ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Champassaksdd สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Champassaksdd! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (คุย) 06:33, 20 พฤษภาคม 2566 (+07)ตอบกลับ

คำนำหน้านามของเจ้านายและภรรยาเจ้าในราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์


== เจ้าที่เป็นชาย ==

      เจ้าที่เป็นชายในราชวงศ์ มีบิดาเป็น “เจ้า” สมรสกับเจ้าที่เป็นหญิงหรือหญิงสามัญ สามารถใช้คำว่า “เจ้า” ได้ทันทีทุกพระองค์เมื่อแรกประสูติ[1]

== เสด็จเจ้า==


เป็นคำนำหน้าพระนามของเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ และเจ้าพี่น้องที่เป็นชายของเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์[2]

ดังเช่น เสด็จเจ้าบุญอุ้ม เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ พระองค์ที่ 13 ต้นราชสกุล ณ จำปาศักดิ์

โดยเสด็จเจ้าบุญอุ้มเป็นผู้ริเริ่มใช้นามราชสกุลสะกดอย่างภาษาไทยว่า “ณ จำปาศักดิ์”[3]


สำหรับนามราชสกุลสะกดอย่างภาษาไทยว่า “ณ จัมปาศักดิ์” นั้นรัชกาลที่ 6 แห่งพระราชวงศ์จักรี ได้พระราชทานแก่เจ้าเบ็ง (เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์) และเจ้าอุย (เจ้าศักดิ์ประเสริฐ)[4]


เสด็จเจ้าบุญอ้อม พระอนุชาในเสด็จเจ้าบุญอุ้ม เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ พระองค์ที่ 13 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาวและอดีตเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์[5]


เจ้ากระต่าย-เจ้ากระแต ต้นราชสกุล ศรีดาเดช

โดย เจ้ากระต่าย-เจ้ากระแต เป็นพระอนุชาในเสด็จเจ้าอุปราชเสือ เป็นพระโอรสในเสด็จเจ้าอุปราชอินทร์[6]  

     

==อัญญา หรือ อาชญา==


ใช้กับเจ้าที่เป็นชายผู้ถือกำเนิดในราชวงศ์ ที่มีพระมารดาเป็นเจ้าและมีบิดาเป็นสามัญชน เป็นพระยศแห่งราชวงศ์รองจากเจ้าที่เป็นชาย ผู้มีพระบิดาเป็นเจ้าในราชวงศ์[7][8]


อัญญา หรือ อาชญา หรือ ยา หมายถึง เจ้านาย เจ้าชีวิต เจ้าผู้เป็นใหญ่เหนือกฎหมาย เหนือชีวิต[9][10]


สถานะคำนำหน้าชื่อที่เรียก “เจ้า” ในราชวงศ์จำปาศักดิ์ จะสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าที่เป็นชายในชั้น “อัญญา” หรือ “อาชญา” ไปสมรสกับหญิงสามัญ[11]


ดังเช่น ยาชุบ สามีเจ้านางบุญชู ยาใจ สามีเจ้านางรัตนะนารี ยาแก้ว สามีของเจ้านางศรีวิลัย เป็นต้น[12]


      ในกรณีพิเศษ เจ้าที่เป็นชายในชั้น “อัญญา” หรือ “อาชญา” ผู้มีบิดาเป็นสามัญชน สามารถเปลี่ยนมาใช้คำว่า “เจ้า” นำหน้าพระนามได้ เมื่อพระมารดา เจ้าที่เป็นหญิงได้รับการเลื่อนสถานะในลำดับชั้นสูงสุดเป็น “เจ้าเฮือนหญิง” เท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐาน ได้แก่ เจ้าศร บุตโรบล พระโอรสในเจ้าเฮือนหญิงทองพันธ์ ณ จำปาศักดิ์ และพระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง บุตโรบล)[13]

      และเจ้าวงศ์สวรรค์ สินบัณฑิต พระโอรสในเจ้าเฮือนหญิงบุญแอ้ม ณ จำปาศักดิ์ สินบัณฑิต พระธิดาองค์ใหญ่ในเสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ และหม่อมแดง[14]

      ==เจ้าที่เป็นชายกับตำแหน่งอาญาสี่'==[15]


1.พระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้าผู้ครองนคร เป็นหัวหน้าผู้บริหารสูงสุดของแคว้นและเมืองแล้วแต่กรณี มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ดูแลผลประโยชน์ของบ้านเมือง ดูแลผลประโยชน์ของราษฎร

