คุยเรื่องวิกิพีเดีย:บทความคัดสรร/บทความคัดสรรที่ควรปรับปรุงใหม่

เสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ แก้

  1. การเสนอแนะ ควรเป็นการเสนอในลักษณะ Review บทความที่ชัดเจน ตามเกณฑ์การพิจารณา ที่ไม่ใช่เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว --Sry85 01:46, 4 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
  2. ผู้เสนอปลด ไม่ควรเป็นผู้พิจารณาปลดด้วย เช่นเดียวกับการพิจารณาเกณฑ์บทความคัดสรรและบทความคุณภาพ เพื่อป้องกันปัญหาการก่อกวนจากผู้ใช้ และเพื่อให้ชาววิกิพีเดียร่วมพิจารณา ถึงความเหมาะสม ไม่ใช่มาจากการตัดสินจากบุคคลเดียว ขอเพิ่มเติมผู้พิจารณาปลดหรือคงไว้ของบทความก็ไม่ควรเป็นผู่เขียนบทความหลักด้วยเช่นกัน --Sry85 01:46, 4 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
  • ผมในฐานะที่เป็นผู้ปลดบทความคัดสรรเป็นจำนวนมากยอมจำนนต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่บทความเหล่านั้นเองก็มิได้เป็นบทความคัดสรรที่คัดเลือกโดยชาววิกิพีเดียทั้งหมดมิใช่หรือ เกือบทั้งหมดที่ถอดไปเป็นบทความที่ไม่มีการบันทึกการคัดสรรเอาไว้ ซึ่งคาดว่าคงเป็นเพราะในช่วงนั้นบทความคัดสรรยังคงเป็นยุคบุกเบิกอยู่ ซึ่งผมเข้ามาร่วมใช้วิกิพีเดียภาษาไทยไม่ทันยุคนั้น ผมจึงถอดบทความคัดสรรบางบทไป เพราะว่ามันมีคุณภาพไม่ถึงจริง ๆ แต่ขอรับรองว่าจะไม่กระทำการผิดพลาดเช่นนี้อีก แต่ขอเสนอให้มีผู้เข้ามาร่วมพิจารณาบทความกันมาก ๆ (ผมว่าผู้ที่สนับสนุนโครงการบทความคัดสรรควรจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ให้มาก) เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหานี้อีก --Horus 20:24, 4 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

สุสานจิ๋นซีฯ โดราเอมอน สมเด็จพุฒาจารย์ ฟุตบอลทีมชาติไทย และอีกหลายบทความไม่อยู่ในยุคบุกเบิกนะคะ ดูประวัติได้--Se:Rin พูดคุย – 22:40, 5 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

การเสนอกลับผลการถอดบทความคัดสรร แก้

เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อวิกิพีเดียโดยรวม เพื่อป้องกันการกระทำใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น จึงเสนอให้มีการร่างระเบียบการกลับผลการถอดบทความคัดสรร ถ้าจำเป็น ซึ่งผมขอเสนอว่า

(1) ถ้าหากผ่านการถอดบทความเป็นเวลาไม่นานนัก ให้เสนอบทความคัดสรรในอดีตที่เห็นสมควรว่าจะกลับผลการตัดสิน และเหตุผลที่เสนอ รวมไปถึงแก้ไขเนื้อหาที่ควรปรับปรุงใหม่ที่เคยกล่าวเอาไว้ตอนที่มีการถอดบทความคัดสรรเกิดขึ้น

(2) ถ้าหากผ่านการถอดบทความมาเป็นเวลานานแล้ว น่าจะเสนอกลับเป็นบทความคัดสรรอีกครั้งจะดีกว่า (เพื่อเป็นการผ่านการคัดกรองอีกครั้งหนึ่ง) --Horus 21:24, 5 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

ขอเสนอดังนี้ค่ะ
  1. ยกเลิกการถอดถอนบทความคัดสรรที่ได้ดำเนินการมาแล้วนั้น เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสตัดสินร่วมกันว่าสมควรถูกถอดถอนหรือไม่ โดยใช้หลักการเดียวกับการเสนอ มีผู้เห็นด้วยกับการถอดถอนและไม่เห็นด้วย ถ้าไม่เห็นด้วยก็ขอให้ใส่เหตุผลที่ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการถอดถอนเพราะเหตุใด
  2. มีการแจ้งเตือนแก่ผู้เขียนบทความหลัก เพื่อให้ได้มีโอกาสเตรียมตัวในการแก้ไขปรับปรุงบทความ โดยเพิ่มระยะเวลาจากสองอาทิตย์เป็น 1 เดือน (ทุกคนไม่ได้ว่างตรงกันนะคะ เวลาคนละ 24 ชั่วโมงเท่ากันทุกวัน แต่ใช้ไม่เหมือนกันทุกคน)

