คนเล็กหมัดเทวดา

คนเล็กหมัดเทวดา (จีน: 功夫; อังกฤษ: Kung Fu Hustle) เป็นภาพยนตร์จีนกำลังภายในแนวตลก ที่กำกับและนำแสดงโดยโจว ซิงฉือ

คนเล็กหมัดเทวดา
โปสเตอร์ภาพยนตร์
กำกับโจว ซิงฉือ
เขียนบทโจว ซิงฉือ
เฉิง จิ้นชาง
ฮั่วซิน
เฉิน เหวินเฉียง
อำนวยการสร้างโจว ซิงฉือ
ชุย เป่าจู
หลิว เจิ้นเหว่ย
นักแสดงนำโจว ซิงฉือ
หยวน หัว
หยวน ชิว
เฉิน กั๋วคุน
เหลียง เสี่ยวหลง
กำกับภาพพัน เหิงเชิง
ตัดต่อแองจี้ แลม
ดนตรีประกอบหวง ยิงหัว
ผู้จัดจำหน่ายโคลัมเบียพิคเจอร์สฟิล์มโปรดักชันเอเชีย (ฮ่องกง)
โซนี่พิคเจอร์สเอนเตอร์เทนเมนท์ (สหรัฐ)
โซนี่พิคเจอร์สคลาสสิค (สหรัฐ)
ยูไนเต็ด โฮมส์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ (ไทย)
วันฉายแคนาดา:
14 กันยายน ค.ศ. 2004
จีน:
23 ธันวาคม ค.ศ. 2004
สหรัฐอเมริกา:
23 มกราคม ค.ศ. 2005
สหราชอาณาจักร:
24 มิถุนายน ค.ศ. 2005
ความยาว95 นาที
ประเทศ จีน
 ฮ่องกง
ภาษาภาษากวางตุ้ง
ภาษาจีนกลาง
ทุนสร้าง20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงิน102 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1]
ต่อจากนี้คนเล็กหมัดเทวดา 2 (ค.ศ. 2012)

เนื้อเรื่องย่อ แก้

เป็นเรื่องราวของเซี่ยงไฮ้ช่วงยุค 1930 ซึ่งเป็นช่วงที่มีแก๊งอันธพาลขวานซิ่งครองเมือง พวกเขาได้เข้าไปก่อกวนในย่านที่เรียกว่า "ตรอกเล้าหมู" แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากมีจอมยุทธซ่อนอยู่ในตรอกนี้ หลังจากนั้น ซิง (โจว ซิงฉือ) โจรไร้ฝีมือที่ได้เข้ามาก่อกวนยังตรอกหมู แต่ไม่สำเร็จเพราะเขาคิดว่าเขามีวิทยายุทธเนื่องจากเขาได้ซื้อหนังสือกำลังภายในจากชายแปลกหน้าคนหนึ่ง ที่บอกเขาว่าเขาน่าจะฝึกวิชาในหนังสือนี้ได้โดยเขาซื้อในราคา 10 ดอลลาร์ หลังจากนั้นเขาได้ฝึกฝนเรื่อยมา และได้เข้าไปช่วยเด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นใบ้ (หวง เซิงอี้) จากพวกเด็กอันธพาล แต่เขากลับถูกพวกนั้นทำร้ายร่างกายจนสะบักสะบอม หลังจากนั้น เขาได้เข้าไปเป็นสมาชิกแก๊งขวานซิ่งในที่สุด แต่เกิดหักหลังกันขึ้น ซิงกลับถูกหัวหน้าแก๊งคนใหม่ซึ่งฆ่าหัวหน้าแก๊งคนเก่าตายเล่นงานจนปางตาย แต่โชคดีได้สามีภรรยาเจ้าของหอพักช่วยรักษา และในที่สุดเขาก็สามารถเอาชนะหัวหน้าแก๊งขวานซิ่งได้สำเร็จ

นักแสดงนำ แก้

การสร้าง แก้

คนเล็กหมัดเทวดา เป็นผลงานร่วมผลิตจากเป่ยจิงฟิล์มสตูดิโอและฮ่องกงสตาร์โอเวอร์ซี[2] ภายหลังจากประสบความสำเร็จในภาพยนตร์ นักเตะเสี้ยวลิ้มยี่ ของ โจว ซิงฉือ เขาก็ไดรับการทาบทามในปี ค.ศ. 2002 โดยโคลัมเบียพิกเจอร์สฟิล์มโปรดักชั่นเอเชีย ซึ่งได้เสนอที่จะร่วมกับเขาในโครงการ โจว ซิงฉือ ยอมรับข้อเสนอ และโครงการนี้ก็ได้กลายเป็น คนเล็กหมัดเทวดา ในที่สุด[3] โดยแรงดลบันดาลใจสำคัญของภาพยนตร์ชุดนี้ มาจากภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้ที่ โจว ซิงฉือ ได้ดูตอนเป็นเด็ก รวมถึงความใฝ่ฝันเมื่อเยาว์วัยที่ต้องการจะเป็นนักต่อสู้ป้องกันตัว[4]