2.สมเด็จเจ้าอุปราช เสด็จเจ้าอุปราช เป็นตำแหน่งรองจากพระราชาหรือพระเจ้าแผ่นดิน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการปฏิบัติหน้าที่แทนพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนรับผิดชอบเกี่ยวกับบัญชีส่วยสาอากร การคลัง และการเกณฑ์กำลังพลในยามมีราชการสงคราม

3.เสด็จเจ้าราชวงศ์ เจ้าราชวงศ์ เป็นรองจากสมเด็จเจ้าอุปราช เสด็จเจ้าอุปราช รับผิดชอบเรื่องอรรถคดีและการตัดสินถ้อยความข้อพิพากษาทั้งปวง

4.เสด็จเจ้าราชบุตร เจ้าราชบุตร เป็นตำแหน่งตั้งให้แก่ผู้ที่เป็นพระโอรสของพระราชาหรือพระเจ้าแผ่นดิน หรือราชนิกุลผู้ใดผู้หนึ่งก็ได้ ทำหน้าที่ช่วยราชการตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนปฏิบัติกิจการด้านศาสนา เรือกสวน ไร่นา และการเก็บภาษีอากรต่าง ๆ

.

==เจ้าที่เป็นหญิง==


สถานะคำนำหน้าชื่อเจ้าที่เป็นหญิง แบ่งออกได้ดังนี้


'เจ้าเฮือนหญิง-เจ้าเฮือน'

พระราชธิดาของเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ผู้ประสูติแต่เจ้าที่เป็นหญิงหรือ พระมารดาเป็น “เจ้านาง” ขึ้นไป ได้ยศเป็น "เจ้าเฮือนหญิง"[16]


พระราชธิดาของเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ผู้ประสูติจากมารดาเป็นสามัญชน ได้ยศเป็น "เจ้าเฮือน"[17]


ดังเช่น เจ้าเฮือนบุญแอ้ม ณ จำปาศักดิ์ พระราชธิดาองค์ใหญ่ในเสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ มีหม่อมแดงเป็นพระมารดา[18]


จากการที่ราชนิกุลในราชวงศ์จำปาศักดิ์ส่วนใหญ่ได้อพยพลี้ภัยไปอาศัยอยู่ในต่างประเทศ จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการใช้สรรพนามบอกสถานะในความเป็นเจ้าที่เป็นหญิงเสียใหม่ โดยให้ใช้สรรพนามคำเรียก “เจ้าเฮือนหญิง” ในพระราชธิดาของเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ทุกพระองค์ โดยไม่ต้องคำนึงสถานะเดิมของพระมารดาว่า จะมีศักดิ์เป็น “เจ้า” หรือไม่[19]


ดังเช่น ในปัจจุบัน เจ้าเฮือนบุญแอ้ม ณ จำปาศักดิ์ มีพระมารดาเป็นสามัญชน เมื่อพระองค์เสด็จประทับอยู่ในประเทศฝรั่งเศส พระองค์จึงได้รับการเลื่อนสถานะเป็นเจ้าเฮือนหญิงบุญแอ้ม ณ จำปาศักดิ์ สินบัณฑิต (เสกสมรส)


เจ้าที่เป็นหญิง มีบิดาและมารดาเป็น “เจ้า” ด้วยกันทั้งสองฝ่าย พระธิดาจะได้ยศเป็น "เจ้าเฮือน”[20]


ดังเช่น เจ้าเฮือนสุปราณี ณ จำปาศักดิ์ พระธิดาในเจ้าบุญทุ่ม ณ จำปาศักดิ์ และเจ้านางสุดาจันทร์ ศรีดาเดช

เจ้าบุญทุ่ม เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ มีหม่อมบุญน้อมเป็นพระมารดา[21]


== เจ้านาง==

พระธิดา ได้ยศเป็น "เจ้านาง" เมื่อเจ้าที่เป็นชายโดยทั่วไปสมรสกับหญิงสามัญ หรือได้ยศในชั้น “เจ้านาง” ตามฝ่ายมารดา เมื่อพระมารดาในระดับชั้น “เจ้านาง” ขึ้นไปสมรสกับชายสามัญ[22]


ดังเช่น เจ้านางพนอศักดิ์ กองกาญจน์ (แพทย์หญิง พนอศักดิ์ กองกาญจน์) พระธิดาของเจ้านางโสฬศนารี ณ จำปาศักดิ์ สาระโสภณ (นางอักษรการวิจิตร) และรองอำมาตย์โทขุนอักษรการวิจิตร (แห สาระโสภณ) อดีตศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ

โดย เจ้านางโสฬศนารี เป็นพระราชธิดาในเสด็จเจ้าอุปราชคำพันธ์ และหม่อมแจ่ม พระชายา[23][24]


เจ้านางประทุมมา สิงห์ราชภักดิ์ พระธิดาในเจ้าเฮือนหญิงบุญล้น ณ จำปาศักดิ์ และพลตรีผาสุข สำลี สิงห์ราชภักดิ์[25][26]


เจ้านางประทุมมา เป็นอีกบุคคลหนึ่ง มีบทบาทสำคัญในการจัดงานรวมญาติ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 เนื่องในโอกาสราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์ ราชวงศ์ลำดับที่ 2 ของลาว รองจากราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง มีอายุครบรอบ 300 ปี ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[27]

     

เช่นเดียวกัน เนื่องจากสมาชิกราชวงศ์จำปาศักดิ์ต้องลี้ภัยไปอาศัยอยู่ต่างประเทศ จึงให้ใช้สรรพนามคำเรียก “เจ้าเฮือน” แทน “เจ้านาง” ในส่วนของเจ้าที่เป็นหญิงทุกพระองค์ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระนัดดาสายตรงของเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานะของพระมารดาว่า จะมีศักดิ์เป็น “เจ้า” หรือไม่เช่นกัน[28]

    ดังนั้น เจ้าที่เป็นหญิง พระนัดดาสายตรงของเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ผู้มีพระบิดาและพระมารดามีศักดิ์เป็น “เจ้า” ทั้งสองฝ่าย มีสรรพนามคำเรียก “เจ้าเฮือน” อยู่แล้ว ให้คงเรียกว่า “เจ้าเฮือน” ดังเดิม เพราะคำเรียก “เจ้าเฮือนหญิง” บ่งบอกสถานะชัดเจนอยู่แล้วว่า คือเจ้าที่เป็นหญิงที่มีศักดิ์เป็นพระราชธิดาของเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์


อนึ่ง เจ้าที่เป็นหญิงในชั้น “เจ้านาง” ทำการสมรสกับเจ้าที่เป็นชาย คำเรียก “เจ้านาง” สามารถเลื่อนขึ้นเป็น “เจ้าเฮือน” ได้เช่นกัน[29]


ดังเช่น เจ้านางสุดาจันทร์ ศรีดาเดช พระทายาทสายเจ้ากระต่ายพระเชษฐาของเจ้ากระแต ศรีดาเดช เสกสมรสกับเจ้าบุญทุ่ม ณ จำปาศักดิ์ เมื่อเจ้านางสุดาจันทร์เป็นพระสุณิสาของเสด็จเจ้าบุญอุ้ม เจ้าครองนครจำปาศักดิ์ พระองค์ที่ 13 เจ้านางสุดาจันทร์ก็สามารถเลื่อนสถานะขึ้นมาเป็นเจ้าเฮือนสุดาจันทร์ ศรีดาเดช ณ จำปาศักดิ์[30]


เจ้าบุญทุ่มหรือเสด็จเจ้าบุญทุ่ม มีพระโอรสธิดา ประสูติแต่ชายา เจ้าเฮือนสุดาจันทร์ที่นครจำปาศักดิ์ 3 พระองค์ ตามลำดับดังนี้

1 เจ้าเฮือนสุปราณี ณ จำปาศักดิ์ มีพระบุตร 1 องค์ มีศักดิ์เป็นพระปนัดดาพระทายาทสายตรงชั้นที่ 10 ในเสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์และหม่อมบุญน้อม มีพระนามว่า เจ้าวรุณหิส โฮงจำปาสัก ศรีดาเดช[31]

เจ้าเฮือนสุปราณี ถึงแก่พิราลัยในประเทศไทย

2 เจ้าเฮือนบุญแอ้ม ณ จำปาศักดิ์

เจ้าเฮือนบุญแอ้ม ถึงแก่พิราลัยในประเทศไทยเช่นเดียวกัน

3 เจ้า (พระโอรส ยังไม่ได้ตั้งพระนาม) ถึงแก่พิราลัยที่นครจำปาศักดิ์[32]