--Se:Rin พูดคุย – 22:42, 5 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

  เห็นด้วย 1 เดือนน่าจะพอต่อการแก้ไขบทความ และแจ้งให้ผู้เขียนบทความหลักทราบได้ทันก่อนที่จะเกิดการปลดสถานะของบทความ --Horus 19:13, 6 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

ขอยื่นเสนออีก 4 ข้อครับ

(3) ไม่ดูที่จำนวนคนเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย แต่ดูที่เหตุผล และ การอภิปราย ไม่ควรกำหนดจำนวนที่จะต้องมาเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย

(4) ขยายเวลาเพื่มเป็น 2 เดือน บางคนมีสอบ บางคนมีประชุม บางคนมีต้องไปค่าย ไปต่างประเทศ มีเอนทรานซ์ บางคนติดงานสำคัญ บางคนเอาคอมพ์ฯ ไปซ่อม หนึ่งเดือนอาจจะไม่พอก็ได้ครับ

(5) ให้หน่วยบำรุงทำการบำรุงรักษาบทความคัดสรร แทนที่จะถอดถอนบทความคัดสรรนั้นเอง แต่ก็มิได้จำเป็นว่าหน่วยบำรุง "ต้อง" ทำ แล้วแต่ตัวบุคคล คนอื่นก็ช่วยได้เช่นกัน แต่ไม่ใช่ถอดถอนเลย

(6) เปลี่ยนจุดประสงค์ของโครงการมาเป็น การบำรุงรักษา และ การยื่นถอดถอน ไม่ใช่ การปลด

--P W 11:52, 9 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

ชื่อโครงการมันบอกว่าบำรุงนะ แต่ไหง ๆ ไป ๆ มา ๆ กลับเป็นการปลดซะอย่างงั้น.. Comment ที่เหลือผม   เห็นด้วย ครับ --Chris Vineyard Chat Contribs 11:59, 9 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

อันที่จริงผมก็ยื่นถอดถอนนะครับ แต่ระยะเวลาในการยื่นถอดถอนตามกำหนดเดิมก็คือ 2 อาทิตย์ ซึ่งเป็นระเบียบเดิม เพราะฉะนั้นที่เห็นว่ามีปัญหาก็คือ ผู้เขียนบทความไม่มีโอกาสรู้ตัวทันนั่นเอง และไม่มีผู้มาออกความคิดเห็นใด ๆ จึงเหมือนกับว่าบทความที่ถูกยื่นถอดถอนมีโอกาสโดนปลดเกือบจะ 100% นั่นแหละ ผมเห็นว่าถ้าจะแก้ปัญหานี้ได้ จำเป็นต้อง

(1) ให้ผู้เขียนรู้ตัวว่าบทความที่ตนเขียนมีการเสนอลดระดับของบทความ

(2) ให้มีผู้มาออกความเห็นในการปลด เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

ถ้าหากไม่มี 2 ข้อข้างต้น ยังไงการปลดบทความก็ไม่แตกต่างอะไรจากที่ผมทำแล้วมีปัญหาอยู่ดีแหละครับ (มีแต่คนว่าผมใช้อำนาจผู้ดูแลในการปลดเสียด้วยซ้ำ) --Horus 12:06, 9 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

ขอยื่นข้อเรียกร้องใหม่ดังนี้ครับ (ขออนุญาตประยุกต์ของคุณ Tinuviel ด้วย) :

  1. ผู้เสนอให้ปรับปรุงบทความคัดสรรจะต้องเป็นผู้ใช้เท่านั้น สมัครสมาชิกมามากกว่า 30 วัน
  2. จะต้องให้ผู้เขียนบทความหลักทราบว่าบทความอาจถูกลดระดับได้ โดยแจ้งให้ทราบทางหน้าพูดคุย
  3. จะต้องชี้แจงเหตุผลให้ทราบอย่างเป็นรูปธรรม จุดไหนบ้าง ต้องชี้แจงให้ถูกว่าจุดไหนสมควรแก้ หรือ สมควรตัดออก อย่างตรงไปตรงมา และเจาะลึก
  4. ผู้เขียนจะต้องตอบรับ ยืนยันว่าได้รับข้อความ และ เข้าใจว่าต้องแก้ไขบทความแล้ว
  5. หากผู้เขียนมิได้ตอบรับ ให้ส่งไปทางอีเมล และ หากไม่ตอบรับอีก ให้ทำตามข้อ 8 แต่ไม่มีกำหนดวันพิจารณา แค่เพียงให้ข้อมูลว่าต้องการผู้ใช้หลาย ๆ คน มาร่วมพัฒนาบทความ หรือ หากเป็นไปได้ ข้ามไปข้อ 10 เพื่อที่จะได้ถอดถอนอย่างเป็นทางการ
  6. หากผู้เขียนมีประสงค์ให้ปล่อยไปตามสมควร คือให้ลดสถานะบทความ ข้ามไปข้อ 10
  7. ให้เวลาผู้เขียนแก้ไขบทความเป็นเวลา 1 เดือน หรือ 2 เดือน หากขอร้องมา ไม่ว่าจะในโอกาสสอบ เอนทรานซ์ หรือ กรณีอื่น ๆ
  8. นำเข้าใส่รายการบทความที่ต้องปรับปรุง โดยจะต้องสร้างรายการขึ้นมา เหมือนกับการเสนอ และใส่วันพิจารณา ให้ละเอียดครบถ้วน
  9. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้อื่นมาร่วมแก้ไขบทความด้วย
  10. เมื่อครบกำหนดเวลา ให้ประชาสัมพันธ์อีกครั้ง แล้วให้ทุกคนโหวตว่าจะให้ผ่านหรือไม่ ดูตามเหตุผล การอภิปราย ความเหมาะสม
  11. หากผลออกมาเป็น "ผ่าน" ให้คงสถานะบทความคัดสรรนั้นต่อไป
  12. หากผลออกมาเป็น "ไม่ผ่าน" ให้ถอดถอนออกจากการเป็นสถานะบทความคัดสรร และให้ชุมชนกำหนดระดับบทความใหม่
  13. หากไม่มีผู้มาร่วมโหวต หรือผู้มาโหวตไม่เพียงพอ ให้ขยายเวลา และประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น ห้ามถอดถอนบทความตามใจชอบ แล้วอ้างว่าไม่มีความคิดเห็น
  14. ผู้ที่ถอดถอนสถานะบทความคัดสรร โดยไม่ผ่านมติชุมชน จะถือเป็นการก่อกวน
  15. หากผู้เขียนต้องการให้บทความได้สถานะคัดสรรอีกครั้ง ต้องเขียนใหม่ และผ่านกระบวนการใหม่
  16. เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ยื่นถอดถอนมีสิทธิยื่นถอดถอนอีกครั้ง ตามโอกาส เวลา และความเหมาะสม (เช่น เนื้อหาไม่ครอบคลุมปัจจุบัน หรือ มีกิจกรรม/การกระทำใหม่ ๆ ซึ่งบทความยังไม่ครอบคลุม เป็นต้น)

--P W 15:47, 9 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

จากข้อ 11 ถ้าไม่มีเรื่องการถอดตราบทความคัดสรร แล้วจะมีการติดตราบทความคัดสรรใหม่อย่างไร ต้องระบุขั้นตอนให้ชัดเจน

ขอถามว่าถ้าหากผู้เขียนรับรู้แล้ว และตอบว่าตนจะไม่มีส่วนในการแก้ไขบทความอีกครั้ง จะดำเนินการต่ออย่างไรครับ --Horus 16:24, 9 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

  • แก้ไขแล้วครับ --P W 16:35, 9 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
  • ผมแนะนำว่าข้อที่ถ้าผู้เขียนไม่ตอบรับแล้วบทความยังมีปัญหา เราควรช่วยปรับปรุงก่อน (ถ้ามีหรือหาข้อมูลได้) แต่ถ้าไม่ได้จริง ๆ และผู้เขียนหลักไม่ประสงค์จะปรับปรุง ก็เข้ากระบวนการยื่นออกความเห็นถอดถอนไปเลยครับ --Chris Vineyard Chat Contribs 19:05, 9 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

