ประวัติตระกูล อินทนูจิตร แก้

ลำดับเชื้อสายเจ้าเมืองสุรินทร์ในอดีต ต้นสกุล อินทนูจิตร การตั้งถิ่นฐาน จากหลักฐานที่พบภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณจังหวัดสุรินทร์ และพบแหล่งชุมชนโบราณหลายแห่ง แสดงให้เห็นว่า ในบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ได้มีผู้คนอาศัยนานมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักมานุษยวิทยาและนักโบราณคดีลงความเห็นว่าบริเวณที่ราบลุ่มตอนกลางของแม่น้ำมูลด้านตะวันออก และชุมชนทุ่งสำริดในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และลุ่มแม่น้ำชีตอนล่าง ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธรและอุบล ฯ คือ แหล่งอารยธรรมโบราณ บรรพชนของชุมชนเหล่านี้ ได้ประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบหนา ในยุคแรก ๆ ไม่มีลวดลายเขียนสีในยุคต่อมาได้พัฒนาเป็นการเขียนสี และชุบน้ำโคลนสีแดง นอกจากนี้ยังได้ค้นพบหลักฐานแสดงการเปลี่ยนแปลงทางคติชนวิทยาที่สำคัญของมนุษยชาติคือ ประเพณีฝังศพครั้งที่สอง โดยการบรรจุกระดูกของผู้ตาย ลงในภาชนะก่อนนำไปฝัง การฝังครั้งแรกจะนำผู้ตาย ไปฝังในหลุมระยะหนึ่งแล้วจึงขุดขึ้นเพื่อทำพิธีฝังครั้งที่สอง ลักษณะสำคัญของชุมชนเหล่านี้อีกอย่างหนึ่งคือ โครงสร้างของชุมชนมักแบ่งออกเป็นสี่ส่วนคือ ส่วนที่อยู่อาศัยมักอยู่บนเนินดินที่ดอน พื้นที่โดยรอบเป็นที่ลุ่มสำหรับเป็นแหล่งทำกิน ด้านตะวันออกส่วนใหญ่เป็นศาสนสถาน ด้านตะวันตกเป็นป่าช้า การขยายตัวของชุมชนมักขยายไปทางทิศตะวันตก ชุมชนเหล่านี้มีการขยายตัวทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมือง จัดตั้งขยายเป็นชุมชนเมือง เป็นรัฐยุคต้นประวัติศาสตร์ได้หลอมรวมกันเป็นอาณาจักรเจนละ หรืออีสานปุระ มีหลักฐานแสดงความเจริญหลายอย่างเช่น การถลุงเหล็ก การทำเกลือ ปลูกข้าว การขุดคู กักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรและการป้องกันตัว

ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เมืองสุรินทร์เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติความเป็นมานาน มีหลักฐานได้แก่ คูเมืองสามชั้นมีเนินดินเป็นกำแพงสันนิษฐานว่าเป็นเมืองหน้าด่านของขอม ก่อนสมัยอยุธยา เขมรเป็นชนพื้นเมืองที่เพิ่งอพยพเข้ามาอยู่สมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรือง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ เป็นต้นมา ภายหลังได้ผสมกลมกลืนกับชาวส่วย ที่เป็นคนพื้นเมืองเดิม และได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่าพวกเขมรป่าดง (ข่า - เขมร) ส่วนลาวนั้นอพยพเข้ามาอยู่ในภาคอีสานของไทยเมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๒๕๗-๒๒๖๑ สมัยอยุธยา กัมพูชาได้ตกอยู่ในฐานะประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา ในระหว่างปี พ.ศ.๒๑๐๓ ส่วนอาณาจักรลาวมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเวียงจันทน์พระเจ้าไชยเชษฐา ฯ (พ.ศ.๒๐๙๑ - ๒๑๑๑) กษัตริย์ลาวได้สร้างนครเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของล้านช้าง ในปี พ.ศ.๒๒๕๗ อาณาจักรลาวแยกออกเป็นสามรัฐอิสระคือหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ เมืองจำปาศักดิ์ได้บังคับให้อัตบือ แสนปาง ส่งช้างป้อนกองทัพให้แก่จำปาศักดิ์ ทำให้ส่วยอัตบือ แสนปาง ทนไม่ได้จึงหนีข้ามลำน้ำโขง มาอาศัยกับพวกส่วยดั้งเดิมบริเวณป่าดงดิบแถบอีสานล่างคือ อุบล ฯ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และบางส่วนของนครราชสีมา มหาสารคาม ชาวส่วยหลายกลุ่มพากันอพยพหนีสงคราม ข้ามมาตั้งหลักแหล่งทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เมื่อปี พ.ศ.๒๒๖๐ แยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานและมีหัวหน้าปกครองตามที่ต่าง ๆ ที่เป็นจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันคือ กลุ่มที่ ๑ มาอยู่ที่บ้านเมืองที ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีหัวหน้าชื่อเชียงปุม กลุ่มที่ ๒ มาอยู่ที่บ้านคดหวาย หรือเมืองเตา ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี มีหัวหน้าชื่อเชียงสี กลุ่มที่ ๓ มาอยู่ที่บ้านเมืองลึง ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมพระ มีหัวหน้าชื่อเชียงวา กลุ่มที่ ๔ มาอยู่ที่บ้านปราขาสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ปัจจุบันคือ บ้านดอนใหญ่ อำเภอวังหินมีหัวหน้าชื่อตกจะกะและเชียงขัน กลุ่มที่ ๕ มาอยู่ที่บ้านอัจจะปะนึง ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสังขะ มีหัวหน้าชื่อเชียงฆะ กลุ่มที่ ๖ มาอยู่ที่บ้านกุดปะไท ปัจจุบันคือบ้านขบพัด อำเภอศรีขรภูมิ มีหัวหน้าชื่อเชียงไชย