การลี้ภัยของสมาชิกราชวงศ์จำปาศักดิ์สายหลักในประเทศฝรั่งเศส มีสถานะเดียวกันกับราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซียซึ่งเป็นอีกราชวงศ์หนึ่งที่ไร้ดินแดนปกครอง จึงมีสมาชิกแห่งราชวงศ์บางส่วนอ้างสิทธิ์เป็นเจ้าชาย หรือเจ้าหญิง แต่ก็มีสมาชิกบางส่วนรู้สึกสะดวกใจกว่า เมื่อพวกเขาไม่ได้ใช้พระยศนำหน้าพระนาม เพราะการแสดงตัวเป็น “เจ้า”  ต่อสาธารณชน มีราคาที่ต้องจ่ายแพง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพที่ต้องดูดีมีเกียรติสูงในสังคม รวมถึงการแต่งกายที่มีรสนิยมเข้ากับกลุ่มชนระดับสูงของประเทศฝรั่งเศส[33]


==ภรรยาเจ้า==


พระมเหสีขวา 'เป็นตำแหน่งพระชายาที่ได้รับการยกย่องสูงสุด[34]

พระมเหสีซ้าย  เป็นตำแหน่งพระชายาที่ได้รับการยกย่องเป็นอันดับสองรองจากพระมเหสีขวา[35]

จากบันทึกพงศาวดารของราชตระกูลเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ พบว่า ตำแหน่งพระมเหสีขวาและพระมเหสีซ้ายมีอยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) ปฐมกษัตริย์ (รัชกาลที่ 1) แห่งราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์ โดยพระองค์ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2256-2280[36]


พระอัครชายา พระชายา  เป็นตำแหน่งเรียกมเหสีเอก และมเหสีของเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์[37]


ดังเช่น พระอัครชายา เจ้าเฮือนหญิงสุดสมร พระราชมารดาของเสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ มเหสีเอกในเสด็จเจ้าย่ำขม่อมราชดนัย (หยุย) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ พระองค์ที่ 12


'พระชายาโซ้น'  เป็นตำแหน่งเรียกพระชายาของกษัตริย์ หรือ เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ผู้เป็นหญิงสามัญชน เมื่อให้กำเนิดพระบุตรองค์แรกเป็นพระโอรส[38]


ดังเช่น พระชายาโซ้น หม่อมดวงเนตร ในสมเด็จเจ้ายุติธรรมธร(คำสุก) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ พระองค์ที่ 11 พระมารดาของเจ้าบัวคำ[39]


พระชายาโซ้น หม่อมบัวผัน ในเสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ พระองค์ที่ 13 พระมารดาของพระโอรสองค์แรก คือ เจ้าจำพรศักดิ์หรือเสด็จเจ้าจำพรศักดิ์ (เจ้าน้อย)[40]


พระองค์ทรงสืบทอดตำแหน่งองค์พระประมุขแห่งราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์ พระองค์ที่ 14  ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา เมื่อวันที่ 17 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2523 (ค.ศ.1980)  พระองค์ทรงเสกสมรสและมีโอรส 1 พระองค์และพระธิดา 2 พระองค์ เจ้าจำพรศักดิ์สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.2562[41][42]   


พระชายาโซ้น หม่อมบัวผัน เป็นพระชายาโซ้นพระองค์แรกและพระองค์เดียวของราชวงศ์ ที่เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ (เสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์) โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เลื่อนฐานันดรศักดิ์จาก “พระชายาโซ้น” เป็น “เจ้าเฮือน”[43]

'พระชายา ชายา'      เป็นตำแหน่งเรียกภรรยาเอก ภรรยาของเจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ เจ้าราชบุตร และเจ้าราชสัมพันธ์[44]

ดังเช่น หม่อมแจ่ม เป็นพระชายาในเสด็จเจ้าอุปราชคำพันธ์[45]


'ชายา'      เป็นตำแหน่งเรียกภรรยาของเจ้าที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ[46]

ดังเช่น เจ้าเฮือนหญิงจิตรประสงค์ เป็นชายาในพันโท เจ้าสันประสิทธิ์[47] 


'หม่อม'      เป็นตำแหน่งเรียกภรรยาของเจ้าที่เป็นชายโดยทั่วไป[48]


ดังเช่น หม่อมบัวเป็นภรรยาของเจ้าพงศ์ประสานศักดิ์ โอรสของเจ้าเหลี่ยม ณ จำปาศักดิ์ นายอำเภอคนแรกของอำเภอคำเขื่อนแก้ว                จังหวัดยโสธร โดยเจ้าเหลี่ยม ณ จำปาศักดิ์ เป็นโอรสของเสด็จเจ้าอุปราชคำพันธ์ มีหม่อมทองจันทร์เป็นมารดา[49]