คิดว่าการเสนอในรูปแบบนี้มีจุดบอดใหญ่คือถ้าหากผู้เขียนหลักไม่รับรู้ถึงการปลดบทความ และ/หรือ ไม่มีผู้มีเสนอความคิดเห็นในตัดสินการถอดบทความคัดสรร หรือตัดสินกลับผลการถอดบทความคัดสรร การดำเนินการปลดสถานะหรือการกลับผลการปลดสถานะก็จะเป็นง่อยเหมือนเดิม เราควรกำหนดระยะเวลาสูงสุดที่จะเปิดโอกาสให้แก้ไขบทความ เป็นต้นว่า 1 ปี เป็นต้น เผื่อในกรณีที่ผู้เขียนเลิกใช้วิกิพีเดียไปแล้ว หรือไม่มีการเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุงแก้ไขหรือการเสนอกลับผลการตัดสินเลย (อันที่จริง การแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกโดยทั่วไปเป็นเรื่องที่ดีที่สุด แต่ถ้าเป็นความรู้เฉพาะทางหรือเรื่องที่เจาะจงแล้ว จะเป็นการยากที่จะหาผู้มาเขียนหรือดำเนินการแก้ไขได้) --Horus 20:22, 9 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

 · ขอเสนอให้เติมคำบางคำลงในชื่อระเบียบหน่อยได้ไหมคะ อย่าง "การเสนอขอกลับผลการถอดถอนบทความคัดสรร" หรือ "การเสนอให้กลับผลการถอดถอนบทความคัดสรร" เพราะเห็นว่าคำ "เสนอกลับ" นี่แปลได้หลายความหมาย (request for reversal of..., send back หรืออะัไร) ถึงแม้หลักการตีความจะต้องตีความตามเจตนารมณ์มากกว่าที่ปรากฏเป็นตัวอักษรก็ตาม อีกอย่างจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้นด้วยว่ามันคือเรื่องอะไร

 · ทั้งนี้ เข้าใจว่าคำว่า "กลับ" ในที่นี้มีความหมายเหมือน "กลับคำพิพากษา" อะนะ (เช่น ศาลอุทธรณ์ตัดสินว่ามีความผิด ให้ประหารชีวิต แต่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ผิด จึงให้กลับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ จำเลยไม่มีโทษ; ภาษาอังกฤษทั่ว ๆ ไปว่า cassation, overrule หรือ reversal แต่ถ้าเป็นการกลับคำพิพากษาโดยอาศัยข้อกฎหมายมาพิจารณาจะว่า reversal และอาศัยข้อเท็จจริงว่า recall) ดังนั้น "การกลับผลการถอดถอนบทความคัดสรร" นี่แปลว่า "อันเดิมถูกถอดถอน (เพราะเหตุผลอะไรไม่ทราบ) แต่ต่อมาพิจารณาว่าที่ถอดถอนไปนั้นไม่ชอบ จึงควรคืนฐานะให้ ก็ให้กลับผลการถอดถอนนั้น" หรือเปล่าคะ

 · ทั้งนี้ ยังไม่ได้อ่านที่ข้างบนคุย ๆ กันอะนะ 55

——  ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๕๕๒ ศก กุมภาพันธมาส เอกาทศมสุรทิน, ๑๔:๐๓ นาฬิกา (GMT+7)

