คดีขโมยเครื่องเพชรราชวงศ์ซะอูดแห่งซาอุดีอาระเบีย หรือ คดีเพชรซาอุ เป็นคดีการขโมยเครื่องเพชรของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย โดยลูกจ้างชาวไทยในปี 2532 ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดีอาระเบียและไทยลดลงเป็นเวลามากกว่า 30 ปี[2]

คดีเพชรซาอุ
ชื่อภาษาอังกฤษBlue Diamond Affair
วันที่2532
ประเภทโจรกรรม
ผู้เข้าร่วม

ผล

  • นักธุรกิจและทูตชาวซาอุดีอาระเบียที่เข้าประเทศมาเพื่อสืบสวนหายสาบสูญและเสียชีวิต
  • การดำเนินคดีต่อชุดสอบสวนของชลอ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างไทย–ซาอุดีอาระเบียลดลง
  • เพชรสีน้ำเงินยังหายสาบสูญ และคดีฆ่านักการทูตซาอุดีอาระเบียยังไม่คลี่คลาย
เสียชีวิต7[a]
ลำดับเหตุการณ์
2532โจรกรรมเครื่องเพชรจากซาอุดีอาระเบีย
2533
  • ตั้งชลอเป็นหัวหน้าชุดสืบสวน
  • เกรียงไกรถูกจำคุก
  • ทางการซาอุฯ แจ้งว่าเพชรหาย
  • นักการทูตและนักธุรกิจซาอุฯ ถูกลอบฆ่า
2537
  • ชุดตำรวจของชลอลักพาตัว-ฆ่าภรรยาและลูกของสันติ (คดีอุ้มฆ่า 2 แม่-ลูกศรีธนะขัณฑ์) รถเบนซ์ 230 อี สีขาว [1]
2552
  • ศาลอุทธรณ์ประหารชีวิตชลอ
2562
  • ศาลอาญายกฟ้องตำรวจผู้ต้องหาในคดีอุ้มฆ่านักธุรกิจซาอุฯ

ตำรวจสามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้อย่างรวดเร็ว แต่ทางการซาอุดีอาระเบียแจ้งว่าเพชรสีน้ำเงินและเครื่องเพชรส่วนใหญ่หายไป ทางการซาอุดีอาระเบียส่งข้าราชการเข้ามาสืบสวนเอง แต่ถูกลักพาตัวไม่ก็ลอบฆ่า เรื่องที่อยู่ของเพชรปัจจุบันและผู้ก่อเหตุฆ่านักการทูตชาวซาอุดีอาระเบียยังเป็นปริศนา ชุดสืบสวนของพลตำรวจโท ชลอ เกิดเทศ ถูกพิพากษาลงโทษในหลายคดี เช่น อุ้มฆ่าภรรยาและลูกของพ่อค้าเพชร และยักยอกของกลาง

สาเหตุ

แก้

คดีดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นจากการที่นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ซึ่งเป็นแรงงานชาวไทยที่ได้เดินทางไปทำงานยังประเทศซาอุดีอาระเบีย และถูกจัดให้เข้าไปทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดภายในพระราชวังของกษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย[3] เขาเริ่มการโจรกรรมในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เมื่อนายเกรียงไกรเมื่อเข้าไปทำงานในพระราชวังจึงได้เห็นช่องทางในการขโมยเครื่องเพชรดังกล่าว เพราะเครื่องเพชรเหล่านั้นมีจำนวนมากและถูกวางไว้อย่างไม่เป็นที่เป็นทาง แม้แต่ตู้นิรภัยก็ยังถูกเปิดทิ้งเอาไว้[4]