  1. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์.(2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น,หน้า 167.
  2. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 162-163.
  3. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 189.
  4. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 190.
  5. ที่มา...หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร). (2539). พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้านางโสฬศนารี ณ จำปาศักดิ์ สาระโสภณ (นางอักษรการวิจิตร). พิมพ์ครั้งที่ 6, ลำดับราชวงศ์ ณ จำปาศักดิ์ (ฉบับร่างของกรมศิลปากร).
  6.   ที่มา...วรุณหิส โฮงจำปาสัก ศรีดาเดช. (2566).เจ้ากระต่าย ศรีดาเดช ราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์.
  7. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 153, 169.
  8. ที่มา... Baird, Ian G. 2018. Princes without a Principality: Champassak Non-State Royals and the Politics of Performativity in France. : 19.
  9. ที่มา...ช่อง 8. ทำไมต้องเรียก “อัญญา” ??? #อัญญา คืออะไรในละคร #ซิ่นลายหงส์. 23 พฤศจิกายน 2018.
  10. ที่มา...ปรีชา พิณทอง. อัญญา แปลว่า. อีสานร้อยแปด. 20-05-2023.
  11. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 169.
  12. ที่มา...หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร). (2539). พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้านางโสฬศนารี ณ จำปาศักดิ์ สาระโสภณ (นางอักษรการวิจิตร). พิมพ์ครั้งที่ 6, ลำดับราชวงศ์ ณ จำปาศักดิ์ (ฉบับร่างของกรมศิลปากร).
  13. ที่มา... Baird, Ian G. 2017. Biography and Borderlands : Chao Sone Bouttarobol ,a Champassak Royal, and Thailand, Laos and Cambodia : 275.
  14. ที่มา... Baird, Ian G. 2018. Princes without a Principality: Champassak Non-State Royals and the Politics of Performativity in France. : 19.
  15.        ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 146-148.
  16. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 164.
  17. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 165.
  18. ที่มา... Baird, Ian G. 2018. Princes without a Principality: Champassak Non-State Royals and the Politics of Performativity in France. : 17,19.
  19. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 169-170.
  20. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 165.
  21. ที่มา...วรุณหิส โฮงจำปาสัก ศรีดาเดช. (2566).เจ้ากระต่าย ศรีดาเดช ราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์.
  22. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 166.  
  23. ที่มา...หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร). (2539). พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้านางโสฬศนารี ณ จำปาศักดิ์ สาระโสภณ (นางอักษรการวิจิตร). พิมพ์ครั้งที่ 6, หน้า 7-8.
  24. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 169.
  25. ที่มา... Baird, Ian G. 2018. Princes without a Principality: Champassak Non-State Royals and the Politics of Performativity in France. : 9.
  26. ที่มา... Buyers Christopher. 2014. Champasakti3. www.royalark.net  
  27. ที่มา...' Baird, Ian G. 2018. Princes without a Principality: Champassak Non-State Royals and the Politics of Performativity in France. : 9.
  28.   ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 170.
  29. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 165.
  30. ที่มา...วรุณหิส โฮงจำปาสัก ศรีดาเดช. (2566).เจ้ากระต่าย ศรีดาเดช ราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์.
  31. ที่มา...วรุณหิส โฮงจำปาสัก ศรีดาเดช. (2566).เจ้ากระต่าย ศรีดาเดช ราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์.
  32. ที่มา...วรุณหิส โฮงจำปาสัก ศรีดาเดช. (2566).เจ้ากระต่าย ศรีดาเดช ราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์.
  33. ที่มา... Baird, Ian G. 2018. Princes without a Principality: Champassak Non-State Royals and the Politics of Performativity in France. : 19-20.
  34. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 148.   
  35. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 149.
  36. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 139,148.
  37. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 149.
  38. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 150.   
  39. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 150.  
  40. ที่มา…ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 151.  
  41. ที่มา…Facebook : Chao Vongdasak Na Champassak
  42. ที่มา... Baird, Ian G. 2018. Princes without a Principality: Champassak Non-State Royals and the Politics of Performativity in France. : 16.
  43. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 151.  
  44. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 152.  
  45. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 152.  
  46. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 152.  
  47. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 152.  
  48. ที่มา...ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์. (2553). ราชวงศ์จำปาศักดิ์ ประวัติศาสตร์ในราชสำนัก. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, หน้า 153.  
  49. ที่มา...คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือ. (2547). อำเภอ...คำเขื่อนแก้ว 95 ปี เมือง...คำเขื่อนแก้ว 159 ปี. อุบลราชธานี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลยงสวัสดิ์ออฟเชท,หน้า 27-28.