ชาวส่วยเหล่านี้มีความชำนาญในการคล้องช้าง ทำการเกษตร หาของป่า แต่ละชุมชนมีการไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ

ในรัชสมัยสมเด็จพระสุริยาอมรินทร์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกในเขตกรุงศรีอยุธยาหนีออกมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตพิมาย จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุนนางสองพี่น้องกับไพร่พล ๓๐ คนออกติดตามช้างมาทางแขวงเมืองพิมาย ได้รับคำแนะนำให้ไปสืบถามพวกส่วย มอญ แซก โพนช้างอยู่ริมเขาดงใหญ่ เชิงเทือกเขาพนมดงรัก เมื่อติดตามมาตามลำน้ำมูลได้พบเชียงสีหัวหน้าบ้านกุดหวาย เชียงสีได้พาไปพบหัวหน้าหมู่บ้านอื่น ๆ เพื่อจะได้ช่วยกันติดตามช้างเผือกต่อไป และได้ทราบจากเวียงฆะว่าได้พบช้างเผือกเชือกหนึ่งมีเครื่องประดับที่งา พาบริวารที่เป็นช้างป่ามาเล่นน้ำที่หนองโซกหรือหนองบัวในเวลาบ่ายทุกวัน เมื่อพากันไปยังหนองโชกก็พบช้างเผือกเชือกนั้นและจับมาได้ บรรดาหัวหน้าหมู่บ้านช่วยควบคุมช้างเผือกมาส่งยังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้งบรรดาหัวหน้าชาวส่วยให้มีฐานันดรศักดิ์คือ ตากะจะเป็นหลวงปราบแก้วสุวรรณ เชียงขันเป็นหลวงปราบ เชียงฆะเป็นหลวงเพชร เชียงปุมเป็นหลวงสุรินทรภักดี เชียงลีเป็นหลวงศรีนครเตา เชียงไชยเป็นขุนไชยสุริยางค์ แล้วกลับไปปกครองคนในหมู่บ้านของตน โดยอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา ขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย พ.ศ.๒๓๐๖ หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) ได้ขอพระบรมราชานุญาติย้ายหมู่บ้านจากเมืองทีที่คับแคบไปตั้งที่บ้านคูประทายคือที่ตั้งเมืองสุรินทร์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่กว้างใหญ่ มีกำแพงค่ายคูล้อมถึงสองชั้นเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม ระหว่างที่อยู่บ้านเมืองที หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ได้สร้างเจดีย์สามยอด สูง ๑๘ ศอก สร้างโบสถ์พร้อมพระปฏิมา หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ยังปรากฏอยู่ที่วัดเมืองทีมาถึงปัจจุบัน ต่อมาหัวหน้าหมู่บ้านทั้งห้าได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา ได้นำสิ่งของไปถวายคือ ช้าง ม้า แกนสม ยางสน นอระมาด งาช้าง ปีกนก ขี้ผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามราชประเพณี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ จึงได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้นคือ หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) เป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางราว ยกบ้านคูประทายเป็นเมืองประทายสมันต์ให้พระสุรินทรฯเป็นเจ้าเมือง หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็นพระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านอัจจะปะนึง หรือบ้านดงยางเป็นเมืองสังฆะให้พระสังฆะฯเป็นเจ้าเมือง หลวงศรีนครเตา (เชียงวสี) เป็นพระนครเตา ยกบ้านกุดหวายเป็นเมืองรัตนบุรี ให้พระศรีฯเป็นเจ้าเมือง หลวงแก้วสุวรรณ (ตาจะกะ) เป็นไกรภักดีศรีนครลำดวน ยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดาลำดวนเป็นเมืองขุขันธ์ให้พระไกรภักดีฯเป็นเจ้าเมือง

สมัยธนบุรี ในปี พ.ศ.๒๓๑๘ พญาโพธิสาร จากนครจำปาศักดิ์ได้ยกทัพมากวาดต้อนครัวบ้านครัวเมือง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราษีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ)ทิ้งให้เป็นเมืองร้าง พ.ศ.๒๓๒๑ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ได้ปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพหลวงไปสมทบกำลังเกณฑ์เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะบุรี และกองทัพชาวคูประทายสมันต์ ขึ้นไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองนครพนมบ้านหนองคายและเวียงจันทน์ พ.ศ.๒๓๒๔ ทางเขมรเกิดจลาจล มีผู้ฝักไฝ่ไปทางญวน ทางกรุงธนบุรีจึงยกทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางเมืองขุขันธ์ เมืองประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) และเมืองสังขะไปช่วยปราบปราม เมืองประทายเพชร เมืองประทายมาศ เมืองรูวดำแรย์ เมืองกำปงสวาย และเมืองเสียมราฐ การปราบปรามยังไม่ราบคาบ เกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรี ต้องยกทัพกลับ ในสงครามครั้งนี้ได้มีพวกเขมรหลบหนีสงครามจากเมืองเสียมราฐ เมืองกำปงสวาย เมืองประทายเพชรและเมืองอื่น ๆ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ และเมืองสังขะเป็นจำนวนมาก ดังนั้นชาวเมืองคูประทาย ซึ่งเป็นส่วยจึงปะปนกับเขมร ทำให้วัฒนธรรมเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเสร็จศึกเมืองเวียงจันทน์ และเมืองเขมรแล้ว เจ้าเมืองประทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาทั้งสามเมือง สมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีเหตุการณ์ต่างๆดังต่อไปนี้ พ.ศ.๒๓๒๙ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์เป็นเมืองสุรินทร์ พ.ศ.๒๓๓๗ พระยาสุรินทรภักดีศรีจางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองถึงแก่กรรม นายตี บุตรชายคนโตได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็น พระสุรินทรณรงค์ภักดีศรีณรงค์จางวาง เจ้าเมือง พ.ศ.๒๓๔๗ มีตราโปรดเกล้า ฯ ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เมืองละ ๑๐๐ รวม ๓๐๐ เข้ากองทัพยกไปตีกองทัพพม่า ซึ่งยกมาอยู่ในเขตเมืองนครเชียงใหม่ เมื่อยกกองทัพกลับก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนนาม พระสุรินทร ฯ (ตี) เป็น พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ พ.ศ.๒๓๕๐ ทรงพระราชดำริว่า เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองขุขันธ์ มีความชอบมาก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ทั้งสามเมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นกับเมืองพิมาย เหมือนแต่ก่อน พ.ศ.๒๓๕๑ พระสุรินทรภักดี ฯ (ตี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม หลวงวิเศษราชา (มี) ผู้เป็นน้องชายได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็น พระสุรินทรภักดี ฯ เจ้าเมือง พ.ศ.๒๓๕๔ พระสุรินทรภักดี ฯ เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม นายสุ่น บุตรพระสุรินทรภักดี ฯ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็น พระสุรินทรภักดี เจ้าเมือง คนที่ 4 ต่อมาเมืองขุขันธ์ ขออนุญาตยกบ้านลังเสน เป็นเมืองกันทรลักษ์ แล้วย้ายมาอยู่ที่บ้านลาวเดิม และยกบ้านแบบ เป็นเมืองอุทุมพรพิสัย แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านปรือ พ.ศ.๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ยกกองทัพเข้าตีหัวเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา ทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ก็เกณฑ์กำลังยกมาตีเมืองขุขันธ์แตก ส่วนเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ ได้ป้องกันเมืองไว้ได้ และได้เกณฑ์กำลังไปสมทบกับกองทัพหลวงจนเสร็จสงคราม พ.ศ.๒๓๗๑ พระยาสุรินทรภักดี ฯ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนเป็น เจ้าพระยา ส่วนเมืองสังขะ พระยาสังขะได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมือง และบุตรพระยาสังขะ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็น พระยาสังขะบุรีนครอัจจะปะนึง พ.ศ.๒๓๘๕ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ได้เกณฑ์คนหัวเมืองเขมรป่าดง หัวเมืองขุขันธ์ ๒,๐๐๐ คน เมืองสุรินทร์ ๑,๐๐๐ คน เมืองสังขะ ๓๐๐ คน เมืองศรีสะเกษ ๒,๐๐๐ คน เมืองเดชอุดม ๔๐๐ คน รวม ๖,๒๐๐ คน เกณฑ์กำลังขึ้นไปสมทบทัพกรุงเทพ ฯ ที่เมืองอุดรมีชัยไปรบในกัมพูชา

พ.ศ.๒๓๙๔ เจ้าพระยาสุรินทรภักดี ฯ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่อนิจกรรม พระยาพิชัยราชวงศ์ (ม่วง) ผู้ช่วยเจ้าเมืองผู้เป็นบุตร เจ้าพระยาสุรินทรภักดี ฯ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาสุรินทรภักดีฯผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ พ.ศ.๒๔๑๒ พระยาสังขะบุรี ฯ ขอตั้งบ้านกุดไผท เป็นเมือง ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเมืองศีขรภูมิพิไสย ขึ้นกับเมืองสังขะ และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านลำดอนขึ้นไปเป็นเมืองสุรพินทนิคมขึ้นกับเมืองสุรินทร์ พ.ศ.๒๔๑๕ พระยาสังขะได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลำพุกเป็นเมือง และได้รับโปรดเกล้า ฯให้เป็นเมืองกันทรารมย์ขึ้นกับเมืองสังขะ พ.ศ.๒๔๒๕ พระยาสุรินทร์ ฯ ได้มีใบบอกขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมือง และได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นเมืองชุมพลบุรี พ.ศ.๒๔๒๙ พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองจำปาศักดิ์ ได้สั่งให้พระยาสุรินทร์ภักดี ฯ ไปช่วยราชการที่เมืองอุบล อยู่ ๒ ปี เพราะเจ้าเมือง และกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพที่เมืองหนองคาย พ.ศ.๒๔๓๒ ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ได้แต่งตั้งใบประทวนให้นายเยียบ บุตรชายพระยาสุรินทร์ภักดี (ม่วง) เป็นพระยาสุรินทร์ภักดี ฯ รักษาราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์แต่อยู่ได้เพียง๒ปีก็ถึงแก่กรรม พ.ศ.๒๔๓๕ พระไชยณรงค์ภักดี (บุนมาก) น้องชายพระยาสุรินทร์ภักดี (ม่วง) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ พ.ศ.๒๔๓๖ ฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นมาทางเมืองเชียงของ เมืองสีทันดรและเมืองสมโบก ซึ่งในสมัยนั้นอยู่ในราชอาณาจักรไทย ผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ ๘๐๐ เมืองสุวรรณภูมิและเมืองยโสธร เมืองละ ๕๐๐ เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด ในปีเดียวกันนี้ พระไชยณรงค์ภักดี (บุนมาก) ถึงแก่กรรม ผู้สำเร็จราชการมณฑลอีสานได้แต่งตั้งหลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์(ล้อม)มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองสุรินทร์แทน ต่อมาพระยาพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ) ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาสุรินทรภักดี ฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และถึงแก่กรรมในปีพ.ศ.๒๔๓๘