นายเกรียงไกรอาศัยช่วงเวลาที่เจ้าชายฟัยศ็อล บิน ฟะฮัด บิน อับดุล อะซีซ (Prince Faisal Bin Fahud Bin Abdul Aziz) แปรพระราชฐานไปพักผ่อนในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือนธันวาคม 2532 ทำการขโมยเครื่องเพชร 91 กิโลกรัม (200 ปอนด์)[5]:185 ซึ่งรวมไปถึงเพชรน้ำเงินกับอัญมณีอื่น ๆ รวม 50 กะรัต[6] โดยแอบนำถุงกระสอบขนาดใหญ่เข้าไปในพระราชวัง ซ่อนตัวอยู่ภายในพระราชวังจนถึงเวลากลางคืน แล้วจึงทำการขโมยเครื่องเพชรใส่ถุงกระสอบแล้วโยนถุงกระสอบลงมาออกนอกกำแพงพระราชวัง เมื่อได้เครื่องเพชรมาแล้ว นายเกรียงไกรใช้วิธีส่งเครื่องเพชรกลับมายังประเทศไทยล่วงหน้า ด้วยบริการขนส่งพัสดุทางอากาศ โดยปะปนกับเสื้อผ้าและเครื่องใช้ส่วนตัว ซึ่งด่านศุลกากรของทั้งสองประเทศไม่สามารถตรวจพบ เมื่อทำการโจรกรรมเรียบร้อยแล้ว เกรียงไกรได้เดินทางกลับประเทศไทยทันที ก่อนที่เจ้าชายฟัยศ็อลจะเสด็จกลับมายังพระราชวัง ทั้งที่เหลือเวลาทำงานตามสัญญาอีก 2 เดือน

โดยเครื่องเพชรดังกล่าวถูกนำมายังจังหวัดลำปาง[7][8] เนื่องจากเครื่องเพชรเหล่านั้นแยกยาก เขาจึงขายมันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โดยเครื่องเพชรส่วนใหญ่ถูกขายให้กับช่างทำเพชรพลอยชาวกรุงเทพ สันติ ศรีธนะขัณฑ์[9] หลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ประสานมายังรัฐบาลไทย ขอให้ติดตามเครื่องเพชรประจำราชวงศ์ส่งคืน

การสืบสวน

แก้

การสืบสวน

แก้

การจับกุมผู้ต้องหา

แก้

อธิบดีกรมตำรวจ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบพื้นที่ในเขตภาคเหนือ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ออกติดตามเครื่องเพชรคืนให้แก่รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย หลังจากนั้นเมื่อนายเกรียงไกร ถูกชุดสืบสวนของ พล.ต.ท.ชลอ จับกุมและนำตัวมาสอบสวนจนยอมรับสารภาพ และให้การถึงบุคคลที่รับซื้อเครื่องเพชรไป เนื่องจากเกรงว่าจะถูกจับส่งไปดำเนินคดีที่ซาอุฯ ซึ่งมีโทษเพียงสถานเดียว คือ "แขวนคอ" ทำให้ศาลพิพากษาตัดสินจำคุกนายเกรียงไกร เตชะโม่งในข้อหาลักทรัพย์ 7 ปี จำเลยรับสารภาพลดโทษเหลือ 3 ปี 6 เดือน

ทางการไทยส่งตัวแทนไปคืนเครื่องเพชร แต่ทางการซาอุดีอาระเบียพบว่าเพชรสีน้ำเงินหายไป และเครื่องเพชรประมาณครึ่งหนึ่งเป็นของปลอม[10] นอกจากนี้ มีข่าวลือในสื่อไทยว่าภาพถ่ายในงานเลี้ยงการกุศลพบว่าภรรยาของข้าราชการหลายคนสวมสร้อยคอเพชรที่คล้ายกับเครื่องเพชรที่ถูกโจรกรรมจากซาอุดีอาระเบีย ทำให้ซาอุดีอาระเบียสงสัยว่าตำรวจไทยยักยอกเครื่องเพชรเอาไว้เอง[11]

