ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ โชติกา นาลอย สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello โชติกา นาลอย! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 20:32, 19 เมษายน 2559 (ICT)

ห้องเรียนกลับด้าน แก้

ห้องเรียนกลับด้านคืออะไร

เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่แนวคิดหลักของห้องเรียนกลับด้าน คือ เรียนที่บ้านและทำการบ้านที่โรงเรียน เป็นการนำสิ่งที่เดิมที่เคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้าน และนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน โดยยึดหลักที่ว่า เวลาที่นักเรียนต้องการพบครูจริงๆ คือ เวลาที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ เด็กไม่ได้ต้องการให้ครูอยู่ในชั้นเรียนเพื่อสอนเนื้อหาต่างๆ เพราะเด็กสามารถศึกษาเนื้อหานั้นๆ ด้วยตนเอง

ห้องเรียนกลับด้านเกิดขึ้นเพื่ออะไร?

เพื่อเป็นแนวทางการสอนที่หลากหลายให้กับครูผู้สอนและ ไม่เกิดความจำเจในการเรียน เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ต่างออกไปจากเดิม สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนที่ไม่สะดวกในการเรียนแบบเดิมๆได้ เป็นตัวเลือกแบบใหมในการเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน

ประโยชน์ของห้องเรียนกลับด้าน

1. เพื่อเปลี่ยนวิธีการสอนของครู จากการบรรยายหน้าชั้นเรียนหรือจากครูสอนไปเป็นครูผู้ฝึก 2. เพื่อใช้เทคโนโลยีการเรียนที่เด็กสมัยใหม่ชอบ โดยใช้สื่อ ICT 3. ช่วยเหลือเด็กที่มีงานยุ่ง ช่วยเหลือในการจัดการเรียนรู้ให้เด็กเรียนไว้ล่วงหน้าหรือเรียนตามชั้นเรียนได้ง่ายขึ้น รวมทั้งเป็นการฝึกเด็กให้รู้จัดการจัดเวลาของตนเอง 4. ช่วยเหลือเด็กเรียนอ่อนให้ขวนขวายหาความรู้ 5. ช่วยเหลือเด็กที่มีความสามารถแตกต่างกันให้ก้าวหน้าในการเรียนตามความสามารถของตนเอง 6.ทำให้เด็กจัดเวลาเรียนตามที่ตนพอใจ 7. ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครูเพิ่มขึ้น 8. ช่วยให้ครูรู้จักนักเรียนดีขึ้น 9. ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง 10. ช่วยให้เห็นคุณค่าของความแตกต่าง 11. เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการห้องเรียน 12. เปลี่ยนคำสนทนากับพ่อแม่ ประสานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง 13. ช่วยให้เกิดความโปร่งใสในการจัดการศึกษา--

--โชติกา นาลอย (พูดคุย) 21:51, 19 เมษายน 2559 (ICT)