จอมมารดาหม่อมหลวงปริก

จอมมารดาหม่อมหลวงปริก (สกุลเดิม: เจษฎางกูร; พ.ศ. 2383 — พ.ศ. 2460) เป็นพระสนมในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และเป็นพระชนนีในพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายแฝด เจ้านายแฝดคู่ที่สามในราชวงศ์จักรี

จอมมารดาหม่อมหลวงปริก
เกิดพ.ศ. 2383
เสียชีวิตพ.ศ. 2460
คู่สมรสกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
บุตรพระราชวรวงศ์เธอแฝดชาย
บิดามารดาหม่อมราชวงศ์ปิ่น เจษฎางกูร

ประวัติ แก้

จอมมารดาหม่อมหลวงปริก เป็นธิดาของหม่อมราชวงศ์ปิ่น โอรสในหม่อมเจ้าฉัตร พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา เกิดเมื่อพ.ศ. 2383[1]

ต่อมาบิดาได้พาเข้าถวายตัวเป็นหม่อมในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ขณะยังทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ต่อมาเมื่อกรมหมื่นบวรวิไชยชาญได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หม่อมหลวงปริก จึงได้เลื่อนเป็นจอมมารดาหม่อมหลวงปริก[2] จอมมารดาหม่อมหลวงปริกมีพระราชโอรสกับกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ 2 พระองค์คือ

  • พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายแฝด (ประสูติพ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ในปีที่ประสูติ)

ซึ่งเป็นเจ้านายแฝดคู่ที่สามในราชวงศ์จักรี ก่อนหน้าพระองค์ มีเจ้านายแฝดเพียงสามคู่ที่มีพระประสูติกาลก่อนหน้า คือ [3]

  1. พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแฝดชาย-หญิง ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์ และสิ้นพระชนม์ในวันประสูติ เมื่อ พ.ศ. 2353[4]
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแฝดหญิง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหนูจีน และสิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนม์ 6-7 วัน เมื่อ พ.ศ. 2354[5]

และมีพระประสูติกาลต่อมาอีกหนึ่งคู่คือ

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลยและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส ประสูติวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2428[6]

แม้จะไม่มีพระประสูติกาลพระราชโอรสหรือพระราชธิดาอีกแต่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญก็ยังคงโปรดจอมมารดาหม่อมหลวงปริก ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแหวนให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญนำมาพระราชทานพระสนม จอมมารดาหม่อมหลวงปริกก็ได้รับพระราชทานด้วย[7]

หลังจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต จอมมารดาหม่อมหลวงปริกก็ได้กราบบังคงทูลลาออกจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปพำนักยังบ้านบิดา และถึงแก่กรรมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพ.ศ. 2460 สิริอายุ 77 ปี[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ. คำฉันท์เรื่องนางจินตะหรา (พิมพ์แจกในงานศพจอมมารดาปริก ฝ่ายพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่ 5 ปีมเสง พ.ศ. 2460). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2460. 87 หน้า. หน้า 5.
  2. เจ้าจอม - เจ้าจอมมารดา[ลิงก์เสีย]
  3. ธงทอง จันทรางศุในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550. 169 หน้า. ISBN 978-9748-371-443
  4. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 120. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-19.
  5. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 32. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-19.
  6. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 96. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-19.
  7. เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย