คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อังกฤษ: Faculty of Science and Technology) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มุ่งเน้นผลิตและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติบนฐานความเชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมสร้างทักษะสู่โลกอาชีพ ภายใต้ ปณิธาน
Faculty of Science and Technology | |
ที่อยู่ | เลขที่ 1381 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 |
---|---|
สี | สีเหลือง |
เว็บไซต์ | [1] |
“คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมุ่งมั่นผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติให้มีความรอบรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยส่งเสริมฐานความรู้ทางวิชาการและการฝึกปฏิบัติ สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา มีความตระหนักในคุณธรรมและจริยธรรม พร้อมที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติและสังคม”
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้รับการสถาปนาขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548[1] โดยเป็นการรวมสถาบันการศึกษาเดิมของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจำนวน 5 วิทยาเขต ประกอบด้วย วิทยาเขตเทเวศร์ วิทยาเขตโชติเวช วิทยาเขตพณิชยการพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และวิทยาเขตพระนครเหนือ ปัจจุบันแยกเป็นศูนย์เพื่อจัดการเรียนการสอนเป็น 4 ศูนย์คือ ศูนย์เทเวศร์ ศูนย์โชติเวช ศูนย์พณิชยการพระนคร และศูนย์พระนครเหนือ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดตั้งตามกฎกระทรวง การจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[2] โดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตและการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งคณะฯมีที่ตั้งอยู่ที่ ศูนย์พระนครเหนือ ในปี พ.ศ. 2550 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เริ่มมีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น หลักสูตร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์) และสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น หลักสูตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม) ในปี พ.ศ. 2557 ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) จำนวน 6 หลักสูตร ได้แก่
1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ (B.Sc. Computer Science)
2. วิทยาการข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ (B.Sc. Data Science & Information Technology)
3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (B.Sc. Environmental Science and Technology)
4. วัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม (B.Sc. Industrial Materials Science)
5. เทคโนโลยีสุขภาพเครื่องสำอางและการชะลอวัย (B.Sc. Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology) หลักสูตรใหม่ 2566
6. สถิติสารสนเทศ (B.Sc. Information Statistic) หลักสูตรใหม่ 2566
ปัจจุบันสำนักงานและการจัดการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่ อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เดิมเป็นอาคารอนุสรณ์ 40 ปี ของคณะวิศวกรรมศาสตร์) ในปี 2558 ได้เริ่มมีการปรับปรุงโครงสร้างอาคารทั้งภายในและภายนอกให้ทันสมัย มีการปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และห้องบรรยายเพื่อรองรับการพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการจัดการศึกษายุคดิจิทัล (Digital education platform) ตลอดจนมีการตั้ง ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และบริการ (Scientific Instrument and Service Center : SISC) เพื่อเป็นแหล่งให้บริการทดสอบ วิเคราะห์ตัวอย่างและให้บริการสังคม สำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะการบริการวิจัยและทดสอบให้กับภาคอุตสาหกรรม
ทำเนียบคณบดี
แก้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญนภา สุวรรณบำรุง | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 26 ม.ค. 2567 - จนถึงปัจจุบัน |
ดร.จิระศักดิ์ ธาระจักร์ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 26 ม.ค. 2563 - 26 ม.ค. 2567 |
ดร.ไพศาล การถาง | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 26 ม.ค. 2559 - 25 ม.ค. 2563 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรา อมรแก้ว | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 26 ม.ค. 2555 - 25 ม.ค. 2559 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเทืองทิพย์ โรจนวิภาต,รักษาการแทนคณบดี | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 3 ต.ค. 2554 - 25 ม.ค. 2555 |
ว่าที่ร้อยตรีวิชัย โกศัลวัฒน์ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 2 ก.พ. 2554 - 2 ต.ค. 2554 |
นางสุรพร กิตติสารวัณโณ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 2 ก.พ. 2550 -1 ก.พ. 2554 |
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘ (จำนวน ๙ แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน)
- ↑ กฎกระทรวง จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2549