งูเห่าพ่นพิษสยาม

งูเห่าพ่นพิษสยาม (อังกฤษ: Indo-Chinese spitting cobra; ชื่อวิทยาศาสตร์: Naja siamensis) เป็นงูเห่าจำพวกงูเห่าพ่นพิษ กล่าวคือ เป็นงูเห่าที่สามารถพ่นพิษได้ โดยสามารถพ่นพิษได้ไกล 1-2 เมตร เมื่อพ่นน้ำพิษหมดแล้ว สามารถผลิตน้ำพิษได้ในเวลา 10 นาที ก็สามารถพ่นน้ำพิษใหม่ได้ ขณะชูคอแผ่แม่เบี้ยขู่ ก็จะอ้าปากเพื่อเตรียมพ่นพิษใส่ศัตรู จะมีรูของเขี้ยวพิษ อยู่ทางด้านหน้า เพื่อสะดวกในการฉีดพ่นพิษออกไป และถ้าพิษเข้าตา จะไม่ทำให้ตาบอดในทันที ยกเว้นเพียงแต่เราขยี้ตา ถ้าถูกพิษทางผิวหนังที่มีแผล ก็จะทำให้เกิดการอักเสบ แต่ไม่อันตรายมาก เพราะได้รับปริมาณพิษน้อย

งูเห่าพ่นพิษสยาม
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
อันดับ: กิ้งก่าและงู
Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
Serpentes
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า
Elapidae
สกุล: งูเห่า
Naja
Laurenti, 1768
สปีชีส์: Naja siamensis
ชื่อทวินาม
Naja siamensis
Laurenti, 1768
ที่อยู่อาศัยของงูเห่าพ่นพิษสยาม

ลักษณะ

แก้

ลักษณะรูปร่างทั่วไปจะคล้ายคลึงกับงูเห่าไทย (N. kaouthia) แต่มีลำตัวที่สั้นกว่า โดยจะยาวเฉลี่ย2 ถึง - 3เมตร มีความว่องไว นิสัยดุร้าย ดอกจันมักเป็นรูปตัว U หรือเลือนลางในบางตัว สีลำตัวบางตัวอาจมีลายดอกด่างขาว จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า "งูเห่าพ่นพิษด่าง" หรือ "งูเห่าพ่นพิษขี้เรื้อน" เป็นต้น

ถิ่นที่พบ

แก้

งูเห่าชนิดนี้มีการแพร่กระจายพันธ์ในประเทศกัมพูชา, ลาว, ไทย และเวียดนาม

สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้เท่านั้น

อ้างอิง

แก้
  1. Stuart, B.; Thy, N.; Chan-Ard, T.; Nguyen, T.Q.; Bain, R. (2012). "Naja siamensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T177488A1488437. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T177488A1488437.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.