คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู)

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เรือนไม้สักขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองนครแพร่ ขณะนั้น ตั้งอยู่ที่บริเวณประตูชัย ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ เป็นคุ้มของเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา) แต่เป็นที่น่าเสียดายเพราะคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ถูกไฟไหม้ใน พ.ศ. 2513

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์
ไฟล์:คุ้มเจ้าบุรีรัตน์น้อยหนู.jpg
เป็นภาพบริเวณปีกขวาของตัวคุ้ม ถ่ายร่วมกับเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง
ข้อมูลทั่วไป
สถานะถูกรื้อถอน
ประเภทคุ้มเจ้า
สถาปัตยกรรมล้านนาไทยผสมยุโรป
เมืองอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ประเทศประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2443
รื้อถอนพ.ศ. 2513 (ไฟไหม้)
ผู้สร้างเจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา)

ประวัติ

แก้

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ สร้างขึ้นโดยพระยาบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา) ประมาณ พ.ศ. 2443 เพราะเป็นปีที่เจ้าน้อยหนู ได้รับตำแหน่งเป็นพระยาบุรีรัตน์นครแพร่ เป็นเรือนไม้สักขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองนครแพร่ในสมัยนั้น ตามบันทึกรายงานการตรวจราชการของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน์หลังเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่ เพียง 3 เดือน ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะมีในเมืองนครแพร่ เมื่อเทียบกับเมืองอื่นในลาวเฉียง คือที่พักซึ่งบ่งบอกสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ครอบครอง คือบ้านของพระยาบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา) และบ้านของพระไชยสงคราม (นายจอน เตมิยานนท์) ดังนี้


ได้เห็นบ้านพระยาบุรีรัตน์ซึ่งราษฎรเรียกกันว่าเจ้า ดูเป็นเรือนใหญ่โตงามเกินคนอย่างพระยาบุรีจะอยู่ แต่เขาเปนผู้มั่งมีมาก เพราะมีป่าไม้ทำ" แสดงให้เห็นว่าเจ้านายเมืองอื่นในตำแหน่งเจ้าบุรีรัตน์ไม่ได้พักอาศัยอยู่ในคุ้มลักษณะนี้ เนื่องจากสมัยนั้นนิยมมุงหลังคาด้วยหญ้าคา ใบตองตึง หรือไม้เล็กๆ ทำคล้ายกระเบื้องดินขอ..

— พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน์
ผู้ตรวจราชการ


ที่พักของข้าพระพุทธเจ้านั้น เปนบ้านใหญ่โตมาก เปนเรือนไม้กระดาน ไม่ได้ทาสี มีห้องรับแขกใหญ่โตมาก ห้องเขียนหนังสือ ห้องรับพระราชทานเข้า ห้องนอน ห้องอาบน้ำพร้อมบริบูรณ์ดี เปนราคา 18,000 บาท..

— 
พระยาบุรีรัตน์ นครแพร่

จะเห็นว่าเป็นคุ้มที่ใหญ่โตและทันสมัย เพราะในอดีตห้องน้ำของเจ้านาย เพียงแค่นำไม้ไผ่สานหรือผ้ามากั้นบริเวณเรือนชานเท่านั้น และราคา 18,000 บาท มีค่ามาก เทียบกับเจ้าหลวงยืมเงินของหลวงมาใช้ไม่ถึง 10,000 บาท ยังเป็นหนี้แทบล้มละลาย ดังปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์เมืองแพร่ ฉบับ พ.ศ. 2550 โดยอบจ.แพร่

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ถูกไฟไหม้ใน พ.ศ. 2513 เป็นที่น่าเสียดายกับสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าของจังหวัดแพร่

สถาปัตยกรรม

แก้

คุ้มหลังนี้เป็นอาคารแบบไทยผสมยุโรป โดยเป็นเรือนไม้สักทองขนาดใหญ่ 2 ชั้นทรงไทยล้านนาผสมยุโรป มีห้องเสาถึง 15 ห้อง เรือนรูปสี่เหลี่ยม ตรงกลางโล่งเพื่อรับลม ชั้นสอง มีทางเชื่อม (สะพาน) จากฝั่งด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ประดับตกตกแต่งลวดลายด้วยไม้ฉลุที่เรียกว่าลาย“ขนมปังขิง”อยู่ทั่วตัวอาคาร