คุยเรื่องวิกิพีเดีย:แหล่งความรู้ที่เผยแพร่

รู้สึก วิกิพีเดีย:แหล่งความรู้สาธารณะ (1) จะต่างจาก วิกิพีเดีย:แหล่งความรู้ที่เผยแพร่ (2) ตรงที่ 1 นี่เอามาใช้ได้ด้วย ส่วน 2 นี่ อ่านได้ดูได้ แต่เอามาใช้ไม่ได้ (ถ้าไปอ่านแล้วเรียบเรียงใหม่เป็นคำพูดตัวเอง แล้วเอามาเขียนลงวิกิอันนี้โอเค แต่ว่าลอกมาเลยไม่ได้)

น่าจะต้องมีการจัดแบ่งใหม่ดีๆ ให้ชัดเจน

--bact' 14:32, 27 มี.ค. 2005 (UTC)

บ้านฝัน.คอม ผมเคยขออนุญาตไปทาง webmaster แล้วเขาอนุญาตให้นำมาลงด้วยครับ รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 8 …[[ผู้ใช้:Watcharakorn|ผู้ใช้:Watcharakorn/Sign]] 08:22, 12 ตุลาคม 2005 (UTC)

การอนุญาตให้นำมาลงกับอนุญาตภายใต้ GFDL นั้นต่างกันนะครับ. ต้องชัดเจนนิดนึงว่าเขาอนุญาตภายใต้ gfdl นะครับ. --Ans 08:03, 18 ตุลาคม 2005 (UTC)
ดีครับถ้าเอามาลงได้ --Manop | พูดคุย 08:19, 18 ตุลาคม 2005 (UTC)

เกิดอะไรขึ้นกับ http://rdd.mcot.net/bio/ แก้

ประวัติบุคคล โดย สำนักข่าวไทย เกิดอะไรขึ้นเหรอครับ เห็นเข้าไม่ได้นานแล้ว ได้แต่อาศัยเข้าจาก google cache นะนี่ มีใครทราบมั่ง - tikiwiki - ('-' )( '-' )( '-') - 12:47, 19 พฤศจิกายน 2006 (UTC)

แหล่งความรู้สาธารณะและแหล่งความรู้ที่เผยแพร่ แก้

(ผู้ใช้:Sharky ได้ช่วยตอบข้อสงสัยหลายอย่างไว้ที่หน้าพูดคุยของผม (คุยกับผู้ใช้:Bact) เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์โดยทั่วไป จึงขอนำมาลงที่นี่ครับ)


ไม่อยากจะโค้ดตัวบทนัก แต่คงต้องดูตัวบทก่อนครับ

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

มาตรา ๖ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

มาตรา ๗ สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ (๑) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ (๒) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย (๓) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น (๔) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ (๕) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม (๑) ถึง (๔) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

ผมขออธิบายว่า ถ้าไม่เข้ามาตรา ๖ หรือได้รับยกเว้นตามมาตรา ๗ ไม่ต้องขออนุญาต

มาตรา ๑๒ งานใดมีลักษณะเป็นการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มารวบรวมหรือประกอบเข้ากันโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือเป็นการนำเอาข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดซึ่งสามารถอ่านหรือถ่ายทอดได้โดยอาศัยเครื่องกลหรืออุปกรณ์อื่นใดมารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน หากผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันซึ่งงานดังกล่าวขึ้นโดยการคัดเลือกหรือจัดลำดับในลักษณะซึ่งมิได้ลอกเลียนงานของบุคคลอื่น ให้ผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงาน หรือข้อมูลหรือสิ่งอื่นใด ของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกนำมารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน

มาตรา ๑๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้ (๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง (๔) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น (๕) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) หรือ (๓) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้ การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (๕) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ดูตามนี้นะครับหมายความว่าปรกติมันมีลิขสิทธิ์ แต่เจ้าของเขาอนุญาตให้ใช้ได้ ซึ่งจะต่างจากการไม่มีลิขสิทธิ์ และหากว่ามันเคยมีลิขสิทธิ์แล้วสิทธิ์มันหมดอายุไป มันก็จะกลายเป็นสาธารณสมบัติที่ใครๆก็ใช้ได้ครับ ลิขสิทธิ์มีอายุตาม มาตรา ๑๙ ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ว่า ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒ ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย (มีต่ออีกแต่ผมคงไม่โค้ดมาล่ะ)

