จตุราธิปไตย หรือ สมัยสี่จักรพรรดิ (อังกฤษ: Tetrarchy) คำว่า “Tetrarchy” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “การนำโดยผู้นำสี่คน” โดยทั่วไปแล้วหมายถึงรัฐบาลที่แบ่งอำนาจการปกครองระหว่างบุคคลสี่คน แต่มักจะหมายถึงระบบจตุราธิปไตยที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไดโอคลีเชียนในปี ค.ศ. 293 หลังจากที่สมัยวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ยุติลงและความมั่นคงของจักรวรรดิโรมันได้รับการรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้ง ระบบจตุราธิปไตยใช้ในการปกครองจักรวรรดิต่อมาจนถึงราว ค.ศ. 313 เมื่อความขัดแย้งภายในกำจัดผู้อ้างอำนาจต่าง ๆ ออกไปหมดจนเหลือแต่จักรพรรดิคอนแสตนตินที่ 1 ผู้ครองจักรวรรดิโรมันตะวันออก และจักรพรรดิลิซินิอัส ผู้ครองจักรวรรดิโรมันตะวันตก

แผนที่จักรวรรดิโรมันราว ค.ศ. 395 แสดงเขตการปกครองของกองเพรทอเรียนของกอล, อิตาลี, อิลลิคัม และโอเรียน (ตะวันออก) ซึ่งเป็นการแบ่งตามแนวอิทธิพลการปกครองของผู้นำทั้งสี่คน แต่ในปี ค.ศ. 395 เพรทอเรียนแห่งอิลลิคัมทางตะวันตกที่รวมทั้งเซอร์มิอัมก็ถูกผนวกเข้ากับเพรทอเรียนแห่งอิตาลี

อ้างอิง

แก้
  • Barnes, Timothy D. (1984). Constantine and Eusebius. Harvard University Press. ISBN 0-674-16531-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-06-19.
  • Bowman, Alan (2005). The Cambridge Ancient History Volume 12, The Crisis of Empire, AD 193-337. Cambridge University Press. ISBN 0-521-30199-8.
  • Corcoran, Simon (2000). The Empire of the Tetrarchs, Imperial Pronouncements and Government AD 284-324. Oxford University Press. pp. 440 pages. ISBN 0-19-815304-X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-07. สืบค้นเมื่อ 2009-06-19.
  • Rees, Roger (2004). Diocletian and the Tetrarchy. Edinburgh University Press. ISBN 0-7486-1661-6.[ลิงก์เสีย]

ดูเพิ่ม

แก้