พ.ศ.๒๔๕๑ พระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์) ได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดสุรินทร์คนแรก เหตุการณ์สำคัญ รัฐบาลได้เปิดเดินรถไฟจากนครราชสีมาไปถึงจังหวัดสุรินทร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ นับแต่นั้นมา สองข้างทางรถไฟได้กลายเป็นแหล่งชุมชน มีการขยายตัวออกเป็นหมู่บ้าน และเป็นเมืองในที่สุด คนในชุมชนเหล่านั้นมีความสะดวกในการเดินทาง และสามารถขนส่งผลิตภัณฑ์ของตนออกไปยังชุมชนอื่น เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยนกับคนนอกชุมชน ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาตั้งยุ้งฉางรับซื้อสินค้าจากชาวพื้นเมือง เพื่อส่งไปยังนครราชสีมาทางรถไฟเป็นจำนวนมาก สินค้าสำคัญที่ส่งจากจังหวัดสุรินทร์ที่สำคัญได้แก่ ไม้พยุง ครั่ง ข้าว ไหมและสุกร เป็นต้น ส่วนโคกระบือนั้นไม่นิยมส่งทางรถไฟ จากการที่มีทางรถไฟผ่าน ทำให้จังหวัดสุรินทร์ สามารถติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับจังหวัดอื่นได้สะดวก ทำให้จังหวัดมีความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ประชาชนหันมาประกอบอาชีพค้าขายมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างเห็นได้ชัดเจน



ลำดับเชื้อสายเจ้าเมืองสุรินทร์ เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่ 1 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุ่ม)

พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) แต่เดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านบ้านเมืองที ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์จากพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ให้เป็นหลวงสุรินทร์ภักดี เนื่องจากมีความดีความชอบช่วยติดตามช้างเผือกคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ในรัชสมัยสมเด็จพระสุริยาอมรินทร์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกในเขตกรุงหนีออกมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตพิมาย จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุนนางสองพี่น้องกับไพร่พล ๓๐ คนออกติดตามช้างมาทางแขวงเมืองพิมาย ได้รับคำแนะนำให้ไปสืบถามพวกส่วย มอญ แซก โพนช้างอยู่ริมเขาดงใหญ่ เชิงเทือกเขาพนมดงรัก เมื่อติดตามมาตามลำน้ำมูลได้พบเชียงสีหัวหน้าบ้านกุดหวาย เชียงสีได้พาไปพบหัวหน้าหมู่บ้านอื่น ๆ เพื่อจะได้ช่วยกันติดตามช้างเผือกต่อไป และได้ทราบจากเวียงฆะว่าได้พบช้างเผือกเชือกหนึ่งมีเครื่องประดับที่งา พาบริวารที่เป็นช้างป่ามาเล่นน้ำที่หนองโซกหรือหนองบัวในเวลาบ่ายทุกวัน เมื่อพากันไปยังหนองโชกก็พบช้างเผือกเชือกนั้นและจับมาได้ บรรดาหัวหน้าหมู่บ้านช่วยควบคุมช้างเผือกมาส่งยังกรุงศรีอยุธยา ได้สำเร็จ ต่อมา ในปี 2306 หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ได้ขอพระบรมราชานุญาติย้ายหมู่บ้านจากเมืองทีที่คับแคบไปตั้งที่บ้านคูประทายคือที่ตั้งเมืองสุรินทร์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่กว้างใหญ่ มีกำแพงค่ายคูล้อมถึงสองชั้นเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม ระหว่างที่อยู่บ้านเมืองที หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ได้สร้างเจดีย์สามยอด สูง ๑๘ ศอก สร้างโบสถ์พร้อมพระปฏิมา หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ยังปรากฏอยู่ที่วัดเมืองทีมาถึงปัจจุบัน และต่อมาจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระสุรินทร์ภักดี และตั้งค่ายคูปทาย เป็นเมืองปทายสมันต์ ให้พระสุรินทร์ภักดี เป็นเจ้าเมือง ต่อมา สมัยธนบุรี ในปี พ.ศ.๒๓๑๘ พญาโพธิสาร จากนครจำปาศักดิ์ได้ยกทัพมากวาดต้อนครัวบ้านครัวเมือง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราษีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ) ทิ้งให้เป็นเมืองร้าง

พ.ศ.๒๓๒๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง เนื่องจากมีความดีความชอบในการช่วยเหลือราชการสงคราม คือโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพนักรบสุรินทร์ไปสมทบกับกองทัพหลวง ขึ้นไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองนครพนม บ้านหนองคาย และเวียงจันทน์

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


พ.ศ.๒๓๒๔ ทางเขมรเกิดจลาจล มีผู้ฝักไฝ่ไปทางญวน ทางกรุงธนบุรีจึงยกทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังนักรบชาว เมืองประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) ไปสบสมทบกับกองทัพหลวงซึ่งอยู่ใกล้เขมรที่สุด โดยช่วยปราบปราม เมืองประทายเพชร เมืองประทายมาศ เมืองรูวดำแรย์ เมืองกำปงสวาย และเมืองเสียมราฐ การปราบปรามยังไม่ราบคาบ เกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรีจึงต้องยกทัพกลับ ในสงครามครั้งนี้ได้มีพวกเขมรหลบหนีสงครามจากเมืองเสียมราฐ เมืองกำปงสวาย เมืองประทายเพชรและเมืองอื่น ๆ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ และเมืองสังขะเป็นจำนวนมาก ดังนั้นชาวเมืองคูประทาย ซึ่งเป็นส่วยจึงปะปนกับเขมร ทำให้วัฒนธรรมเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเสร็จศึกเมืองเวียงจันทน์ และเมืองเขมรแล้ว เจ้าเมืองประทายสมันต์ จึงได้รับการปูนบำเหน็จรางวัลแก่เจ้าเมืองสุรินทร์ โดยเลื่อนขึ้นเป็น พระยา คือ ( พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง) ปุม)

สำหรับเมืองปทายสมันต์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้าให้เปลี่ยนชื่อจากเมืองปทายสมันต์ เป็น เมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง มาแต่ปี พ.ศ. 2329

พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ตั้งแต่ พ.ศ 2306 จนถึง พ.ศ. 2337 จึงถึงแกอนิจกรรม รวมระยะเวลาการเป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ ได้ 31 ปี มีบุตรชาย 2 คน หญิง 2 คน (อาจมีมากกว่านี้ ค้นคว้าไม่ได้ ) คงปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้าได้เพียง 4 คน เท่านั้น คือ 1. นายตี หรือ แต็ย 2. นายมี หรือ แม็ย 3.นางน้อย 4. นางเงิน


เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่ 2 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี หรือ แต็ย )

เมื่อพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) ถึงแกกรรมนายตี หรือ แต็ย บุตรชายคนโต จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระสุรินทร์ศรีณรงค์จางวาง และดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ ลำดับที่ 2

ส่วนนายมี หรือ แม็ย บุตรชายคนที่ 2 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงวิเศษราชา ปละได้รับแต่งตั้งให้เป็น นายกอง ไปปกครองท่าลาดอุดร (บ้านตูม พงสวาย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในปัจจุบัน)

ลุจุลศักราช 1161 ปีมะแม เบญจศกพ.ศ. 2342 รศ. 18 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช พระอง๕ได้มีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนชื่อเจ้าเมืองสุรินทร์ ใหม่ จาก พระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์ ลำดับที่ 2 เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ตั้งแต่จุลศักราช 1156 ปี ขาล ฉ ศก พ.ศ. 2337 ถึงจุลศักราช 1170 ปีมะโรงสัมฤทธิศก พ.ศ. 2351 จึงถึงแก่กรรม รวมระยะเวลาเป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ ได้ 14 ปี

พระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ( ตี หรือ แต็ย ) มีบุตรสืบเชื้อสาย เป็น ชาย 7 คน หญิง 5 คน รวม 12 คน (เข้า คือ 1. นายสุ่น 2. นายแก้ว 3. นายทอง 4. นายโสร์ 5. นายปรัง 6. นายสอน 7. นายยง 8. นางแพง 9. นางไข 10 นางคำ 11. นางตี 12. นางตน


บุตรชายคนที่ 1 คือนายสุ่น ต่อมาได้เป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมือง สุรินทร์ คนที่ 4 ซึ่งเป็น อินทนูจิตร, รันตสูรย์,สมานรักษ์,พิศวง,ทัศศรี,สุนทร, และภุคธารา ซึ่งจะได้ลำดับเชื้อสาย อินทนูจิตรในลำดับต่อไป บุตรชายคนที่ 6 นายสอน มีบุตรชายชื่อจรัณ ซึ่งต่อมาได้เป็น พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่ 7 บุตรหญิงคนที่ 9 นางไข ได้สามีชื่อ พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ (อยู่) เจ้ามืองสุรพินทนิคคม (อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ในปัจจุบัน )


เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่ 3 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ( มีหรือ แม็ย )


พระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (มี หรือ แม็ย ) เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) เมื่อจุลศักราช 1156 ปีขาล ฉ ศก พ.ศ. 2337 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงวิเศษราชา ปละได้รับแต่งตั้งให้เป็น นายกอง ไปปกครองท่าลาดอุดร (บ้านตูม พงสวาย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในปัจจุบัน) ต่อมาถึงจุลศักราช 1170 ปีรมะโรง สัมฤทธิศก พ.ศ. 2351 พระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี หรือ แต็ย ) เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่ 2 ซึ่งเป็นพีชายได้ถึงแก่อนิกรรม หลวงวิเศษราชา ((มี หรือ แม็ย ) จึงได้รับพระราชโองการ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ แทน จนถึงจุลศักราช 1173 ปีมะแม ตรศก ตรงกับ พ.ศ. 2354 ก็ถึงแก่กรรม รวมระยะเวลาเป็นเจ้าเมือง ประมาณ 4 ปี


พระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (มี หรือ แม็ย ) มีบุตรชาย 4 คน และ บุตรหญิง 11 คน คือ 1. นายพรหม 2. นายตัง 3. นายวัง 4. นายปาว 5. นางกูด 6. นางปุม 7. นางบัว 8. นางแจ 9. นางภา 10. นางบุญ 11. นางสุข

นายพรหมบุตรชายคนที่ 1 ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระวิเศษราชา มีบุตรสืบเชื้อสาย เท่าที่ค้นคว้าได้

1. นายเพชร 2. นายกลิ่น 3. นายทองอินทร์ (ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์ เป็น หลวงราชวรินทร์) 4. นายบุตร (ต่อมาเป็นหลวงจตุรงค์วงศา)


ในปีจุลศักราช 1244 ปีมะเมีย จัตวาศก พ.ศ. 2425 ร.ศ. 101 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านทับค่าย เป็นเมืองชุมพลบุรี และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้บุตรของพระวิเศษราชา (พรหม ปกครองเมืองชุมพลบุรี)

เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่ 4 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ( สุ่น )


พระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ( สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่ 4 เชื้อสายของท่านกว้างขวางมากสายหนึ่ง ตระกูลเก่าแก่และมีชื่อเสียงหลายตระกูลที่มีอยู่ในจังหวัดสุรินทร์นี้ ได้แก่ อินทนูจิตร, รันตสูรย์,สมานรักษ์,พิศวง,ทัศศรี,สุนทร, และภุคธารา จะเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากท่านพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่ 4 เมิ่อพระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (มี หรือ แม็ย ) เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่ 3 ถึงแก่อนิจกรรมพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเล้าโปรดกระหม่อม ให้นายสุ่น บุตรชายคนแรกของพระสุรินทร์ศรีณรงค์จางวาง(ศรีไผทสมันต์) (ตีหรือ แต็ย)เจ้าเมืองสุรินทร์ ลำดับที่ 2

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์คนที่ 4 สืบต่อมา ในจุลศักราช 1178 ปีมะแม ตรีศก พ.ศ. 2354 ร.ศ. 30 และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระสุรินภักดีศรีไผทสมันต์


