ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ WIJIT PANOMPIBOON สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello WIJIT PANOMPIBOON! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 19:07, 24 ธันวาคม 2556 (ICT)

เทคนิคการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

แก้

การสำรวจทางธรณีวิทยา (Geological Survey)

แก้

เป็นการสำรวจเบื้องต้นด้านธรณีวิทยาปิโตรเลียม เพื่อหาลักษณะรูปแบบการวางตัวของชั้นหิน และชนิดของหินในบริเวณที่สำรวจ โดยอาศัยข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่และรายงานทางธรณีวิทยา เพื่อนำมาวิเคราะห์หาองค์ประกอบการกำเนิดเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม ได้แก่ หินที่มีสารอินทรีย์ต้นกำเนิดปิโตรเลียม หินที่มีคุณสมบัติในการกักเก็บปิโตรเลียม และโครงสร้างของชั้นหินที่มีแนวโน้มว่าจะพบปิโตรเลียม



การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ (Geophysics Survey)

แก้

เป็นการสำรวจหาข้อมูลรูปแบบการวางตัวของชั้นหินใต้ผิวโลก โดยอาศัยสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกันของชั้นหิน การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์มีหลายวิธีและแต่ละวิธีมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไป เช่น การวัด คลื่นไหวสะเทือน (Seismic Survey) และการวัดค่าแรงดึงดูดของโลก (Gravity Survey) เป็นต้นข้อมูลที่ได้จากการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ทำให้เราทราบขอบเขตของแอ่งสะสมตะกอนทางธรณีวิทยา และลักษณะรูปแบบการวางตัวของชั้นหินใต้ผิวโลก และถ้ามีแนวโน้มที่จะพบปิโตรเลียม บริษัทผู้ได้รับสัมปทานจะทำการเจาะสำรวจหาปิโตรเลียมต่อไป


การวัดค่าความเข้มสนามแม่เหล็กโลก(Magnetic Survey)

แก้

วัดค่าความแตกต่างกันของความเข้มสนามแม่เหล็ก(Magnetic Anomaly) ซึ่งสัมพันธ์กับคุณสมบัติการดูดซึมสนามแม่เหล็ก(Magnetic Susceptibility) ของหิน ความเข็มสนามแม่เหล็กของหินเป็นผลที่เกิดสนามแม่เหล็กโลกผ่านหินชนิดต่างๆ ซึ่งมีแร่ที่ประกอบด้วยธาตุเหล็กมากน้อยต่างกัน จึงดูดซึมสนามแม่เหล็กโลกได้ไม่เท่ากัน สามารถนำข้อมูลจากการสำรวจมาประมวลทำแผนที่แสดงความลึกของหินอัคนีและหินแปร โครงสร้างที่เป็นไปได้เช่น แนวรอยเลื่อน โครงสร้างรูปประทุนคว่ำ-หงายและขอบเขตการสะสมตัวของชั้นหินในแต่ละพื้นที่


การวัดค่าแรงดึงดูดของโลก(Gravity Survey)

แก้

วัดค่าแรงดึงดูดของโลกด้วย Gravity Meter หินต่างชนิดกันจะมีความหนาแน่นต่างกัน นั้นคือมีแรงดึงดูดที่ต่างกัน โดยทั่วไปหินฐานรากได้แก่ หินอัคนีและหินแปร มีความหนาแน่นมากกว่าหินตะกอนที่วางทับอยู่ข้างบน ข้อมูลสำรวจทำให้ทราบลักษณะรูปร่างโครงสร้างหินฐานรากที่อยู่ลึกลงไปและความหนาของชั้นหินตะกอนที่ปิดทับซึ่งอาจมีปิโตรเลียมสะสมอยู่


การวัดคลื่นไหวสะเทือน(Seismic Survey)

แก้

เป็นวิธีสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม ที่ให้รายละเอียด ความถูกต้องของลักษณะและโครงสร้างธรณีวิทยาใต้ผิวดินได้ดี สำรวจได้ลึกจากผิวดินหลายกิโลเมตร แต่ค่าใช้จ่ายสูง การทำให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนในพื้นผิวโลก[บนบกใช้วัตถุระเบิด หรือใช้รถสั่นสะเทือน(Vibroseis Truck) ในทะเลใช้ปืนอัดอากาศ(Air Gun)] คลื่นไหวสะเทือนจะเคลื่อนผ่านชั้นหินใต้ผิวโลกถึงระดับลึก 3,000 - 5,000 เมตร (แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่พบในประเทศไทย อยู่ที่ 1,000 – 3,000 เมตร) และสะท้อนกลับขั้นมาบนผิวโลก ซึ่งตัวรับคลื่น(Geophone หรือ Hydrophone กรณีสำรวจในทะเล) ความเร็วคลื่นแปรผันตรงกับความหนาแน่นของชั้นหิน ชั้นหินที่มีความหนาแน่นต่ำ มีความพรุน และมีของเหลว หรือก๊าซแทรกอยู่ คลื่นเสียงจะผ่านได้ช้ากว่า(ใช้เวลามากกว่า) การเดินทางในชั้นหินที่มีเนื้อแน่นรอยเลื่อนและการโค้งงอของชั้นหินทำให้เกิดการหักเหของคลื่น แสดงลักษณะโครงสร้างธรณีวิทยาของชั้นหิน



อ้างอิง

แก้

<http://www.dmf.go.th/dmfweb/index.php?option=com_knowlage&view=elearn&task=detail&id=1&id_less=15&Itemid=7&lang=th />

<http://www.dmf.go.th/file/QA_EPThai.pdf />