ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Issacjesus สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Issacjesus! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 21:18, 3 กุมภาพันธ์ 2557 (ICT) ประวัติ ศาสนาจารย์ บุญมาก กิตติสาร

	ศาสนาจารย์บุญมากเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งของประวัติศาสตร์เพ็นเทคอสต์ไทยในศตวรรษที่ 20 ท่านเกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1898 ที่จังหวัดราชบุรี และจบการศึกษาจากกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในปี 1921 ท่านกลับใจรับเชื่อพระเยซูคริสต์ขณะกำลังศึกษาอยู่ ณ วิทยาลัยแห่งนี้ หลังจบการศึกษา ท่านก็ได้เป็นนักประกาศของหน่วยงานมิสชั่นเพรสไบทีเรียนอเมริกันประจำจังหวัดพิษณุโลก ต่อมาท่านก็จบการศึกษาจากวิทยาลัยศาสนศาสตร์แมคกิลวารีในปี 1930 และในปี 1933 ท่านก็ย้ายไปเป็นนักประกาศของเพรสไบทีเรียนประจำกรุงเทพฯ การประชุมใหญ่ครั้งแรกของสภาคริสตจักรในประเทศไทยเมื่อเดือนเมษายน 1934 ได้มีมติเลือกท่านเป็นผู้ช่วยเลขาธิการ และในเดือนสิงหาคม 1934 ท่านก็ได้รับการสถาปนาเป็นศิษยาภิบาลของคริสตจักรที่สอง กรุงเทพฯ ในระหว่างปี 1938-1939 ท่านเป็นล่ามให้กับ ดร. จอห์น ซง ซึ่งเป็นนักประกาศฟื้นฟูชาวจีน และท่านก็กลายเป็นผู้สนับสนุน ดร. ซง อย่างออกนอกหน้าที่สุด สภาคริสตจักรฯ ได้เลือกท่านเป็นเลขาธิการในปี 1938 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ศาสนาจารย์บุญมากเดินทางต่อเนื่องยาวนานเพื่อไปหนุนใจบรรดาคริสตจักรในสังกัดสภาคริสตจักรฯ และช่วยคริสตจักรเหล่านี้ให้อดทนต่อการกดขี่และความกดดันต่างๆ อย่างไรก็ตาม หลังสงครามสงบ ท่านก็ลาออกจากสภาคริสตจักรในปี 1948 และเข้าร่วมในการก่อตั้งและพัฒนาคณะเพ็นเทคอสต์ในประเทศไทย ในปี 1957 ท่านได้ก่อตั้งคริสตจักรอิสระขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ชื่อ คริสตจักรกรุงเทพ และท่านยังได้ก่อตั้ง “สมาคมคริสตจักรอิสระ” โดยตัวท่านเองดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไป ท่านมีบทบาทสำคัญในงานรณรงค์ประกาศของ ดร. ที.แอล. ออสบอร์น นักเทศน์เพ็นเทคอสต์ชาวอเมริกัน ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อปี 1956 ต่อมาภายหลัง ท่านยังได้เข้าร่วมกับกลุ่มสหคริสตจักรเพ็นเทคอสต์ (United Pentecostal Church หรือยูพีซี) ของอเมริกา แม้ว่าในตอนแรกยูพีซีในประเทศไทยจะเติบโตอย่างมาก แต่กลุ่มนี้ก็เสื่อมสลายลงอย่างรวดเร็วเมื่อท่านถอนตัวจากการเป็นผู้นำในช่วงท้ายของทศวรรษที่ 60 ศาสนาจารย์บุญมากเสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1987

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Issacjesus (พูดคุยหน้าที่เขียน) 21:31, 3 กุมภาพันธ์ 2557 (ICT)

