งูแมวเซา (คัมภีร์ไบเบิล)

งูแมวเซา (อังกฤษ: fiery flying serpent; ฮีบรู: שָׂרָף מְעוֹפֵף sārāf mə‘ōfēf; กรีก: ἔκγονα αὐτῶν ἐξελεύσονται; ละติน: Absorbens volucrem) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกกล่าวถึงในหนังสืออิสยาห์ในคัมภีร์ฮีบรู

ชาวอิสราเอลถูกงูแมวเซากัด (หนังสือกันดารวิถี บทที่ 21) ภาพพิมพ์จากรวมภาพวาดคัมภีรไบเบิลของฟิลลิป เมดเฮิร์ต (Phillip Medhurst)

คำภาษาฮีบรู saraph ที่แปลได้ว่า "งูแมวเซา" ยังปรากฏที่อื่นในหนังสืออิสยาห์เพื่อสื่อถือเสราฟิม หรือคำรูปเอกพจน์คือเสรัฟ

บันทึกในคัมภีร์ไบเบิล

แก้

หนังสืออิสยาห์

แก้
  • อิสยาห์ 6:2: "เหนือพระองค์มีพวกเสราฟิมยืนอยู่ แต่ละองค์มีปีก 6 ปีก ใช้ 2 ปีกปิดหน้า ใช้ 2 ปีกปิดเท้า และใช้ 2 ปีกบินไป"[1]
  • อิสยาห์ 14:29: "ฟีลิสเตียเอ๋ย พวกเจ้าทั้งหมดอย่าได้เปรมปรีดิ์ไปเลย ว่ากระบองซึ่งตีเจ้านั้นหักเสียแล้ว เพราะงูพิษจะออกมาจากรากเหง้าของงู และผลของมันจะเป็นงูแมวเซา"[2]
  • อิสยาห์ 30:6: "(ครุวาทเรื่องสัตว์ป่าแห่งเนเกบ) ไปตามแผ่นดินแห่งความลำบากและแสนระทม ที่ซึ่งนางสิงโตและสิงโตตัวผู้ออกมา ทั้งงูกะปะ และงูแมวเซา เขาทั้งหลายบรรทุกทรัพย์สมบัติของเขาบนหลังลา และบรรทุกทรัพย์สินของเขาบนโหนกอูฐ ไปยังชนชาติหนึ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเขา"[3]

แหล่งอื่น ๆ

แก้

การอ้างถึง "งูแมวเซา" พบได้อีกหลายที่ในคัมภีร์ฮีบรู

  • เฉลยธรรมบัญญัติ 8:15 : "ผู้ทรงนำท่านมาตลอดถิ่นทุรกันดารใหญ่น่ากลัว ซึ่งมีงูแมวเซาและแมงป่องและดินแห้งแล้งไม่มีน้ำ ผู้ประทานน้ำจากหินแข็งแก่ท่าน"[4]
  • กันดารวิถี 21:6 -8 "(6) และพระยาห์เวห์ทรงส่งพวกงูพิษมาในหมู่ประชาชน งูก็กัดประชาชน และคนอิสราเอลตายเป็นจำนวนมาก (7) และประชาชนมาหาโมเสสกล่าวว่า "เราทำบาปเพราะเราต่อว่าพระยาห์เวห์และต่อว่าท่าน ขอทูลวิงวอนพระยาห์เวห์ให้พระองค์ทรงนำงูไปจากเรา" ดังนั้นโมเสสจึงทูลวิงวอนเพื่อประชาชน (8) และพระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสว่า "จงทำงูพิษตัวหนึ่งติดไว้บนเสา และทุกคนที่ถูกงูกัดมองดูงูนั้น ก็จะมีชีวิตอยู่ได้"[5] สัญลักษณ์นี้คือเนหุชทาน คล้ายกับคทาแอสคลีเพียสของกรีกโบราณ (ซึ่งมักจะสับสนกับคทางูไขว้) และมักถูกอ้างว่าเป็นตัวอย่างของการมีต้นแบบดั้งเดิมเดียวกัน

การระบุตัวตน

แก้
 
Echis coloratus (งูพิษเกล็ดเลื่อย)