วาระ 2 แก้

เสนอรายละเอียดข้อเสนอปรับปรุงโครงการเก่า ๆ

  1. การเสนอแนะ ควรเป็นการเสนอในลักษณะรีวิวความที่ชัดเจน ตามเกณฑ์การพิจารณา
  2. ผู้เสนอปลดไม่ควรเป็นผู้พิจารณาปลดด้วย เช่นเดียวกับการพิจารณาเกณฑ์บทความคัดสรรและบทความคุณภาพ เพื่อป้องกันปัญหาการก่อกวนจากผู้ใช้ และเพื่อให้ชาววิกิพีเดียร่วมพิจารณา ถึงความเหมาะสม ไม่ใช่มาจากการตัดสินจากบุคคลเดียว ขอเพิ่มเติมผู้พิจารณาปลดหรือคงไว้ของบทความก็ไม่ควรเป็นผู้เขียนบทความหลักด้วยเช่นกัน
  3. ให้มีการแจ้งเตือนแก่ผู้เขียนหลักทางหน้าพูดคุย เพื่อให้ได้มีโอกาสเตรียมตัวในการแก้ไขปรับปรุงบทความ
  4. เพิ่มระยะเวลาการพิจารณาเป็น 1 เดือน
  5. เพิ่มระยะเวลาการพิจารณาเป็น 2 เดือน
  6. ระยะเวลาเป็นไปตามที่ผู้เขียนหลักร้องขอ
  7. ไม่ดูที่จำนวนคนเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย แต่ดูที่เหตุผล และ การอภิปราย ไม่ควรกำหนดจำนวนที่จะต้องมาเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย
  8. เปลี่ยนจุดประสงค์ของโครงการมาเป็นการบำรุงรักษาและการยื่นถอดถอน
  9. ผู้เสนอให้ปรับปรุงบทความคัดสรรจะต้องเป็นผู้ใช้เท่านั้น สมัครสมาชิกมามากกว่า 30 วัน
  10. การเสนอจะต้องชี้แจงเหตุผลให้ทราบอย่างเป็นรูปธรรม จุดไหนบ้าง ต้องชี้แจงให้ถูกว่าจุดไหนสมควรแก้ หรือ สมควรตัดออก อย่างตรงไปตรงมา และเจาะลึก ผู้เขียนจะต้องตอบรับ ยืนยันว่าได้รับข้อความ และ เข้าใจว่าต้องแก้ไขบทความแล้ว
  11. มีประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเสนอ เพื่อให้ผู้อื่นมาร่วมแก้ไขบทความ
  12. หากผู้เขียนมิได้ตอบรับระยะหนึ่ง ให้ส่งไปทางอีเมล
  13. (ต่อจากข้อที่แล้ว) หากผู้เขียนมิได้ตอบรับอีก ให้มีการเสนอเข้ารายการบทความที่ต้องการปรับปรุง ตามรูปแบบคล้ายกับการเสนอบทความคัดสรร/คุณภาพ การเสนอแบบนี้ไม่มีกำหนดวันพิจารณา
  14. (ต่อจากข้อที่แล้ว) หากเป็นไปตามกำหนดเวลา ให้ประชาสัมพันธ์และพิจารณา ดูตามเหตุผล ถ้าไม่มีผู้มาให้ความเห็น หรือผู้มาให้ความเห็นไม่เพียงพอ ให้ขยายเวลาและประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น
  15. ผู้ยื่นถอดถอนจะต้องไม่ยื่นถอดถอนอย่างกระชั้นเกินไป ดูตามโอกาส เวลา และความเหมาะสม

--Horus | พูดคุย 14:22, 21 กรกฎาคม 2553 (ICT)

ไม่มีอะไรมากครับแค่อยากจะบอกว่าวิกิไทยไม่ได้มีคนเข้ามาเขียนบทความมากนัก กฎเกณฑ์บางข้อก็น่าพอจะผ่อนผันกันได้ถ้าตึงเกินไปจะเหลือบทความคัดสรรถึง 20 บทความไหมครับ หรือไม่ก็อาจจะไม่มีบทความคัดสรรเพิ่มเติมเข้ามาอีกเลย --Chale yan 10:59, 28 กรกฎาคม 2553 (ICT)

ไม่ตึงเกินไปหรอกครับ เพราะถึงอย่างไรก็ไม่มีผู้เข้ามาร่วมพิจารณาลดระดับเท่ากับจำนวนของผู้ที่เสนอบทความคัดสรรใหม่อยู่ดี อาจมีความเป็นไปได้ที่ว่าวิกิพีเดียไทยจะไม่มีการลดระดับบทความคัดสรรอีกเลย --Horus | พูดคุย 00:19, 29 กรกฎาคม 2553 (ICT)

ถ้าดูจาก flow แล้ว ในขั้นตอนที่ 3 เมื่อมีการเสนอขอลดระดับบทความ น่าจะพิจารณาร่วมกันก่อนว่าเหตุผลสมควรหรือไม่ ถ้าเป็นการขอลดระดับบทความโดยไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าบทความต้องปรับปรุงอย่างไร ก็ให้ตกไปเลยตั้งแต่ขั้นตอนนี้ ส่วนที่เหลืออื่นๆ ก็เห็นชอบด้วยค่ะ --Tinuviel | พูดคุย   20:10, 29 กรกฎาคม 2553 (ICT)

