ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Technocom ubon สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Technocom ubon! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 14:10, 7 มีนาคม 2555 (ICT)

แผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี แก้

     แผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก่อตั้งในปี พ . ศ . 2534 ในปัจจุบันมีคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 ท่านซึ่งล้วนเป็นผู้มีเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เป็นที่ยอมรับ ในระดับประเทศ แผนกวิชาเสนอหลักสูตรตั้งแต่ระดับ ปวส. สาขาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ แผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ศึกษาเน้นสาขาวิจัยด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนแบบปัญญาประดิษฐ์ การสร้างสื่อประสม คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ การประมวลผลภาพ ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา ระบบเครือข่าย วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ระบบศึกษาบันเทิง เป็นต้น
            นอกจากนั้นภาควิชายังมีความ พร้อมสูงทั้งด้านฐานความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย สามารถสร้างบัณฑิตที่มี ความพร้อม และ ความสามารถสูง เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา รวมถึงมีความร่วมมือ ทั้งในระดับประเทศ และ นานาชาติ ตลอดจนภาคธุรกิจต่าง ๆ อีกทั้งยังมีแหล่ง ทุนการศึกษาด้วย ปัจจุบันมีนิสิตเก่ามากกว่า 2,000 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นกำลังสำคัญ ให้กับองค์กรต่าง ๆ ในวงการคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศของประเทศไทย --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Technocom ubon (พูดคุยหน้าที่เขียน) 14:44, 7 มีนาคม 2555 (ICT)

ปรัชญาและปณิธานของแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แก้

แผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ยึดถือปรัชญาตามที่วิทยาลัยกำหนดไว้คือ "พัฒนาคน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" และพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถในการสอน การสื่อสาร การใช้ การสร้าง และการพัฒนาเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นผู้ที่รู้จริง มีคุณธรรม จริยธรรม และรับผิดชอบต่อสังคม" ดังนั้น หลักสูตรของแผนกวิชาฯ จึงมีองค์ประกอบที่พร้อมจะผลลิตนักศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพที่มีคุณภาพ และมีคุณธรรมในบุคคลคนเดียวกัน --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Technocom ubon (พูดคุยหน้าที่เขียน) 14:45, 7 มีนาคม 2555 (ICT)

วิสัยทัศน์ของแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แก้

        มุ่งเน้นการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน  และมุ่งสู่การผลิตนักเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่อไปในอนาคต

พันธกิจของแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

        1. จัดการศึกษาและพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
        2.  ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัย   สร้างนวัตกรรมการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาอาชีพ
        3.  นำระบบการประกันคุณภาพมาตรฐานและ พรบ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการที่ดี พ.ศ. 2546 มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ           
        4.  พัฒนาหลักสูตรและปฏิรูปแนวทางการเรียนการสอน  เพื่อผลิตช่างเทคนิคและนักเทคโนโลยีสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์   ให้มีความรู้และทักษะควบคู่คุณธรรมและสอดคล้องตามความต้องการของสถานประกอบการ
        5.  ส่งเสริมและแสวงหาความร่วมมือกับสถานศึกษา ชุมชน  และสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศเพื่อจัดการศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
        6.  ให้บริการความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แก่สถานศึกษา  ชุมชน  สถานประกอบการเพื่อสร้างงาน  สร้างอาชีพและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Technocom ubon (พูดคุยหน้าที่เขียน) 14:45, 7 มีนาคม 2555 (ICT)

สีประจำแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แก้

สีประจำแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

สีเขียวใบตองอ่อน

วัตถุประสงค์ของแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แก้

1. เพื่อผลิตนักศึกษาในสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติที่มีความพร้อมทางด้านการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยี และด้านวิศวกรรม

2. เพื่อผลิตนักศึกษาในให้เป็นผู้สอน นักฝึกอบรม และนักวิชาการ ที่มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแขนงต่างๆ ได้แก่ แขนงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แขนงเทคโนโลยีมัลติมีเดีย แขนงคอมพิวเตอร์ศึกษา หรือแขนงเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3. เพื่อผลิตนักศึกษาในให้เป็นผู้สอน นักฝึกอบรม และนักวิชาการ ที่มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา ส่งเสริมการพัฒนาวิชาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้กับครูผู้สอน นักฝึกอบรม และนักวิชาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อมุ่งเน้นให้มีการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปและองค์ความรู้ใหม่ ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยส่งเสริมให้สามารถจัดตั้งเป็นเครือข่ายองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของประเทศ

4. ส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Technocom ubon (พูดคุยหน้าที่เขียน) 14:47, 7 มีนาคม 2555 (ICT)

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แก้

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ระดับ ปวช.หลักสูตรที่เปิดสอนสาขาวิชา เทคนิคคอมพิวเตอร์

- สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์ รับผู้จบ ม.3

ระดับ ปวส.หลักสูตรที่เปิดสอนสาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีด้วยกัน 4 หลักสูตรได้แก่

- สาขางานคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Computer Hardware) รับผู้จบ ปวช สายตรง(อิเล็กทรอนิกส์,โทรคมนาคม,ไฟฟ้ากำลัง,เทคนิคคอมพิวเตอร์)

- สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (Computer Software) รับผู้จบ ม.6 หรือเทียบเท่า

- สาขางานระบบเครือข่ายสารสนเทศ (Network and Information System) รับผู้จบ ม.6 หรือเทียบเท่า

- สาขางานคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย (Computer Multimedia) รับผู้จบ ม.6 หรือเทียบเท่า --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Technocom ubon (พูดคุยหน้าที่เขียน) 14:50, 7 มีนาคม 2555 (ICT)