การที่เจ้าของอนุญาตให้ใช้ หมายความว่า จะต้องขออนุญาตก่อน หรือเอาไปใช้งานเลยก็ได้ โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่เขากำหนด อย่างไรก็ตาม ควรจะต้องอ้างอิงว่าว่าเอามาจากไหนด้วยครับถึงเขาจะอนุญาตให้ใช้ได้ก็ตาม และกรณีอย่างมหาลัยเที่ยงคืน ถือเป็นการอนุญาตภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด แต่เงื่อนไขที่เขากำหนด ก็จะไปขัดต่อมาตรา ๑๒ ไม่ได้ครับ

กรณีของแหล่งความรู้สาธารณะ ผมว่าน่าจะแก้ไขเป็นพวกที่เป็นสาธารณสมบัตินะครับ แล้วอธิบายว่าเป็นแหล่งความรู้ที่เป็นสาธารณสมบัติไม่มีลิขสิทธิ์ ส่วนความรู้ที่เผยแพร่น่าจะเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ตามมาตรา ๑๕ (๕) โดยยังมีข้อจำกัดสิทธิ์

กฎหมายค่อนข้างเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผมคิดว่าน่าจะตีความตามกฎหมายก่อนครับ เพราะเจ้าของเว็บอาจจะใช้ถ้อยคำไม่ตรงเจตนารมณ์ของตัวเองก็ได้ ผมไม่แน่ใจว่าแหล่งความรู้สาธารณะตามที่เขาบอกจะหมายความว่าเขาสละให้เป็นของสาธารณะแล้วแต่หวงกันสิทธิ์บางส่วนไว้ไม่ให้แก้ไขและขอให้อ้างอิงชื่อ (โดยการนี้ ไม่ต้องไปติดต่อขออนุญาตแต่ขอให้อ้างอิง) ส่วนแหล่งความรู้ที่เผยแพร่หมายความว่าเผยแพร่ให้รู้แต่ยังหวงกันอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดโดยจะต้องขอต่อเจ้าตัวก่อนหรือไม่ ซึ่งมันก็จะกำกวมอย่างมากและไม่เป็นไปตามถ้อยคำในกฎหมายด้วย

อีกอย่างที่ต้องระวังคือ ข้อยกเว้นต่างๆในกฎหมายไทยอาจจะแตกต่างกับกฎหมายต่างประเทศครับ Sharky 05:10, 26 มีนาคม 2007 (UTC)

เท่าที่ดูอันที่แก้ใหม่ก็น่าจะรู้เรื่องแล้วนะครับ แต่ลองถามคนอื่นดูว่าเข้าใจตรงกันหรือเปล่า ไม่ใช่เข้าใจกันสองคน..--" และขอเพิ่ม [1] สำหรับใช้ค้นหาหรืออ้างอิงตัวราชกิจจานุเบกษา และ [2] ใช้ค้นตัวกฎหมายฉบับอัปเดตได้ครับ (ถ้าคิดจะดู)

ผมขอสรุปอีกทีละกันครับ

งานที่ตกเป็นสาธารณสมบัติ ได้แก่งานที่หมดอายุการคุ้มครองแล้ว หรืองานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอายุการคุ้มครองของแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน และการใช้ลิขสิทธิ์ของแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน แม้จะตกอยู่ใต้สนธิสัญญากรุงเบิร์นเช่นเดียวกัน เพราะมีข้อสงวนแตกต่างกัน แต่แม้จะตกเป็นสาธารณสมบัติแล้ว ก็ควรจะบอกที่มาด้วย

งานที่อนุญาตให้เผยแพร่ ไม่ได้หมายความว่าจะตกเป็นสาธารณสมบัติแล้ว ขอให้ดูเงื่อนไขตามที่เจ้าของสิทธิ์กำหนดไว้ และการนำมาเผยแพร่ต่อต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด

การนำมาอ้างอิงหรือการเขียนบทความขึ้นใหม่ จะละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ เป็นไปตามข้อยกเว้นที่กฎหมายกำหนด กณีการนำมาประกอบให้เกิดงานใหม่ตามมาตรา ๑๒ และควรใส่ที่มาทุกครั้ง Sharky 17:01, 26 มีนาคม 2007 (UTC)

กลับไปที่หน้าโครงการ "แหล่งความรู้ที่เผยแพร่"