รู้สึกจะต้องดูประเด็นที่ยังคลุมเครือกับที่ซ้ำซ้อนกันหน่อยนะครับ
(1) ระยะเวลาพิจารณา เป็น 1 เดือน, 2 เดือน หรือเท่าที่ผู้เขียนหลักร้องขอ หรือผสมกัน?
(2) มีประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเสนอ เพื่อให้ผู้อื่นมาร่วมแก้ไขบทความ (ทางใด และจะจัดการอย่างไรหากไม่ได้รับความสนใจ)
(3) จากข้อเสนอเก่า มี "เมื่อเป็นไปตามกำหนด" หรือ "เมื่อเวลาผ่านไป" อยู่จำนวนหนึ่ง ไม่ได้ระบุแน่ชัด
(4) "ให้ประชาสัมพันธ์และพิจารณา ดูตามเหตุผล ถ้าไม่มีผู้มาให้ความเห็น หรือผู้มาให้ความเห็นไม่เพียงพอ ให้ขยายเวลาและประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น" (ขยายเท่าไหร่ และประชาสัมพันธ์ทางใด จะจัดการอย่างไรหากไม่ได้รับความสนใจ)
(5) ผู้ยื่นถอดถอนต้อง "ดูตามโอกาส เวลา และความเหมาะสม" (ไม่ระบุแน่ชัด)

--Horus | พูดคุย 21:04, 30 กรกฎาคม 2553 (ICT)

แฮะๆ พี่งงนิดนึง ตอนแรกดูจากลำดับที่คุณ Passawuth เขียนเอาไว้ข้างบนโน้นเป็นหลัก ต่อด้วยส่วนที่คุณ Horus เสนอเพิ่มเติมในวาระ 2 แต่พอยก wording ตาม quote ล่าสุดนี่ อันนี้งงว่าหมายถึงตรงไหนบ้างค่ะ อย่างนี้ดีไหมคะ ร่างขึ้นมาใหม่เป็นหัวข้อใหญ่อีกข้อนึง แล้วแก้ลงไปในร่างเลยได้ไหมคะ --Tinuviel | พูดคุย   11:47, 31 กรกฎาคม 2553 (ICT)
สำหรับความเห็นเรื่องการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้อื่นมาร่วมแก้ไขบทความ คิดว่าคงจะไม่ได้ผลอะไรเท่าไหร่ ส่วนมากบทความในวิกิพีเดียภาษาไทย ใครพัฒนาบทความไหนก็มักมีคนนั้นทำอยู่คนเดียว อย่างมากอาจมี 2-3 คนช่วยในบทความที่สนใจร่วมกัน (อย่างเช่นบทความกลุ่มวรรณศิลป์ ที่เคยช่วยๆ กันทำ) และมักเป็นกลุ่มที่ติดต่อช่วยเหลือในการเขียนบทความเป็นประจำอยู่แล้ว การ ปชส. อาจทำเพียงแค่แจ้งทางหน้าพูดคุยของผู้พัฒนาหลัก (ซึ่งผู้ร่วมพัฒนาที่คุยกันบ่อยๆ ก็จะเห็นเช่นกัน) และที่หน้าประกาศ ก็คงเพียงพอมังคะ ไม่น่าจะคาดหวังจากผู้ใช้ทั่วไปอื่นๆ ได้ --Tinuviel | พูดคุย   11:50, 31 กรกฎาคม 2553 (ICT)

ร่าง +จัด
  1. การเสนอแนะเป็นไปตามตามเกณฑ์การพิจารณา และต้องชี้แจงเหตุผลให้ทราบอย่างเป็นรูปธรรมและชี้ชัดถูกจุด
  2. ผู้เสนอปลดไม่ควรเป็นผู้พิจารณาปลดด้วย เช่นเดียวกับการพิจารณาเกณฑ์บทความคัดสรรและบทความคุณภาพ เพื่อป้องกันปัญหาการก่อกวนจากผู้ใช้ และเพื่อให้ชาววิกิพีเดียร่วมพิจารณา ถึงความเหมาะสม ไม่มีการตัดสินจากบุคคลเดียว ผู้พิจารณาปลดหรือคงไว้ไม่ควรเป็นผู้เขียนบทความหลักเช่นกัน
  3. ให้มีการแจ้งเตือนแก่ผู้เขียนหลักทางหน้าพูดคุย เพื่อให้ได้มีโอกาสเตรียมตัวในการแก้ไขปรับปรุงบทความ และผู้เขียนบทความหลักจะต้องยืนยันว่ารับทราบแล้ว
    1. หากผู้เขียนมิได้ตอบรับ ให้ส่งไปทางอีเมล และหากไม่ตอบรับอีก ให้ไม่มีกำหนดเวลาพิจารณา (?) ให้ข้อมูลว่าต้องการผู้ใช้หลาย ๆ คน มาร่วมพัฒนาบทความ
  4. เพิ่มระยะเวลาการพิจารณาเป็น... (1 เดือน / 2 เดือน / ตามที่ผู้เขียนหลักขอมา) และหากไม่มีผู้มาร่วมให้ความเห็นหรือไม่เพียงพอ ให้ขยายเวลาอีกเป็น...
  5. การอภิปรายไม่ดูจำนวนการลงคะแนน แต่ดูเหตุผลและการอภิปราย
  6. ผู้เสนอให้ปรับปรุงบทความคัดสรรต้องเป็นผู้ใช้ที่สมัครบัญชีรายชื่อมานานกว่า 30 วัน
  7. มีการประชาสัมพันธ์ทางหน้าประกาศ
  8. ผู้ยื่นถอดถอนคนเดียวกันจะสามารถยื่นถอดถอนได้ทุก ... (ตามเวลาอันเหมาะสม)

