ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Petromatchula สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Petromatchula! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 10:20, 7 ตุลาคม 2559 (ICT)
โดยที่รัฐบาลไทยได้มีนโยบายสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ชำนาญการเฉพาะทางเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัยและพัฒนาประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ระดับสากลของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้สนับสนุนการพัฒนาโครงการทางด้านการศึกษาและวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา และพัฒนางานวิจัยขึ้นด้วยการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะด้าน และให้ศูนย์ความเป็นเลิศดำเนินงานได้อย่างอิสระในฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา โดยมีชื่อเดิมว่า “ศูนย์ปิโตรเลียมและเทคโนโลยีปิโตรเคมี” และปรับเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และวัสดุขั้นสูง” ในปี พ.ศ. 2550
การดำเนินงานในการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศระยะที่ 3 ภายใต้สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2555 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ “ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT)” โดยมี วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันแกนนำ ร่วมมือกับ
- ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์ สำนักวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
PETROMAT มีพันธกิจหลักในการสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับปิโตรเคมีและวัสดุ ทำวิจัยเพื่อตอบสนองตามความต้องการของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและวัสดุของประเทศ โดยผลักดันให้มีการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ
PETROMAT มีทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุที่ครอบคลุมตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ถือเป็นมิติใหม่ของเครือข่ายวิจัยในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของประเทศ ทำให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ สามารถรองรับงานวิจัยเชิงลึกและประยุกต์ที่ต้องใช้ความรู้หลากหลายสาขา และด้วยความคล่องตัวทางด้านการบริหารจัดการ ความเชี่ยวชาญของนักวิจัยภายใต้ศูนย์ฯ เครือข่ายนักวิจัยที่เข้มแข็งมากกว่า 200 คน เครื่องมือวิจัยวิเคราะห์ขั้นสูงมากกว่า 250 ชิ้นที่ทันสมัย ด้วยงบลงทุนกว่า 250 ล้านบาท PETROMAT มีความพร้อมที่จะสนับสนุนการวิจัยทั้งภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่น ๆ นอกจากจุดเด่นด้านการวิจัยและพัฒนาแล้ว PETROMAT ยังพร้อมให้ความร่วมมือทุกภาคส่วน ให้ความรู้ด้านวิชาการโดยจัดการฝึกอบรม ประชุมวิชาการ สัมมนา และงานนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือทบทวนความรู้ความเข้าใจได้อีกทางด้วย รวมถึงมีการออกวารสาร PETROMAT Today เป็นรายไตรมาส เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและข่าวสารเกี่ยวกับงานวิจัยด้านปิโตรเคมีและวัสดุที่เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนของสังคมและชุนชนวิชาการ
PETROMAT มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจปิโตรเคมีและวัสดุของประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับสโลแกนของศูนย์ฯ “Step Forward with PETROMAT”
--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Petromatchula (พูดคุยหน้าที่เขียน) 10:33, 10 ตุลาคม 2559 (ICT)