คุยเรื่องวิกิพีเดีย:แหล่งความรู้สาธารณะ

รู้สึก วิกิพีเดีย:แหล่งความรู้สาธารณะ (1) จะต่างจาก วิกิพีเดีย:แหล่งความรู้ที่เผยแพร่ (2) ตรงที่ 1 นี่เอามาใช้ได้ด้วย ส่วน 2 นี่ อ่านได้ดูได้ แต่เอามาใช้ไม่ได้ (ถ้าไปอ่านแล้วเรียบเรียงใหม่เป็นคำพูดตัวเอง แล้วเอามาเขียนลงวิกิอันนี้โอเค แต่ว่าลอกมาเลยไม่ได้)

น่าจะต้องมีการจัดแบ่งใหม่ดีๆ ให้ชัดเจน

--bact' 14:32, 27 มี.ค. 2005 (UTC)

จริง ๆ ยัง มี แหล่ง ความรู้ ที่ ไม่ สาธารณะ (public domain) แต่ สามารถ เอา มา ใช้ ได้ หรือ เข้า กัน ได้ (compatible), เช่น, thail10n [1] งี้ (GFDL ปะ? ไม่ชัวร์). -- Ans 06:16, 13 พ.ค. 2005 (UTC)

เอ. อ่านแล้วงงๆ .. --ธวัชชัย | พูดคุย 08:00, 12 ตุลาคม 2005 (UTC)



ผมเดาเอาว่า

  • "แหล่งความรู้สาธารณะ" --> เว็บไซต์(หรือหนังสือ) ที่ก็อปและเอามาลงได้เลย ไม่มีปัญหา
  • "แหล่งความรู้ที่เผยแพร่" --> เว็บไซต์ทั่วไปที่มีเนื้อหาเยอะ
  • "ส่วน thail10n" ใช้ลิขสิทธิ์ครีเอทีฟคอมมอนส์ รุ่น by-sa 2.0[2] อาจจะไม่สามารถก๊อปเอามาลงได้

--Manop | พูดคุย 08:09, 12 ตุลาคม 2005 (UTC)

* "แหล่งความรู้สาธารณะ" --> เว็บไซต์(หรือหนังสือ) ที่ก็อปและเอามาลงได้เลย ไม่มีปัญหา

เพื่อความชัดเจน, เอามาลงได้โดยไม่มีปัญหานี่หมายถึงว่าสามารถสามารถเอามาลงโดยใช้ลิขสิทธิ์ gfdl ได้. แต่นอกจากแหล่งความรู้สาธารณะแล้ว, ยังมีแหล่งความรู้ที่เดิมเป็น gfdl อยู่แล้ว, ที่สามารถเอามาลงได้โดยไม่มีปัญหา. --Ans 12:42, 18 ตุลาคม 2005 (UTC)

ผลงานส่วนใหญ่ของ Thai L10n จะออกมาในรูป "คำแปล" คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหานะครับ คือ มันไม่น่าจะมีลิขสิทธิ์ได้นะครับ

อย่าง Thai L10n 'แปล' Folder ว่า โฟลเดอร์ .. แต่ทีนี้จะบอกว่า คำว่า โฟลเดอร์ นี่เป็นลิขสิทธิ์ของกลุ่ม Thai L10n ... มันก็แปลก ๆ รึเปล่า ? คือถ้าเป็นการแปลหนังสือ แปลคู่มือ ทำพจนานุกรม (ชุดของคำแปล+ข้อมูลอื่น ๆ) อันนี้ชัดเจนว่ามันต้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์แน่ แต่ถ้าเป็นแค่คำโดด ๆ นี่ ผมไม่แน่ใจว่ากฏหมายคุ้มครองรึเปล่านะครับ

อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่า, จากประสบการณ์ที่ร่วม'ทำงาน'ในกลุ่ม Thai L10n, ถ้าเกิดมันจะมีลิขสิทธิ์ขึ้นมาจริง ๆ ทางกลุ่ม Thai L10n ก็ยินดีแน่นอนที่จะให้วิกิพีเดีย (และคนอื่น ๆ) นำไปใช้ครับ -- bact' คุย 19:41, 21 มกราคม 2006 (UTC)

จากที่ตรวจสอบเบื้องต้นกับทางคนในเมลลิ่งลิสต์ทีมแปลโอเพ่นทะเล

  • "คำแปล" ของ Thai L10n นั้น (ที่ http://www.opentle.org/ossglossary/ ) ยังไม่ชัดเจนเรื่องสัญญาอนุญาต
  • ส่วนที่ว่าเป็น Creative Commons นั้น เฉพาะหน้าเนื้อหาในวิกิ http://l10n.opentle.org ครับ ไม่รวมถึงคำแปล

-- bact' คุย 19:47, 23 มกราคม 2006 (UTC)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

แก้

เอาข้อความออก "เนื้อหาทั้งหมดเป็น GNU Free Document License (เหมือนวิกิพีเดีย) นำมาใช้ได้ทันที" เนื่องจาก ไม่ใช่ GFDL จากข้อความ

Everyone is permitted to copy ..., but changing it is not allowed.