อันนี้จัดระเบียบแล้วครับ --Horus | พูดคุย 21:15, 31 กรกฎาคม 2553 (ICT)

ความเห็น
  • หากโครงการนี้ ต้องการที่ให้ปรับปรุงใหม่จริง ควรเริ่มทำการอภิปรายตั้งแต่หน้าพูดคุย อธิบายปัญหาของบทความมีอะไรบ้าง ผู้เขียนบทความจะได้แก้ไขเสียตั้งแต่ตอนนั้น ไม่ต้องมาเสียเวลามีพิธีรีตอง/ขั้นตอน เสนอถอดถอนอะไรมากมาย วุ่นวาย .... แต่หากดูแล้ว ปัญหาเยอะ ไม่ได้แก้ไขเสียที ถึงน่าจะก้าวมาสู่ขั้นตอนนี้ --Joobjoob 20:35, 5 สิงหาคม 2553 (ICT)
ตอบแบบไม่คิดอะไรมากนะครับ (1) โครงการนี้มีปัญหาเพราะหลายฝ่ายคิดว่าเป็นหยามผู้เขียนบทความตัดสรร (2) ขอชี้ให้เห็นว่า ตอนที่เสนอบทความคัดสรร ไม่เห็นมีการเสนอปรับปรุงแก้ไขก่อน ก็ส่งเข้ามาพิจารณาเลย และ (3) ถ้าอยากให้โครงการนี้เป็นไปอย่างราบรื่น ผู้ใช้ทุกคนจะต้องไม่คิดว่านี่คือเผือกร้อน แต่เป็นการรักษาหน้าตาของวิกิพีเดีย --Horus | พูดคุย 20:59, 5 สิงหาคม 2553 (ICT)
จุดประสงค์ โครงการคืออะไรหล่ะคะ ถ้าต้องการให้ ปรับปรุง ก็อภิปรายกันในหน้าพูดคุยว่าควรปรับปรุงกันก่อนสิคะ ตอนที่เสนอบทความคัดสรร ไม่เห็นมีการเสนอปรับปรุงแก้ไขก่อน ก็นี่มันไม่ใช่โครงการเสนอปรับปรุงหนิคะ บทความคัดสรร คือ พิจารณาว่าเป็นบทความที่ดีที่สุดในวิกิพีเดีย แต่ถ้าโครงการนี้เป็นการโหวตกำจัดจุดอ่อนเหมือนรายการเรียลลิตี้ ก็ว่าไปอย่าง ถ้าอยากให้ปรับปรุงจริง ก็ควรอภิปราย ข้อแก้ไขกันก่อน--Joobjoob 21:08, 5 สิงหาคม 2553 (ICT)
งั้นผมคงทำไม่ได้แล้วล่ะครับ เพราะขนาดชี้แล้วก็ยังเข้าข่าย (1) และ (3) ข้างต้น อยู่ดี --Horus | พูดคุย 21:30, 5 สิงหาคม 2553 (ICT)
เชิญตามสบายค่ะ --Joobjoob 21:36, 5 สิงหาคม 2553 (ICT)
หรือคุณคิดว่าผมไม่ได้ทำเต็มความสามารถแล้วจะแสดงให้ผมเห็นว่าคุณทำได้ก็คงเชิญชวนนะครับ เพราะลำบากใจมาพอแล้ว เป็นอาสาสมัครภาษาอะไรทำบาปมากกว่าทำบุญ --Horus | พูดคุย 21:48, 5 สิงหาคม 2553 (ICT)