คณาจารย์ประจำแผนกวิชาเทคโนโลยีอคอมพิวเตอร์ แก้

1. นายสวัสดิ์ ธงไชย คอ.ม. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ครูชำนาญการพิเศษ) มีความชำนาญระบบเครือข่าย ปัจจุบันเป็นผู้ดูแลระบบ เครือข่ายภายในวิทยาลัยเทคนิคอุบลฯ ร่วมกับหัวหน้างานศูนย์ข้อมูล

2. นายวันชัย ศุภธีรารักษ์ คอบ. วิศวกรรมไฟฟ้า มีความชำนาญด้านระบบเครือข่าย การซ่อมปริ้นเตอร์ ปัจจุบันดูแลศูนย์ซ่อมคอมพิวเตอร์ภายในวิทยาลัยเทคนิคอุบลฯ

3. นายทรงวุฒิ วิมลพัชร คอ.ม. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ครูชำนาญการพิเศษ) มีความชำนาญด้านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ด้านโปรแกรม Web page วิชาโปรแกรมเชิงวัตถุ

4. นายทวีศักดิ์ พร้อมสุข คอ.ม. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีความชำนาญด้านระบบเครือข่าย โปรแกรมเว็บฯ ปัจจุบัน รับผิดชอบงาน Fix it Center เป็นที่ปรึกษาหุ่นยนต์ ABU ทีม”ผาแต้ม”

5. นายสนอม ทิพยรัตน์สุนทร วท.ม. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความชำนาญด้าน อินเตอร์เฟส และไมโครคอนโทรลเลอร์ ระบบควบคุมที่เชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ เป็นที่ปรึกษาทีมหุ่นยนต์กู้ภัย วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี เป็นที่ปรึกษาทีม นศ.สาขาคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ชนะเลิศในการแข่งขันทักษะระดับชาติ ในปี 2552

6. นายชนินทร์ พบลาภ วท.ม. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความชำนาญด้านระบบฐานข้อมูล และการเขียนโฮมเพจ ปัจจุบันรับผิดชอบงานศูนย์ข้อมูล ดูแลระบบเครือข่ายภายในวิทยาลัยฯ เว็บเพจของวิทยาลัยฯ

7. นส.คัทลียา นุ่มเฉย ศศ.บ. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ มีความชำนาญด้าน โปรแกรมสำเร็จรูป วิชาดิจิตอล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (กำลังศึกษาต่อระดับ ปริญญาโท สาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่มหาลัยราชภัฏอุบลฯ คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในปลายปี 2555)

8. นส.ชณิดาภา บุญประสม ค.อ.บ. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กำลังศึกษาต่อปริญญาโท จะสำเร็จการศึกษาในวุฒิ คอ.ม. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ต้นปี 2555 (สอบผ่านหมดแล้วรอการอนุมัติจบการศึกษา) มีความชำนาญด้านโปรแกรมโครงสร้างข้อมูล

9. นายชวินทร์ พลหาญ คอบ. อิเล็กโทรคมนาคม กำลังศึกษาต่อปริญญาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จะสำเร็จการศึกษาในปลายปี 2555 ชำนาญด้านระบบเครือข่าย เป็นทีมงานผู้ดูแลระบบเครือข่ายใน วิทยาลัยฯ ร่วมกับ อ.สวัสดิ์

10. นายผดุงศักดิ์ ธานี วท.บ. เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ) มีความชำนาญด้าน PLC/Micro Controller เป็นที่ปรึกษาหุ่นยนต์ ABU ทีม”ผาแต้ม” (วท. อุบลฯ ) กำลังศึกษาต่อปริญญาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จะสำเร็จการศึกษาใน ปี 2556

11. นายสิทธิชัย ศุภธีรารักษ์ วท.บ. เทคโนโลสารสนเทศ มีความชำนาญด้าน โปรแกรมกราฟฟิกส์ การวาดการ์ตูน และโปรแกรมแอนนิเมชั่น เป็นอาจารย์ผู้ควบคุมทีม ที่พานักศึกษาชนะเลิศในการแข่งขันทักษะระดับชาติในปี 2552 และรองชนะเลิศระดับสองในการแข่งขัน Animation ระดับชาติในปี 2554

12. นายพิทักษ์ ธิบูรณ์บุญ ค.อ.บ. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีความชำนาญด้าน การเขียนเว็บ โปรแกรม Joomla เป็นที่ปรึกษาหุ่นยนต์ ABU ทีม”ผาแต้ม” --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Technocom ubon (พูดคุยหน้าที่เขียน) 14:51, 7 มีนาคม 2555 (ICT)

ห้องปฏิบัติการแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แก้

       1.   ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 312 (ห้องปฏิบัติการปรับพื้นฐานวงจรอิเล็กทรอนิกส์)
        2.   ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 313 (ห้องปฏิบัติการปรับพื้นฐานวงจรอิเล็กทรอนิกส์)
        3.   ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 314 (ห้องปฏิบัติการระบบ Linux , Programmin)
        4.   ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 325 (ห้องพักครูแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์)
        5.   ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 322 (ห้องปฏิบัติการระบบ Operating System)
        6.   ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 323 (ห้องปฏิบัติการเขียนแบบพื้นฐานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)
        7.   ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 325 (ห้องปฏิบัติการโปรแกรม Visual Basic , Program Web 1)
        8.   ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 335 (ห้องปฏิบัติการวิชาพื้นฐานและการ  Programming )
        9.   ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 341(ห้องปฏิบัติการ Interface และ Microcontroller)
     10. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 342 (ห้องปฏิบัติการ Multimedia)
     11. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 343 (ห้องปฏิบัติการทั่วไป)
     12. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 345 (ห้องปฏิบัติการ Microcontroller)
     13. ห้องปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์