ตราประทับของชาวอิสราเอลโบราณมักเลือกใช้สัญลักษณ์ร่วมกับอียิปต์โบราณที่อยู่ใกล้เคียง ด้วยเหตุนี้นักโบราณคดีจึงค้นพบตราประทับจำนวนมากที่แสดงภาพงูเห่ายูเรอุส (uraeus) ที่มี 4 ปีก ประกอบการข้อเท็จจริงที่ว่าภาพงูเห่าเหล่านี้แตกต่างจากสัญลักษณ์ของอียิปต์ทั่วไปที่แสดงภาพเป็นงูที่มีเพียง 2 ปีก และงูเห่าเหล่านี้มีความเชื่อมโยงบางอย่างกับ "งูแมวเซา" ที่กล่าวถึงในหนังสืออิสยาห์ หรือแม้กระทั่งเชื่อมโยงอย่างเจาะจงมากขึ้นกับเสราฟิมซึ่งพบได้ในส่วนอื่นในหนังสืออิสยาห์[6] อย่างไรก็ตาม การระบุตัวตนเช่นนี้ไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

มีการสันนิษฐานเพื่อระบุตัวตนของงูแมวเซาในทางชีววิทยา โรนัลด์ มิลเลตต์ (Ronald Millett) และจอห์น แพรตต์ (John Pratt) ระบุตัวตนของงูแมวเซาว่าเป็น งูพิษเกล็ดเลื่อยอิสราเอล (Israeli saw-scale viper) หรือ งูพิษพรม (carpet viper) (Echis coloratus)[7][8] โดยอาศัยเบาะแสหลายประการจากแหล่งข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร อย่างเช่นที่ว่างูอาศัยในหุบเขาอาราวา ชอบภูมิประเทศที่เป็นหิน และเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง[9] บันทึกของชาวโรมันระบุปี ค.ศ. 22 เกี่ยวกับทะเลทรายแห่งอาระเบียระบุถึงงูพิษเกล็ดเลื่อยโดยบันทึกว่า "ยังมีงูที่มีสีแดงเข้ม ยาวช่วงหนึ่งเท่ากับจากพื้นขึ้นมาถึงเอวของมนุษย์ ผู้ถูกมันกัดจะไม่สามารถรักษาได้"[10] สัตว์อื่น ๆ ที่มีการสันนิษฐานว่าเป็นตัวตนของงูแมวเซา ได้แก่ งูพิษมีเขาทะเลทราย (และสายพันธุ์ใกล้เคียง), งูดำทะเลทรายหรืองูทะเลทรายดำ และ dracunculus medinensis ที่เป็นหนอนตัวกลม[11][12]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อิสยาห์ 6:2 THSV11
  2. อิสยาห์ 14:29 THSV11
  3. อิสยาห์ 30:6 THSV11
  4. เฉลยธรรมบัญญัติ 8:15 THSV11
  5. กันดารวิถี 21:6 -8 THSV11
  6. Berlin, Adele; Brettler, Marc Zvi; and Jewish Publication Society. (2014).The Jewish Study Bible Jewish Publication Society Tanakh translation. New York, New York : Oxford University Press. p. 779. ISBN 9780199978465.
  7. McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, Volume 1. Washington, District of Columbia: Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  8. J. N. Barnes, Serpents & Sand: The Snakes of Dhofar, – select "subjects" then "reptiles" and then "Serpents and sand" article. Entry for "carpet viper." "Carpet viper [saw-scale viper] (Echis carinatus, Echis coloratus, Echis pyramidum) – 76 cm. A very dangerous snake possessing one of the most toxic venoms of all land snakes. Found in rocky places or areas with vegetation around wadis and hillsides, sometimes in large numbers. Although rarely seen, carpet vipers can be aggressive and will strike after loudly rasping their scales together as a warning." apud Millett, Pratt 2000.
  9. Stanley S. Flower, "Notes on recent reptiles and amphibians of Egypt," Proceedings of the Zoological Society of London, 1933. Quote: "In modern times with the miracle of antivenin treatments and hospitalization in countries such as Israel, documented fatalities from Echis coloratus bites are rare. Most snakebite fatalities today occur in remote areas and the saw-scale viper is blamed for many thousands of deaths annually especially in Africa. The most relevant example to this study in the barren Arava valley area of the "fiery serpents" of a documented fatal echis coloratus bite is this account. Three British soldiers were bitten by the same echis coloratus snake in the Arava valley in 1918. All three soldiers died." apud Millett, Pratt 2000.
  10. Ancient History Sourcebook: Ancient Accounts of Arabia, 430 BCE – 550 CE. Strabo: Geography, c. 22 CE. XVI.iv.19.
  11. Alan E. Leviton, Steven C. Anderson, Kraig Adler, and Sherman A. Minton, Handbook to Middle East Amphibians and Reptiles, 1992, pp. 110–114. Quote: "The snakes in the area are the Israeli saw-scale viper, Echis coloratus, desert horned viper and close relatives, Cerastes cerastes, Cerastes vipera, and Pseudocerastes persicus fieldi, and the desert black snake or black desert cobra, Walterinnesia aegyptia." apud Millett, Pratt 2000.
  12. "WHO | Historical background". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2014.