ประวัติ จอห์น เอ เอกิ้น (John A. Eakin) มีมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนร่วม 500 คนที่ ปฏิบัติงานอยู่ในแผ่นดินสยามแล้ว 170 ปี (ค.ศ.1840-2010) ล้วนเป็นผู้เสียสละเพื่อพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ และได้นำความรักและความรอดมาสู่ชาวสยาม และยังได้ก่อตั้งคริสตจักร ตั้งโบสถ์แล้ว ก็ยังได้บุกเบิกการศึกษาและการแพทย์ สร้างสถาบันที่มั่งคงและเป็นที่เชื่อถือของชาวสยามและวงการต่างๆ ตลอดมา และมีมิชชันนารีที่เรารู้จักกันดี ที่เราเคารพและรักนั้นก็มีอยู่มาก แต่ก็ยังมีหลายบุคคลที่เราเกือบจะไม่ได้ยินชื่อเสียงและรู้จักชื่อของพวกเขาก็มีอยู่เป็นมาก บุรุษอย่าง ดร. จอห์น เอ เอกิ้น ที่ได้เข้ามาทำงานในสยามและได้ฝากร่างของท่านไว้กับบนแผ่นดินสยาม และยังมีลูกหลานของท่าน ญาติพี่น้องและลูกเขยของท่านที่ทำงานอยู่ในบนแผ่นดินสยามนี้ถึง 16 คน รวมอายุแล้วมากกว่า 400ปี ท่าน จอห์น เป็นมิชชันนารีที่มีถ่อมตัวถ่อมใจและเป็นคนมุ่งหน้าเน้นการทำงานแบบไม่เคยห่วงชีวิตของตัวเอง และที่สำคัญท่านไม่ค่อยบันทึกเรื่องราวชีวิตของท่านไว้มากพอที่จะเป็นบันทึกให้เราได้ซาบซึ้งสมกับชีวิตที่ยิ่งใหญ่ของท่าน และคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างไว้ แต่เมื่อเราได้รวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนถึงท่าน เราก็อดที่จะยกย่องสรรเสริญและให้เกียรติแกท่านเสียมิได้ จอห์น เป็นเด็กหนุ่มบ้านนอกแห่งท้องที่อยู่ในมลรัฐเพนซิลวาเนีย และมีบิดาที่เปิดร้านขายของเล็กๆ และได้สั่งสอนให้จอห์นเป็นเด็กที่มีนิสัยสัตย์ซื่อ เข้มแข็งและรู้จักทำงานด้วยความอดทนตั้งแต่เด็ก ทั้งพ่อและแม่ของจอห์นเป็นผู้เชื่อที่เข้มแข็งในพระเจ้า และได้อบรมสั่งสอนให้จอห์นอยู่ในเส้นทางของพระเจ้าและให้สัตย์ซื่อกับพระเจ้าเสมอ จอห์นมีความฝันอยากจะเป็นศิษยาภิบาลที่สง่างามเหมือนศิษยาภิบาลที่โบสถ์ของเขา และจอห์นสนใจมากกับเรื่องราวของมิชชันนารีที่เสียสละชีวิตของตนเองทำงานรับใช้พระเจ้าในส่วนต่างๆของโลก และแล้วดูเหมือนโอกาสนั้นก็มาถึง เมื่อมีการประกาศหาผู้ที่จะไปเป็นครูในสยามประเทศ เวลานั้นจอห์นเองก็ได้สำเร็จการศึกษาพอดี เขาจึงยื่นใบสมัคและก็ได้รับการเลือกสมความปรารถนา จอห์นได้ออกเดินทางสู่สยามที่เขาไม่รู้จักตามคำเชิญของ ดร. เอส. จี. แมคฟาแลนด์ ให้ไปเป็นครูที่ King’s College หรือโรงเรียนสวนอนันต์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จอห์นเริ่มต้นทำงานในสยามโดยรับราชการเป็นครูสอนอยู่ที่โรงเรียนสวนอนันต์ หรือ King’s College อยู่ 4ปี และด้วยความสะเทือนใจที่ท่านได้เห็นชีวิตของชาวสยามในเวลานั้นที่ต้องล้มตายเหมือนใบไม้ใบหญ้าเพราะอหิวาห์ จอห์นเป็นห่วงจิตวิญญาณพวกเขาเหล่านั้นและเป็นสาเหตุให้จอห์นต้องกลับไปสหรัฐและสมัคเป็นมิชชันนารีกลับมาประเทศไทยอีกครั้งด้วยความฝันที่จะตั้งโรงเรียนสำหรับชาวบ้าน คนยากไร้ โดยที่จะหาเงินมาสร้างด้วยตัวเอง จอห์นออกเดินทางจากสยามด้วยจิตใจที่เชื่อมั่นและแน่วแน่ว่า พระเจ้าทรงพอพระทัยที่จะให้เขาสมัคเป็นมิชชันนารี กลับมาสยามอีกครั้งนึ่ง ขณะที่จอห์นศึกษาวิชาศาสนาศาสตร์อยู่นั้นจอห์นได้ออกเดินทางไปเทศนาตามคริสตจักรต่างๆและพบปะกับผู้คนมากมายเพื่อจะขอทุนที่จะกลับมาสร้างโรงเรียนที่สยาม เวลานั้น มิสลอร่า โอล์มสเตด ได้ให้เงินแก่จอห์น 5 ดอลลาร์ และไม่นาน มิสลอร่า โอล์มสเตด คือเจ้าสาวของจอห์นในเวลาต่อมา และทั้งคู่ก็ได้เดินทางกลับมาสู่สยามด้วยจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน เขาทั้งสองกลับมาพร้อมกับเงินที่มีผู้บริจาคให้สำหรับการสร้างโรงเรียนใหม่ และในเวลาต่อมาไม่นาน จอห์นผู้มากับความฝันก็ได้ทำความฝันสำเร็จ คือได้สร้างโรงเรียนใหม่ให้แก่ชาวสยาม คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในทุกวงการของประเทศไทยและวงการพี่น้องคริสเตียน ความยิ่งใหญ่ของ จอห์น เอ เอกิ้น ก็คือชีวิตของท่านเอง ท่านได้ทำความฝันของท่านให้เป็นจริง และท่านเป็นนักก่อสร้างตึก สร้างอาคาร และสร้างคน ผลงานของท่านนั้นมีมาก และสมควรที่จะได้รับการยกย่องอย่างสูง บั้นปลายชีวิตของท่านนั้น ก็คือครูที่มีความสุขที่ได้สร้างชีวิตของลูกศิษย์ให้ประสบความสำเร็จมีชีวิตที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติมากมาย --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Issacjesus (พูดคุยหน้าที่เขียน) 12:23, 8 กุมภาพันธ์ 2557 (ICT)

จอห์น เอ เอกิ้น (John A. Eakin) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Issacjesus (พูดคุยหน้าที่เขียน) 19:40, 4 มีนาคม 2557 (ICT)