพาะเจาะจงหรือแวดวงเนื้อหาเฉพาะทางได้แม่นยำยิ่งขึ้น[9]
สาขาหลักที่มีการใช้งานจักรกลสนทนามายาวนานคือการบริการและการสนับสนุนลูกค้า เช่น ผู้ช่วยเสมือนประเภทต่าง ๆ เป็นต้น[10] บริษัทในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้เริ่มใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิดรุ่นล่าสุดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาขั้นสูงในสาขาดังกล่าว[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2566, หน้า 35.
- ↑ Mauldin, Michael (1994), "ChatterBots, TinyMuds, and the Turing Test: Entering the Loebner Prize Competition", Proceedings of the Eleventh National Conference on Artificial Intelligence, AAAI Press, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2007, สืบค้นเมื่อ 5 March 2008
- ↑ "What is a chatbot?". techtarget.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2010. สืบค้นเมื่อ 30 January 2017.
- ↑ Caldarini, Guendalina; Jaf, Sardar; McGarry, Kenneth (2022). "A Literature Survey of Recent Advances in Chatbots". Information. MDPI. 13 (1): 41. doi:10.3390/info13010041.
- ↑ Adamopoulou, Eleni; Moussiades, Lefteris (2020). "Chatbots: History, technology, and applications". Machine Learning with Applications. 2: 100006. doi:10.1016/j.mlwa.2020.100006.
- ↑ Hu, Krystal (2 February 2023). "ChatGPT sets record for fastest-growing user base - analyst note". Reuters.
- ↑ Hines, Kristi (2023-06-04). "History Of ChatGPT: A Timeline Of The Meteoric Rise Of Generative AI Chatbots". Search Engine Journal (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-17.
- ↑ "ChatGPT vs. Bing vs. Google Bard: Which AI is the Most Helpful?".
- ↑ 9.0 9.1 "GPT-4 takes the world by storm - List of companies that integrated the chatbot". 21 March 2023.
- ↑ "2017 Messenger Bot Landscape, a Public Spreadsheet Gathering 1000+ Messenger Bots". 3 May 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2019. สืบค้นเมื่อ 1 February 2019.