ในปีจุลศักราช 1190 ปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. 2371 ร.ศ. 47 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเล้าให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมัน เนื่องจากมีความดีความชอบในการส่งกำลังนักรบสุรินทร์ไปสมทบกับกองทัพหลวงซึ่งยกกำลังไปปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบในแผ่นดิน และการก่อกบฏคือ อลัชชี “สาเขียดโง้ง” พระราชพงศาวดารเรียก “ผีบุญ” และกบฏเจ้าอนุวงแห่งเวียงจันทร์ จนประสบชัยชนะ

สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ( สุ่น) เจ้ามืองสุรินทร์คนที่ 4 ต้นตระกูล อินทนูจิตร เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ นานที่สุด คือ ตั้งแต่ต้นปีมะแม จ.ศ. 1173 พ.ศ. 2354 ร.ศ. 30 ถึง ปีกุน จ.ศ. 1213 พ.ศ. 2394 ร.ศ. 70 จึงถึงแกอนิจกรรม รวมระยะเวลาการเป็นเจ้าเมือง 40 ปี พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ( สุ่น) สมรสกับนางสาวดาม มาตะไว บุตรตรีเจ้าเมืองปทายเพชร (ในเขตกัมพูชา) ซึ่งหลบหนีภัยสงครามพร้อมครอบครัว มาอยู่ที่บ้านคูปทาย (เมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน) มีบุตรด้วยกันเป็นชาย 7 คน หญิง 1 คน รวม 8 คน ดังนี้ 1. นาวงจันทร์ 2. พระไชยณรงค์ภักดี (มาส หรือ เมียส) 3. พระสุนทรภักดี (เม็ง) 4. พระกุมาลย์มนตรี (มาลย์) 5. พระพิชัยวงศา (ม่วง หรือ โมง) 6. พระไชยณนงค์ภักดี (นาก หรือบุณนาก) 7. นายแก้ว 8. พระพิทักษ์สุนทร (ตง หรือ ต็อง) บุตรของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ( สุ่น) กับนาง ดาม คนที่ 7 ชื่อ นายแก้ว นายแก้วสมรสกับนางศรี คนบ้านสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ 1. หลวงภักดีนุชิต (พรหม) ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสุรินทร์บริรักษ์ ผู้ช่วยเจ้าเมือง 2. นายสุวรรณ 3. นายผึ้ง ซึ่งบุตรมีการสืบเชื้อสายดังนี้ 1. พระยาสุรินทร์บริรักษ์(หลวงภักดีนุชิต) ต้นสกุลอินทนูจิตรกับรัตนสูรย์ สมรสกับนางอิม มีบุตร 2 คน คือ นายนุง และนาย อินทร์ซึ่งต่อมาได้สมรสกับนางสะอาด 2. นายสุวรรณ สมรสกับนางทอ (ไม่มีบุตรสืบเชื้อสาย)

ผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสกุลสัมพันธ์ พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (สุ่น) + นางดาม นายอินทร์ + นางสะอาด (ยังไม่มีนามสกุลใช้) นายแก้ว + นางศรี 1.หลวงสุรินทร์บริรักษ์ 2.นายสุวรรณ 3. นายผึ้ง

นายอินทร์ + นางสะอาด ต้นตระกูล มีบุตรธิดา 6 คน แต่เดิมยังไม่มีนามสกุลใช้ ภายหลังต่อมาได้มีพระราชบัญญัติให้ขนานนามสกุลบังคับใช้ ในปี พ.ศ. 2456 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บุตรแต่ละคนของ นายอินทร์ + นางสะอาด (ปู่ทวด,ย่าทวด) ก็ตั้งนามสกุลขึ้นใช้เป็นของตนเอง ส่วนธิดา 2 คน ก็ไปใช้นามสกุลของสามี ดังมีรายละเอียดของการสืบเชื้อสายดังนี้

นายอินทร์ + นางสะอาด มีบุตรธิดา 6 คน คือ 1. นายนุง อินทนูจิตร 2. นายเฮาะ สมานรักษ์ 3. นายทุนพิศวง 4. นางแม้น (เกี่ยวพัน “ภัคธารา” 5. นางทิม (เกี่ยวพัน “สุนทร”) 6. นายทัด ทัดศรี นายนุง + นางละมุด อินทนูจิตร (ต้นสกุล) มีบุตร 9 คน ดังนี้ 1. นายสอด อินทนูจิตร 2. นายทิน อินทนูจิตร 3. นางงิว ชูตาลัด 4. นางอาม รัตนสูรย์ 5. นางปาน ทิพารัตน์ 6. นายสม อินทนูจิตร 7. นายสัตย์ อินทนูจิตร 8. นางปุม แซ่จึง 9. นางแก้ว สุจินพรหม มีการสืบเชื้อสายดังนี้ 1. นายสอด อินทนูจิตรสมรสกับนาง อุ มีบุตร 7 คน 1.1นายลิบ + นางเขียด จงยาว (ไม่มีบุตร) 1.2 นางสาวออ 1.3 พระครูญาณวิริยาคม (หลวงปู่เวียน) อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองบัวสุรินทร์ 1.4 นายดอน + นางกม อินทนูจิตร มีบุตร 8 คน (1) นายดวน อินทนูจิตร (2) ส.อ.พจน์ อินทนูจิตร (3) นายเลื่อน อินทนูจิตร (4) นายลอย อินทนูจิตร (5) นายเลื้อย อินทนูจิตร (6) นางสมุน พรมทอง (7) นายพิชัย อินทนูจิตร (8) ด.ต ไพจิตร อินทนูจิตร 1.5 นายเด่น อินทนูจิตร มีบุตร 2 คน 1.6 นางเอย + นายแสม มีบุตร 1 คน (1) นายเสงี่ยม 1.7 นางเอ๊ก + นางเยาว์ มีบุตร 2 คน (1) นางธรรมนูญ กระแสบัว (2) นางคำมี สุขร่วม 2. นายทิน อินทนูจิตร สมรสกับ นางอู (นามสกุลนาม สุกิมานิล ) นายทิน + นางอู อินทูจิตร (ปู่ทวด ย่าทวดรุ่น นายชาญวิทย์) มีบุตร 3 คน 2.1 นายหนูหริ่ง หรือริ่ง + นางเพียร อินทนูจิตร มีบุตร 1 คน (1) นางปิ่นทอง + นายอิง เส้นทอง นายริ่ง สมรสครั้งที่ 2 + นางคลิบ มูลศาสตร์ มีบุตร 7 คน คือ (1) นายดำรง + นางอรุณี อินทนูจิตร มีบุตร ธิดา 5 คน