การตามหาเครื่องเพชรของจริง และคดีฆ่าชาวซาอุ

แก้

การย้อนรอยตามหาเพชรฯ โดยคณะทำงานของ พล.ต.ท.ชลอ เริ่มต้นที่กลุ่มญาติของ พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ อ.ตร. แต่ภายหลังเมื่อมีการตรวจสอบไม่พบว่ามีมูลความจริง นอกจากนี้ นักการเมือง ตลอดจนคุณหญิง คุณนาย และ "คนมีสี" หลายคนก็ถูกกล่าวหาว่ามีการจัด "ปาร์ตี้เพชรซาอุฯ" ในสโมสรแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้น นายโมฮัมหมัด ซาอิค โคจา อุปทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย ได้ว่าจ้าง "ชุดสืบสวนพิเศษ" เพื่อแกะรอยอย่างลับ ๆ ตามหาเครื่องเพชรราชวงศ์แห่งซาอุดีอาระเบีย

"ซาอุดีอาระเบียไม่เคยได้รับความกระจ่างในเรื่องการเสียชีวิตของนักการทูตเราสี่คนที่ถูกฆ่าในกรุงเทพมหานคร ไม่ต้องพูดถึงการได้เห็นความยุติธรรม"

ข้าราชการชาวซาอุดีอาระเบีย[12]

Mohammad al-Ruwaili นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบียที่ใกล้ชิดกับราชวงศ์ซะอูด เดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อสืบสวนด้วยตนเอง เขาหายสาบสูญไปในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533 และสันนิษฐานว่าถูกฆ่า[13] ก่อนเขาหายตัวไป นักการทูตชาวซาอุดีอาระเบียถูกฆ่าในย่านสีลม เขตบางรัก ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 มีนักการทูตชาวซาอุดีอาระเบียเสียชีวิตเพิ่มอีก 3 คนในย่านยานนาวา[14][15] ซึ่งคดีเหล่านี้ยังไม่ได้ข้อยุติมาจนปัจจุบัน[5]:185 ถึงแม้ไม่มีความเชื่อมโยงว่ารัฐบาลไทยเกี่ยวข้องกับการโจรกรรมเครื่องเพชร แต่ทางการซาอุดีอาระเบียเชื่อว่ารัฐบาลไทยดำเนินการไม่เพียงพอในการไขปริศนาเกี่ยวกับการฆ่านักการทูตซาอุดีอาระเบีย[15]

มีสมมุติฐานหลายประการเกี่ยวกับเหตุการณ์ฆ่าดังกล่าว โมฮัมเหม็ด ซาอิด โคจา (Mohammed Said Khoja) นักการทูตชาวซาอุดีอาระเบีย เชื่อว่ามีนายตำรวจ 18 นายเกี่ยวข้องกับการหายไปของเพชร และเชื่อว่าตำรวจเป็นผู้ลงมือฆ่านักการทูตชาวซาอุดีอาระเบียสามคน[16] ด้านบันทึกการทูตในปี 2553 จากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยที่เผยแพร่โดยวิกิลีกส์ระบุว่า การฆ่าดังกล่าว "แทบแน่นอน" ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบาดหมางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับกลุ่มติดอาวุธเลบานอนฮิซบุลลอฮ์[17]

บทสัมภาษณ์ในเวลาต่อมา เกรียงไกรไม่สามารถระบุได้ว่าเพชรสีน้ำเงินขณะนี้อยู่ที่ใด และว่า "ถ้าเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจในประเทศไทย เรื่องก็จะไม่ใหญ่ขนาดนี้"[17] ในปี 2563 ไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่า "สร้อยพระศอของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเป็นไพลินสีน้ำเงินไม่ใช่เพชรสีน้ำเงินเครื่องเพชรราชวงศ์ซาอุ"[18] ทั้งนี้ สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน (Blue Sapphire) องค์นี้ประดับโดยเพชรไพลินสีน้ำเงินเม็ด ขนาด 109.57 กะรัต จี้ไพลินสีน้ำเงินองค์นี้เป็นฝีมือการออกแบบและประดิษฐ์จากบริษัท อัญมณี Van Cleef & Arpels จากประเทศฝรั่งเศส เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506 แต่เหตุการณ์โจรกรรมเครื่องเพชรราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2532 [19]