การตอบรับ แก้

ภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับการตอบรับโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีจากนักวิจารณ์ โดยได้รับคะแนนสูงสุดที่ 90% ที่เว็บไซต์รอตเทนโทเมโทส์ ซึ่งอิงจาก 185 ความคิดเห็น[5] ผู้กำกับฮ่องกงและกาเบรียล หว่อง ซึ่งเป็นนักวิจารณ์ภาพยนตร์ยกย่องสำหรับความเป็นละครตลกเสียดสี ตลอดจนเทคนิคพิเศษและการหวนระลึกถึงการหวนกลับมาของนักแสดงกังฟูที่อำลาวงการไปในช่วงยุคทศวรรษ 1970 [6] และโรเจอร์ เบิร์ท ซึ่งเป็นนักวิจารณ์ภาพยนตร์ได้กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเหมือนกับ เฉินหลง กับ บัสเตอร์ คีตัน พบ เควนติน ทาแรนติโน และ บั๊กส์ บันนี่ ที่เทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์[7] ซึ่งความคิดเห็นนี้ได้รับการพิมพ์ลงบนโปสเตอร์ภาพยนตร์ คนเล็กหมัดเทวดา ในสหรัฐอเมริกา[8][9]

บ็อกซ์ออฟฟิศ แก้

คนเล็กหมัดเทวดา ได้เปิดตัวที่ฮ่องกง ณ วันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2004 และทำรายรับที่ 4,990,000 เหรียญฮ่องกงในวันเปิดตัว ภาพยนตร์ชุดนี้ติดอันดับต้นๆของบ็อกซ์ออฟฟิศในช่วงที่เหลืออยู่ของปี ค.ศ. 2004 และเป็นจำนวนมากในช่วงต้น ค.ศ. 2005 โดยในท้ายที่สุดทำรายได้ 61.27 ล้านเหรียญฮ่องกง บ็อกซ์ออฟฟิศในครั้งดังกล่าวจัดเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของประวัติศาสตร์ฮ่องกง[10] กระทั่งถูกทำลายสถิติลงโดยภาพยนตร์ชุด You Are the Apple of My Eye ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 ด้วยรายรับที่ 61.3 ล้านเหรียญฮ่องกง[11]

ภาคต่อ แก้

ใน ค.ศ. 2005 โจว ซิงฉือ กล่าวว่าจะมีภาคต่อของ คนเล็กหมัดเทวดา แม้ว่าจะยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกนักแสดงนำหญิงก็ตาม โดยจะมีตัวละครใหม่เป็นจำนวนมากในภาพยนตร์ รวมทั้งมีการกล่าวถึงจำเป็นต้องมีนักแสดงใหม่เป็นจำนวนมาก มันเป็นไปได้ว่าเราจะมองหาคนที่อยู่ต่างประเทศนอกเหนือจากการคัดเลือกนักแสดงในประเทศ[12] การสร้าง คนเล็กหมัดเทวดา 2 เกิดความล่าช้าเนื่องจาก โจว ซิงฉือ ติดภาระการถ่ายทำภาพยนตร์ผจญภัยแนวนิยายวิทยาศาสตร์ชุด คนเล็กของเล่นใหญ่ เป็นผลให้ คนเล็กหมัดเทวดา 2 มีกำหนดการเปิดตัวใน ค.ศ. 2012[13]

อ้างอิง แก้

  1. "Kung Fu Hustle". The Numbers. สืบค้นเมื่อ 26 March 2016.
  2. Szeto, Kin-Yan. "The politics of historiography in Stephen Chow's Kung Fu Hustle". Jump Cut. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-25. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
  3. "Kung Fu Hustle production notes". Sensasian. สืบค้นเมื่อ 2007-05-08.
  4. Stephen Chow (2005-07-29). Interview with Stephen Chow (Online video). Hong Kong: iFilm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2012-03-08.
  5. "Kung Fu Hustle". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
  6. Wong, Gabriel (2004-12-28). "周星驰显大将风范" (ภาษาจีน). Xinhua. สืบค้นเมื่อ 2009-04-14.
  7. Ebert, Roger (2005-04-21). "Kung Fu Hustle Review". Roger Ebert. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-22. สืบค้นเมื่อ 2007-05-13.
  8. "Kung Fu Hustle promotional poster in the United States". Chicago Sun-Times. 2005-04-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-22. สืบค้นเมื่อ 2007-05-13.
  9. "Kung Fu Hustle". MovieWeb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-05-13.
  10. "Kung Fu grosses HK$60.8 million in 45 days, creating a new box office record for Hong Kong" (ภาษาจีน). Ming Pao. 2005-02-07. สืบค้นเมื่อ 2007-05-02.
  11. Coonan, Clifford (2012-02-14). "Borders in disorder". Variety. สืบค้นเมื่อ 2013-07-02.
  12. "Stephen Chow Talks "Kung Fu Hustle" Sequel". Rotten Tomatoes. 2005-08-31. สืบค้นเมื่อ 2007-06-27.
  13. "Stephen Chow offers 'A Hope'". Time Out. 2006-07-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2007-06-27.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้