คุณฮอรัสก็ใจเย็นนะคับ ทุกคนก็มุ่งหวังให้วิกิไทยดีขึ้นคับ สำหรับผม ผมเห็นด้วยเรื่องที่คุณ Joobjoob เสนอในประเด็นว่าน่าจะมีการอภิปรายกันไปก่อนถ้าเป็นไปได้คับ บางครั้งคนที่ไม่ใช่คนเขียนหลักแต่พอมีข้อมูลหรือหาข้อมูลได้แล้วว่างก็น่าจะมาช่วยๆกันแก้ไปก่อน สำหรับการหยามผู้เขียนผมว่าไม่หล่ะคับ ถ้าบทความมันล้าสมัยจิงๆ ก็ต้องตกไป แต่มันก็น่าเสียดายนะคับ เพาะการตกไปมันคงขาดประเด็นหรือต้องปรับปรุงไม่เยอะมาก เพราะก็ผ่านบทความคัดสรรมาแล้ว แต่สำหรับเกณฑ์นั้น การอภิปรายไม่ดูจำนวนการลงคะแนน แต่ดูเหตุผลและการอภิปราย แล้วสุดท้ายใครจะตัดสินอะคับ ถ้ามีการแสดงความเห็นใน 2 ฝ่ายที่ก็ว่าฝ่ายตนถูกทั้งสิ้น ใครจะกล้าบอกว่า "เหตุผลพอแล้ว" หรือ "เหตุผลคุณฟังไม่ขึ้นนะ" หละครับ (ผมเขียนเผื่อๆ เฉยๆ หน่ะคับ) --เอ็มสกาย 23:49, 11 สิงหาคม 2553 (ICT)
ผมคิดว่าบางครั้งเราก็ต้องทำตัวร้าย ๆ บ้าง หากต้องการให้วิกิพีเดียดีขึ้นจริง ๆ อย่างเพื่อนที่ไม่กล้าเตือนเวลาเพื่อนทำผิด อย่างนี้ไม่เรียกว่าเพื่อนแท้หรอกนะครับ --Horus | พูดคุย 23:57, 11 สิงหาคม 2553 (ICT)
พี่ก็ไม่ได้คิดว่าน้องฮอรัสจะร้ายอะไรหรอกนะคับ แต่วิธีการใช้ภาษาที่ตรงหรือห้วนเกินไปบางครั้งก็คงไม่ใช่วิธีการเตือนที่ดีเหมือนกัน ตอนนี้น้องอาจกำลังมองในประเด็นที่อยากให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีในแบบที่น้องเองก็อยากให้เป็น (อันนี้เป็น พฐ ของมนุษย์อยู่แล้ว) แต่หากมีผู้อื่นคิดเห็นไม่ตรงแค่ 2 - 3 ประโยค การใช้ภาษาเชิงประชดประชันก็คงเป็นสิ่งไม่ถูกต้องนักหรอกคับ แล้ว เพื่อนที่ไม่กล้าเตือนเวลาเพื่อนทำผิด อย่างนี้ไม่เรียกว่าเพื่อนแท้ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาตรงๆเสมอไปใช่ไหมครับ เพื่อนจะเตือนเพื่อนมีวิธีการเตือนเยอะแยะ พี่ก็เข้าใจว่าน้องเข้ามาเขียนบ่อยอาจพบปะผู้ใช้ในนี้ที่หลากหลายกว่าพี่ แต่พี่ก็แค่อยากฝากเตือนเรื่องกการตอบโต้ในวงสนทนาบน net อย่างนี้เหมือนกัน บางที่น้องอาจพูดมุ่งหวังเจตนาอย่างหนึ่ง แต่คนอื่นก็สามารถเข้าใจผิดได้ เพราะในนี้ไม่รู้ว่าน้องจะพูดด้วยน้ำเสียงอย่างไร สีหน้าอย่างไร จิงไหมครับ (ลองอ่านที่พี่เขียนดูใหม่ด้วยน้ำเสียงแบบตัวร้ายๆในละคร เทียบกับเสียงแบบคนใจดีๆ ดูสิคับ)--เอ็มสกาย 00:12, 12 สิงหาคม 2553 (ICT)
กลับไปที่หน้าโครงการ "บทความคัดสรร/บทความคัดสรรที่ควรปรับปรุงใหม่"