ความไวแสง ISO หรือนิยมเรียกว่า ค่า ISO เป็นมาตรฐานสำหรับฟิล์มถ่ายภาพที่กำหนดขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) โดยระบุว่าฟิล์มสามารถบันทึกแสงที่อ่อนได้เพียงใด โดยเป็นการเขียนรวมค่าความไวแสง ASA และความไวแสง DIN เดิม

ภาพรวม

แก้

ค่าความไวแสง ISO ได้แก่ ISO100/21°, ISO200/24°, ISO400/27°, ISO800/30 และอื่น ๆ หากใช้ค่าความไวแสงที่สูงขึ้นหนึ่งขั้น จะได้ค่าแสงที่เหมาะสมเมื่อเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้นหนึ่งขั้นหรือลดขนาดรูรับแสงลงหนึ่งขั้น ตัวอย่างเช่น ISO200/24° มีความสามารถในการรับแสงเป็นสองเท่าของ ISO100/21° ดังนั้นจึงสามารถบันทึกความเข้มแสงได้จนถึงครึ่งหนึ่งของ ISO100/21°

ยิ่งค่าความไวแสงสูงก็ยิ่งทำให้สามารถถ่ายภาพฉากมืด ๆ และวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกรนของฟิล์มโดยทั่วไปจะหยาบกว่า จึงมักใช้ฟิล์มความไวแสงต่ำเมื่อต้องการคุณภาพของภาพสูง

มาตรฐานความเร็วแสงฟิล์ม

แก้

มาตรฐานความไวแสง ISO ปัจจุบัน

แก้

มาตรฐานปัจจุบันสำหรับค่าความไวแสง ISO คือ 'ISO 5800:1987 สำหรับฟิล์มเนกาทีฟสี[1] และ ISO 6:1993 สำหรับฟิล์มเนกาทีฟขาวดำ[2] และ ISO 2240:2003 สำหรับฟิล์มสไลด์สี[3] มาตรฐานเหล่านี้กำหนดให้แสดงโดยใช้ทั้งค่าแบบเลขคณิต (ความไวแสง ASA เดิม) และแบบ ลอการิทึม (ความไวแสง DIN เดิม)[4]

สำหรับทุก ๆ สองเท่าของความเร็วแสงฟิล์ม ค่าเลขคณิตจะเพิ่มเป็นสองเท่า และค่าลอการิทึมจะเพิ่มขึ้น 3° ตัวอย่างเช่น ฟิล์ม ISO 200/24° มีความไวต่อแสงเป็นสองเท่าของฟิล์ม ISO 100/21° [4]

ในกรณีทั่วไป ค่าลอการิทึมจะถูกละไว้แล้วแสดงแค่ค่าเลขคณิตเท่านั้น เช่นเขียนเป็น "ISO 100"[5]

การแปลงระหว่างค่า

แก้

การแปลงค่าความไวแสงลอการิทึม S° เป็นค่าเลขคณิต S ทำได้โดยสูตรต่อไปนี้[6]

 

หลังจากนั้นให้ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มค่าความไวแสงมาตรฐานที่ใกล้ที่สุดโดยใช้ตารางที่แสดงในส่วนถัดไป

และในทำนองเดียวกัน อาจแปลงกลับเป็นค่าลอการิทึมดังนี้

 

แล้วปัดเศษเป็นจำนวนเต็ม

ตารางเทียบค่า

แก้

ตารางต่อไปนี้แสดงค่าความไวแสง ISO ทั้งค่าเลขคณิตแค่ลอการิทึม เทียบกับค่า SV (sensitivity value) ของ APEX[7]

SV ค่าเลขคณิต
(ความไวแสง ASA)
ค่าลอการิทึม
(ความไวแสง DIN)
−2 0.8
1
1.2
−1 1.6
2
2.5
0 3
4
5
1 6
8 10°
10 11°
2 12 12°
16 13°
20 14°
3 25 15°
32 16°
40 17°
4 50 18°
64 19°
80 20°
5 100 21°
125 22°
160 23°
6 200 24°
250 25°
320 26°
7 400 27°
500 28°
640 29°
8 800 30°
1,000 31°
1,250 32°
9 1,600 33°
2,000 34°
2,500 35°
10 3,200 36°
4,000 37°
5,000 38°
11 6,400 39°
8,000 40°
10,000 41°
12 12,500 (12,800) 42°
16,000 43°
20,000 44°
13 25,000 (25,600) 45°
32,000 46°
40,000 47°
14 50,000 (51,200) 48°
64,000 49°
80,000 50°
15 100,000 (102,400) 51°
125,000 52°
160,000 53°
16 200,000 (204,800) 54°
250,000 55°
320,000 56°
17 400,000 (409,600) 57°
500,000 58°
640,000 59°
18 800,000 (819,200) 60°
1,000,000 61°
1,250,000 62°
19 1,600,000 (1,638,400) 63°
2,000,000 64°
2,500,000 65°
20 3,200,000 (3,276,800) 66°
4,000,000 67°