คดีความของชุดสืบสวน

แก้

พลตำรวจโท ชลอ เกิดเทศ กลับมาทำคดีนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ได้ทุกวิถีทางในการนำเพชรที่เหลือกลับคืนมาให้ได้ จากคำให้การของนายเกรียงไกร ที่บอกว่า ได้โจรกรรมเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาล แล้วนำเข้ามาขายในประเทศไทย โดยขายให้สันติ ศรีธนะขัณฑ์ เสี่ยเจ้าของร้านเพชร แต่เขายืนยันว่าคืนให้หมดแล้ว ในปี 2537 ชุดปฏิบัติงานของตำรวจลักพาตัวภรรยาและลูกของสันติเพื่อบีบให้เขาคืนเพชรให้ จนสุดท้ายฆ่าปิดปากทั้งสองโดยจัดฉากให้ดูเหมือนอุบัติเหตุจราจร[20]

ต่อมา ทีมสอบสวนชุดใหม่กลับสืบพบว่าเป็นการอุ้มฆ่า จึงได้ทำการจับกุมตัว พล.ต.ท.ชลอ และลูกน้องทั้ง 9 คน มาดำเนินการทางกฎหมาย พล.ต.ท. ชลอถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานออกคำสั่งฆ่าสองแม่ลูกในปี พ.ศ. 2538[21] และในที่สุดศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาให้ประหารชีวิต พล.ต.ท.ชลอ และศาลฎีกาก็ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ยืนตามศาลอุทธรณ์ให้ประหารชีวิต[22] ต่อมาเขาได้รับการลดโทษเหลือจำคุก 50 ปีในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[23] ตำรวจอีกหกนายถูกพิพากษาว่ามีความผิดด้วย[24] และได้รับพระราชทานอภัยโทษในปี 2558[25] ตำรวจนายหนึ่งในชุดทำงานยังถูกพิพากษาลงโทษฐานยักยอกเงินของกลางในปี 2557[26]

ในวันที่ 22 มีนาคม 2562 ศาลฎีกาพิพากษาปล่อยตัวนายตำรวจห้านายในคดีลักพาตัวและฆ่านักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย Mohammad al-Ruwaili[14][27]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้

ซาอุดีอาระเบียยกเลิกการตรวจลงตราทำงานให้กับคนไทย และประกาศเตือนคนในประเทศไม่ให้เดินทางมายังกรุงเทพมหานคร ทำให้จำนวนคนงานไทยในซาอุดีอาระเบียลดลงจาก 150,000 คน ในปี พ.ศ. 2532 เหลือเพียง 10,000 คน ในปี พ.ศ. 2549

ความสัมพันธ์ดังกล่าวค่อยกลับมาเป็นปกติในปี 2565 ซึ่งมีการเยือนระดับผู้นำรัฐบาลครั้งแรกในรอบ 30 ปีหลังการลดความสัมพันธ์[28][29] ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ทางการซาอุดีอาระเบียไม่ได้ติดใจเรื่องไม่ได้เครื่องเพชรสีน้ำเงินคืน มากเท่ากับการอุ้มฆ่าเชื้อพระวงศ์ในประเทศไทย และการพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ในปี 2565 มาจากวิสัยทัศน์ของซาอุดีอาระเบียเองที่ต้องการสานสัมพันธ์กับทุกประเทศ[30]