บุตรคนที่3. พล.ต.ต. ชัยทัต อินทนูจิตร (อุ๊) พลตำรวจตรี ชัยทัต อินทนูจิตร จบ ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่น 1 ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต ด้านบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่น 1 และ จบ นบ. รุ่น 8 รับราชการครั้งแรกในสายตำรวจตระเวณชายแดน ณ เขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ จนถึงปัจจุบันยังรับผิดชอบในส่วนชายแดนภาคใต้ ปัจจุบัน ได้รับโปรดเกล้า ฯ พระราชทานตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ไปรบในพื้นที่ก่อการร้าย สามารถประสานงานทั้งสามฝ่าย ทหาร ตำรวจ ประชาชน และ เป็นนายผู้มีเมตตา ชีวิตคุณพ่อเป็นนักรบโดยแท้ พล.ต.ต. ชัยทัต อินทนูจิตร ได้รับพระราชทานพระนามาธิไภย ภปร. ของในหลวง เทียบเท่า นายตำรวจพระราชสำนัก ผู้รับใช้ใต้เยื้องพระยุคลบาท

พล.ต.ต. ชัยทัต อินทนูจิตร สมรสกับอาจารย์ชวศิริ อินทนูจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (ญ.ส.) มีบุตร 2 คน คือ

3.1 นายชนกณน อินทนูจิตร ปริญญาตรีรัฐศาสตร์(โอห์ม) ที่ปรึกษาด้านการข่าวและสืบสวน5จังหวัดชายแดนภาคใต้

3.2 นายกมลนาวิน อินทนูจิตร กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สิงหาคม 2558 แก้

  สวัสดี และยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียไทย ซึ่งขณะนี้การแก้ไขที่หน้า พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ได้ถูกย้อนกลับแล้ว เนื่องจากว่าเนื้อหาที่คุณเพิ่มนั้นไม่เป็นสารานุกรม หรืออาจนำมาจากเว็บไซต์ หรือแหล่งข้อมูลอื่น ซึ่งในกรณีแบบนี้อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งเราขอแนะนำให้คุณศึกษาวิธีเขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ และแนวทางการเขียนให้ดียิ่งขึ้น ขอบคุณสำหรับความพยายามที่จะปรับปรุงบทความ โปรดทราบว่าผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง อาจถูกห้ามมิให้แก้ไขบทความชั่วคราว อย่างไรก็ดีเรายินดีรับเนื้อหาที่คุณเขียนขึ้นเองเสมอ

ข้อความนี้เป็นข้อความที่แจ้งอัตโนมัติโดยบอตคุง กรุณาแจ้งที่หน้านี้หากคุณคิดว่าการแจ้งนี้เป็นความเข้าใจผิด --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 10:33, 29 สิงหาคม 2558 (ICT)

  กรุณาหยุดเพิ่มเนื้อหาที่ไม่เป็นสารานุกรม หรืออาจละเมิดลิขสิทธิ์จากแหล่งอื่น อย่างที่คุณได้ทำที่หน้า สกุล อินทนูจิตร ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจถือเป็นการก่อกวน นี่เป็นการเตือนครั้งสุดท้าย และในกรณีที่ทางเราพบว่าคุณได้ก่อกวน หรือยังพยายามใส่เนื้อหาที่อาจละเมิดลิขสิทธิ์ครั้งหน้า คุณอาจถูกบล็อกจากการแก้ไขชั่วคราวได้ทันที หากพบว่านี่เป็นความเข้าใจผิดและคุณได้มีเจตนาดี กรุณาแจ้งที่หน้านี้ ขอขอบคุณสำหรับร่วมมือ และร่วมพัฒนาวิกิพีเดียไทย --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 10:43, 29 สิงหาคม 2558 (ICT)

ต้องการสัญญาอนุญาต ไฟล์:Kamonawin.jpg แก้

ขอขอบคุณที่คุณได้อัปโหลด ไฟล์:Kamonawin.jpg อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ภาพดังกล่าวยังไม่ได้ถูกกำหนด "สัญญาอนุญาต" ซึ่งทางวิกิพีเดียนั้นมีนโยบายที่เคร่งครัดในเรื่องลิขสิทธิ์ โดยภาพดังกล่าวจะถูกลบทิ้งภายใน 7 วัน หากไม่มีการระบุ สัญญาอนุญาต และ แหล่งที่มา

  • หากไม่ทราบหรือไม่แน่ใจ กรุณาศึกษานโยบายการใช้ภาพ และสอบถามได้ที่เลขาชาววิกิพีเดีย
  • สำหรับภาพที่คุณได้อัปโหลดไว้แล้วและเพื่อป้องกันการถูกลบ สามารถเข้าไปแก้ไขและระบุเพิ่มเติมได้ตามที่กล่าวไว้ที่ ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของภาพ ซึ่งจะมีรายชื่อป้ายสัญญาอนุญาตที่คุณสามารถเลือกมาใช้เพื่อระบุสัญญาอนุญาตของภาพ
  • สำหรับครั้งต่อไปที่คุณทำการอัปโหลดภาพ สามารถระบุได้จากหน้าอัปโหลดโดยตรง

ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือและร่วมเขียนในวิกิพีเดีย ข้อความนี้เป็นข้อความแจ้งเตือนอัตโนมัติโดยบอตคุง หากคุณพบว่านี่เป็นข้อผิดพลาด หรือมีข้อสงสัย กรุณาแจ้งที่ คุยกับผู้ใช้:Jutiphan --บอตคุง | แจ้งผู้ดูแล 00:56, 30 สิงหาคม 2558 (ICT)

ต้องการสัญญาอนุญาต ไฟล์:Kamonawin.jpg แก้

ขอขอบคุณที่คุณได้อัปโหลด ไฟล์:Kamonawin.jpg อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ภาพดังกล่าวยังไม่ได้ถูกกำหนด "สัญญาอนุญาต" ซึ่งทางวิกิพีเดียนั้นมีนโยบายที่เคร่งครัดในเรื่องลิขสิทธิ์ โดยภาพดังกล่าวจะถูกลบทิ้งภายใน 7 วัน หากไม่มีการระบุ สัญญาอนุญาต และ แหล่งที่มา

  • หากไม่ทราบหรือไม่แน่ใจ กรุณาศึกษานโยบายการใช้ภาพ และสอบถามได้ที่เลขาชาววิกิพีเดีย
  • สำหรับภาพที่คุณได้อัปโหลดไว้แล้วและเพื่อป้องกันการถูกลบ สามารถเข้าไปแก้ไขและระบุเพิ่มเติมได้ตามที่กล่าวไว้ที่ ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของภาพ ซึ่งจะมีรายชื่อป้ายสัญญาอนุญาตที่คุณสามารถเลือกมาใช้เพื่อระบุสัญญาอนุญาตของภาพ
  • สำหรับครั้งต่อไปที่คุณทำการอัปโหลดภาพ สามารถระบุได้จากหน้าอัปโหลดโดยตรง

ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือและร่วมเขียนในวิกิพีเดีย ข้อความนี้เป็นข้อความแจ้งเตือนอัตโนมัติโดยบอตคุง หากคุณพบว่านี่เป็นข้อผิดพลาด หรือมีข้อสงสัย กรุณาแจ้งที่ คุยกับผู้ใช้:Jutiphan --บอตคุง | แจ้งผู้ดูแล 01:56, 30 สิงหาคม 2558 (ICT)

ต้องการสัญญาอนุญาต ไฟล์:กมลนาวิน.jpg แก้

ขอขอบคุณที่คุณได้อัปโหลด ไฟล์:กมลนาวิน.jpg อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ภาพดังกล่าวยังไม่ได้ถูกกำหนด "สัญญาอนุญาต" ซึ่งทางวิกิพีเดียนั้นมีนโยบายที่เคร่งครัดในเรื่องลิขสิทธิ์ โดยภาพดังกล่าวจะถูกลบทิ้งภายใน 7 วัน หากไม่มีการระบุ สัญญาอนุญาต และ แหล่งที่มา

  • หากไม่ทราบหรือไม่แน่ใจ กรุณาศึกษานโยบายการใช้ภาพ และสอบถามได้ที่เลขาชาววิกิพีเดีย
  • สำหรับภาพที่คุณได้อัปโหลดไว้แล้วและเพื่อป้องกันการถูกลบ สามารถเข้าไปแก้ไขและระบุเพิ่มเติมได้ตามที่กล่าวไว้ที่ ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของภาพ ซึ่งจะมีรายชื่อป้ายสัญญาอนุญาตที่คุณสามารถเลือกมาใช้เพื่อระบุสัญญาอนุญาตของภาพ
  • สำหรับครั้งต่อไปที่คุณทำการอัปโหลดภาพ สามารถระบุได้จากหน้าอัปโหลดโดยตรง

ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือและร่วมเขียนในวิกิพีเดีย ข้อความนี้เป็นข้อความแจ้งเตือนอัตโนมัติโดยบอตคุง หากคุณพบว่านี่เป็นข้อผิดพลาด หรือมีข้อสงสัย กรุณาแจ้งที่ คุยกับผู้ใช้:Jutiphan --บอตคุง | แจ้งผู้ดูแล 10:52, 15 มกราคม 2559 (ICT)

ต้องการสัญญาอนุญาต ไฟล์:Kamonawin.jpg แก้

ขอขอบคุณที่คุณได้อัปโหลด ไฟล์:Kamonawin.jpg อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ภาพดังกล่าวยังไม่ได้ถูกกำหนด "สัญญาอนุญาต" ซึ่งทางวิกิพีเดียนั้นมีนโยบายที่เคร่งครัดในเรื่องลิขสิทธิ์ โดยภาพดังกล่าวจะถูกลบทิ้งภายใน 7 วัน หากไม่มีการระบุ สัญญาอนุญาต และ แหล่งที่มา

  • หากไม่ทราบหรือไม่แน่ใจ กรุณาศึกษานโยบายการใช้ภาพ และสอบถามได้ที่เลขาชาววิกิพีเดีย
  • สำหรับภาพที่คุณได้อัปโหลดไว้แล้วและเพื่อป้องกันการถูกลบ สามารถเข้าไปแก้ไขและระบุเพิ่มเติมได้ตามที่กล่าวไว้ที่ ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของภาพ ซึ่งจะมีรายชื่อป้ายสัญญาอนุญาตที่คุณสามารถเลือกมาใช้เพื่อระบุสัญญาอนุญาตของภาพ
  • สำหรับครั้งต่อไปที่คุณทำการอัปโหลดภาพ สามารถระบุได้จากหน้าอัปโหลดโดยตรง

ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือและร่วมเขียนในวิกิพีเดีย ข้อความนี้เป็นข้อความแจ้งเตือนอัตโนมัติโดยบอตคุง หากคุณพบว่านี่เป็นข้อผิดพลาด หรือมีข้อสงสัย กรุณาแจ้งที่ คุยกับผู้ใช้:Jutiphan --บอตคุง | แจ้งผู้ดูแล 11:52, 15 มกราคม 2559 (ICT)