ในกล้องดิจิทัล

แก้

ค่าความไวแสง ISO ของกล้องดิจิทัลได้รับมาตรฐานโดย ISO 12232 สำหรับในประเทศญี่ปุ่น สมาคมผลิตภัณฑ์กล้องถ่ายภาพและการถ่ายภาพ (CIPA) ได้ดำเนินการกำหนดมาตรฐานด้วยเช่นกัน[8] ในกล้องดิจิทัล ความไวของ เซนเซอร์รูปภาพ เช่น CCD มักจะแสดงเป็นเทียบเท่า ISO100 ความไวแสง ISO ของกล้องดิจิทัลเป็นค่ามาตรฐานสำหรับขยายสัญญาณที่เซ็นเซอร์ภาพ เมื่อทำการขยายสัญญาณของภาพ จะทำให้สัญญาณรบกวนจากการถ่ายภาพ สัญญาณรบกวนจากกระแสมืด และสัญญาณรบกวนความร้อนถูกขยายไปด้วย ดังนั้นหากความไวแสง ISO สูง สัญญาณรบกวนจากแสงและสัญญาณรบกวนสีจะเกิดขึ้นในภาพ เช่นเดียวกับฟิล์ม ยิ่งความไวแสงสูงเท่าไร ก็จะสามารถถ่ายภาพในที่มืดได้เร็วขึ้นเท่านั้น สัญญาณรบกวนอาจบรรเทาลงได้ด้วยการการระบายความร้อนให้เซนเซอร์

โดยพื้นฐานแล้ว สามารถสรุปได้ว่ายิ่งความไวแสงต่ำลง คุณภาพของภาพก็จะยิ่งดีขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับสมบัติของตัวเซนเซอร์ที่ใช้ การปรับค่าความไวแสงต่ำเกินไปก็อาจทำให้คุณภาพของภาพแย่ลงได้ เพราะแม้จะลดสัญยาณรบกวนได้ แต่ก็อาจทำให้เกิดความเปรียบต่างสูงเกินไป ส่วนสว่างขาวจ้าเกินหรือส่วนมืดดำสนิทได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ กล้องดีเอสแอลอาร์ของนิคอน จึงมีความไวแสงทั่วไปขั้นต่ำที่ 100 ถึง 200 และค่าต่ำกว่านั้นจะใช้เมื่อต้องการในบางกรณีจริง ๆ เท่านั้น ดังนั้น ในการถ่ายภาพดิจิทัล การถ่ายภาพที่ค่าความไวแสงที่แนะนำคือประมาณ 100 ถึง 200 จึงถือว่าทำให้ได้คุณภาพของภาพที่ดีที่สุด

อ้างอิง

แก้
  1. "ISO 5800:1987: Photography – Colour negative films for still photography – Determination of ISO speed". สืบค้นเมื่อ 2009-04-04.
  2. "ISO 6:1993: Photography – Black-and-white pictorial still camera negative film/process systems – Determination of ISO speed". สืบค้นเมื่อ 2009-04-04.
  3. "ISO 2240:2003: Photography – Colour reversal camera films – Determination of ISO speed". สืบค้นเมื่อ 2009-04-04.
  4. 4.0 4.1 R. E. Jacobson, Sidney F. Ray, Geoffrey G. Attridge, and Norman R. Axford (2000). The manual of photography. Focal Press. p. 305–307. ISBN 9780240515748.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Carson Graves (1996). The zone system for 35mm photographers. Focal Press. p. 124. ISBN 9780240802039.Carson Graves (1996). The zone system for 35mm photographers. Focal Press. p. 124. ISBN 9780240802039.
  6. ISO 2721:1982. Photography — Cameras — Automatic controls of exposure(paid download). Geneva: International Organization for Standardization.
  7. 『クラシックカメラ専科No.2、名機105の使い方』p.75。
  8. デジタルカメラの感度規定