และ

สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุไว้ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร โดยระบุถึงเว็บไซต์ และ URL มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org


ho, so they really misused the word copyleft :(

will email them to remove/change that word off.

thx -- bact' คุย 10:22, 24 มกราคม 2006 (UTC)


but in this page, http://www.midnightuniv.org/pomo/zzz.html they said

The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] 

but, well, that's also depends on what they think "copyleft" is ... ??? -- bact' คุย 10:37, 24 มกราคม 2006 (UTC)


in this while, i think we may still use some of their great articles, since many of them said they are either "public domain" or "copyleft". for instances, [3] [4] [5] -- bact' คุย 10:55, 24 มกราคม 2006 (UTC)


ดูเพิ่ม copyleft และเป็น GFDL ไม่ได้ เพราะทางเว็บให้ทำซ้ำได้แต่ห้ามดัดแปลง ซึ่งจะเป็น CC - Share-alike ที่ใกล้เคียงสุด

จากที่ดูคร่าว ๆ เนื้อหาในเว็บม.เที่ยงคืนนั้น มาจากหลายที่ และผู้เขียนแต่ละคนก็สามารถระบุเงื่อนไขการเผยแพร่ได้เอง บางส่วนระบุชัดเจนว่าเป็น สาธารณสมบัติ (ที่ให้ลิงก์ไว้) ซึ่งกรณีนี้ วิกิพีเดียสามารถนำมาใช้ได้

และแม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่าเนื้อหาในม.เที่ยงคืนใช้สัญญาอนุญาตแบบไหน แต่ต้องขอแก้ความเข้าใจเกี่ยวกับ GFDL เสียใหม่นะครับ เรื่องที่ว่า "ห้ามดัดแปลง" (ผมเองก็เพิ่งรู้)

จาก en:Copyleft#Art_.E2.80.94_documents

In common with the Creative Commons share-alike licensing system, GNU's Free Documentation License allows authors to apply limitations to certain sections of their work, exempting some parts of their creation from the full copyleft mechanism. In the case of the GFDL, these limitations include the use of invariant sections, which may not be altered by future editors.
These types of partially copyleft licenses can also be used outside the context of art: for GFDL this was even the initial intention, as it was originally created as a device for supporting the documentation of (copylefted) software—the result is however that it can be used for any kind of document.

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะเป็น GFDL ได้ แต่ในทางปฏิบัติอาจจะไม่เหมาะเท่าไหร่ถ้าจะเอามาใส่ในวิกิ ซึ่งทุกคนแก้ได้ (และห้ามไม่ให้แก้เป็นส่วน ๆ ไม่ได้)

ตอนนี้ในเบื้องต้น ทางผู้ดูแลเว็บได้อนุญาตให้ใช้งานเนื้อหาในวิกิพีเดียได้แล้ว แต่ยังรอคำถามเรื่องที่ว่าในให้เผยแพร่ต่อได้แบบ GFDL รึเปล่า http://board.dserver.org/m/midnightuniv/00002367.html

-- bact' คุย 19:15, 24 มกราคม 2006 (UTC)

จาก en:GNU_Free_Documentation_License#Criticisms_of_the_GFDL

Many people and groups, notably the Debian project (based on their Debian Free Software Guidelines), consider the GFDL a non-free license. The reasons for this are that the GFDL allows "invariant" text which cannot be modified or removed, ...

-- bact' คุย 19:18, 24 มกราคม 2006 (UTC)

แหล่งความรู้สาธารณะและแหล่งความรู้ที่เผยแพร่

แก้

(ผู้ใช้:Sharky ได้ช่วยตอบข้อสงสัยหลายอย่างไว้ที่หน้าพูดคุยของผม (คุยกับผู้ใช้:Bact) เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์โดยทั่วไป จึงขอนำมาลงที่นี่ครับ)

ดู คุยเรื่องวิกิพีเดีย:แหล่งความรู้ที่เผยแพร่#แหล่งความรู้สาธารณะและแหล่งความรู้ที่เผยแพร่

กลับไปที่หน้าโครงการ "แหล่งความรู้สาธารณะ"