คิวริออซิตี (อังกฤษ: Curiosity) เป็นยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารในภารกิจสำรวจดาวอังคาร (Mars Science Laboratory หรือ MSL) ของนาซ่า มีขนาดเท่ากับรถยนต์ มีกล้องถ่ายภาพติดไว้ สิบเจ็ดตัว มีแขนหุ่นยนตร์หนึ่งข้าง ปืนแสงเลเซอร์ กับ สว่านเจาะ ราวหนึ่งปีจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญขององค์การนาซ่า หวังว่าจะได้เห็นยานสำรวจอวกาศลำนี้สำรวจอยู่บนดาวอังคาร ตัวยานออกแบบมาให้เปรียบเสมือนห้องทดลองเคลื่อนที่ ด้วยความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีนี้ ทำให้ยานลำนี้มีความสามารถพิเศษที่หลากหลายและนับได้ว่าเป็นยานอวกาศที่มี ศักยภาพสูงมากอีกลำหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความหวังของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในการไขความลับของ สภาพแวดล้อมบนดาวอังคารในอดีต

คิวริออซิตี
ประเภทภารกิจโรเวอร์
ผู้ดำเนินการNASA
COSPAR ID2011-070A
SATCAT no.37936
เว็บไซต์Mars Exploration Rover
ระยะภารกิจแผน: 668 วันบนดาวอังคาร (687 วัน)
ข้อมูลยานอวกาศ
ชนิดยานอวกาศยานสำรวจดาวอังคาร
ผู้ผลิตJet Propulsion Laboratory
มวลแห้ง899 กิโลกรัม (1,982 ปอนด์)
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้นNovember 26, 2011 (2011-11-26)
จรวดนำส่งAtlas V 541 (AV-028)
ฐานส่งแหลมคะแนเวอรัล LC-41
ผู้ดำเนินงานUnited Launch Alliance
สิ้นสุดภารกิจ
Mars rovers (NASA)
 

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ แก้

คิวริออซิตีออกแบบมาเพื่อประเมินว่าดาวอังคารมีสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการดำรงชีวิตหรือไม่ ในการสำรวจยานจะเจาะลงบนพื้นผิวของดาวอังคารเพื่อศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของหิน

การลงจอด แก้

ความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากการใช้ระบบ "ปั้นจั่นกลางอากาศ" หรือ "Sky Crane" ซึ่งติดจรวดขับดันเพื่อลดความเร็วในการลงสู่พื้นผิว โดยเครนได้ใช้เชือกไนลอนหย่อนรถที่มี 6 ล้อคันนี้ลงในหลุมอุกกาบาตเกล ซึ่งก่อนหน้านี้ นาซาใช้ถุงลมนิรภัยในการลงจอดของรถหุ่นยนต์ 

อ้างอิง แก้

  1. Mahaffy, Paul R.; Webster, Christopher R.; Cabane, Michel; Conrad, Pamela G.; Coll, Patrice; Atreya, Sushil K.; Arvey, Robert; Barciniak, Michael; Benna, Mehdi; Bleacher, Lora; Brinckerhoff, William B.; Eigenbrode, Jennifer L.; Carignan, Daniel; Cascia, Mark; Chalmers, Robert A.; Dworkin, Jason P.; Errigo, Therese; Everson, Paula; Franz, Heather; Farley, Rodger; Feng, Steven; Frazier, Gregory; Freissinet, Caroline; Glavin, Daniel P.; Harpold, Daniel N.; Hawk, Douglas; Holmes, Vincent; Johnson, Christopher S.; Jones, Andrea; และคณะ (2012). "Where is Curiosity?". Space Science Reviews. 170 (1–4): 401. สืบค้นเมื่อ October 4, 2018.