เชิงอรรถ

แก้
  1. นักการทูตชาวซาอุดีอาระเบีย 5 คนและภรรยาและลูกของสันติ ศรีธนะขัณฑ์

อ้างอิง

แก้
  1. "เปิดแฟ้มตำนาน "สีกากีโหด" ประวัติศาสตร์อัปยศของตำรวจไทย".
  2. Shay, Christopher (2010-03-07). "Thailand's Blue Diamond Heist: Still a Sore Point". Time. สืบค้นเมื่อ 14 Feb 2015.
  3. Mccarthy, Terry (25 September 1994). "Saudi gems theft leaves deadly trail in Thailand". The Independent. London.
  4. "วันนี้ในอดีต 6 ส.ค. 2532 'เกรียงไกร เตชะโม่ง' ขโมยเพชรซาอุฯ". คมชัดลึก. กรุงเทพมหานคร. 6 สิงหาคม 2560.
  5. 5.0 5.1 McClincy, Meghan A. (Apr 2012). "A Blue Thai Affair: The Blue Diamond Affair's Illustration of the Royal Thai Police Force's Standards of Corruption". Penn State Journal of Law & International Affairs. 1 (1): 182–201. สืบค้นเมื่อ 14 Feb 2015.
  6. Murdoch, Lindsay (1 April 2014). "Thai court throws out murder charges in 'Blue Diamond Affair'". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 4 June 2020.
  7. Thai Foreign Minister to reopen Saudi gems scandal case
  8. Hughes, Roland; Yongcharoenchai, Chaiyot (28 September 2019). "Blue Diamond Affair: The mystery of the stolen Saudi jewels". BBC News. สืบค้นเมื่อ 28 September 2019.
  9. Marshall, Andrew (22 September 2010). "The curse of the blue diamond". Thomson Reuters Foundation News. Reuters. สืบค้นเมื่อ 4 June 2020.
  10. "The Thai police: A law unto themselves". The Economist. 2008-04-17. สืบค้นเมื่อ 14 Feb 2015.
  11. Ramsey, Adam (2015-10-02). "Assassinations, Curses, and Stolen Jewels: The 'Blue Diamond Affair' Is Still Darkening Saudi-Thai Relations". Vice News. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
  12. "Assassinations, Curses, and Stolen Jewels: The 'Blue Diamond Affair' Is Still Darkening Saudi-Thai Relations". Vice (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
  13. "Court stands by ex-policeman's acquittal". Bangkok Post. 2016-05-04. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
  14. 14.0 14.1 "Former Bangkok cops cleared of murder of Saudi businessman". Bangkok Post. 2019-03-22. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.
  15. 15.0 15.1 "Thai Blue Diamond Affair: Kingdom demands justice". Arab News. 2014-07-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-05. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
  16. Shenon, Philip (19 September 1994). "Saudi Envoy Helps Expose a Thai Crime Group: The Police (Published 1994)". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
  17. 17.0 17.1 "Blue Diamond Affair: The mystery of the stolen Saudi jewels". BBC News. 27 September 2019. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
  18. "'ไพศาล'เปิดเบื้องลึกปมเพชรซาอุฯ ซัดเลิกโกหกเด็กป้ายสีสถาบันได้แล้ว". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
  19. {{ |url=https://www.khaosaan.com/57284/}}
  20. "30 ปีคดีเพชรซาอุ เปิดใจนักโจรกรรม ผู้เขย่าสัมพันธ์ 2 ประเทศ". BBC ไทย. 25 September 2019. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
  21. The Economist: A law unto themselves
  22. "ศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต 'ชลอ เกิดเทศ'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-24. สืบค้นเมื่อ 2009-10-27.
  23. Laohong, King-oua (2013-10-26). "Saudi gem killer Chalor freed". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 14 Feb 2015.
  24. Ngamkham, Wassayos (12 October 2018). "Ex-cop linked to Saudi gems case held in slaying". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
  25. Charuvastra, Teeranai (2016-03-17). "Man Behind Saudi Diamond Heist Ordained 'For Life'". Khaosod English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-07. สืบค้นเมื่อ 27 March 2016.
  26. "จำคุกลูกน้อง'พล.ต.ท.ชลอ'ยักยอกเงินคดีเพชรซาอุฯ". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
  27. Saksornchai, Jintamas (2019-03-22). "TOP COURT CLEARS COPS OF MURDER IN SAUDI 'BLUE DIAMOND' CASE". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.
  28. เปิดเนื้อหา “แถลงข่าวร่วมหลังการเยือนซาอุฯของนายกฯไทย”
  29. "Crown Prince, Thai Prime Minister hold talks in Riyadh". Saudigazette (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-01-25.
  30. ""บลูไดมอนด์" ยังหาไม่พบ แต่ทำไมซาอุดีอาระเบียยอมฟื้นสัมพันธ์ไทย". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 24 January 2022.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้