คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (อังกฤษ: Faculty of Education, Suan Sunandha Rajabhat University) ถือกำเนิดมาจากโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ต่อมาได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 นับเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | |
---|---|
Faculty of Education, Suansunandha Rajabhat University | |
ที่ตั้ง | |
อาคาร 11 เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 | |
ข้อมูล | |
คติพจน์ | ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย (ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์) |
สถาปนา | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 |
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์ |
สี | สีชมพู |
เพลง | มาร์ชครุศาสตร์สวนสุนันทา "กลิ่นแก้วจุลจอม" |
เว็บไซต์ | www.edu.ssru.ac.th |
ข้อมูลพื้นฐาน
แก้ประวัติ
แก้- พ.ศ. 2480 เริ่มจัดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชื่อ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2495 เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.) 1 ปี แผนกการงานสันทัด เช่น งานประดิษฐ์, งานไม้, งานพิมพ์, งานไฟฟ้า, งานเสื้อผ้า
- พ.ศ. 2496 เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) 2 ปี แผนกการงานสันทัด โดยผู้ที่เข้ารับการศึกษาจะต้องเป็นผู้ที่จบหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.) การงานสันทัดเท่านั้น
- พ.ศ. 2498 เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.) และหลักสูตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) การงานสันทัด และเปิดสอนฝึกหัดครู หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.ต้น) 2 ปี โดยผู้เข้ารับการศึกษาจะรับจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเริ่มคิดคะแนนแบบหน่วยกิตแทนแบบร้อยละ
- พ.ศ. 2500 เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.ต้น) รอบบ่ายเพิ่มขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไม่มีที่เรียนต่อ โดยกำหนดให้มีการรับนักเรียนฝึกหัดครูชายขึ้นเป็นครั้งแรก ในปีนี้เองเริ่มมีนักเรียนทั้งประเภทอยู่ประจำและประเภทเดินเรียนเนื่องจากไม่มีหอนอนเพียงพอ
- พ.ศ. 2501 เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) โดยรับจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.ต้น) และในปีนี้กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้ยกฐานะโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัยเป็น วิทยาลัยครูสวนสุนันทา
- พ.ศ. 2510 เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.) แบบเร่งรัด โดยรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือเทียบเท่ามาเรียนโดยใช้เวลา 1 ปี
- พ.ศ. 2511 เปิดการสอนภาคนอกเวลาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) โดยรับจากบุคคลซึ่งมีอาชีพแตกต่างกัน และในปีต่อมาได้ทำการเปิดสอนภาคนอกเวลาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.ต้น)
- พ.ศ. 2517 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 ปี โดยใช้หลักสูตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา
- พ.ศ. 2521 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 ปี ตามโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อ.ค.ป.)
- พ.ศ. 2523 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปี โดยรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้ารับการศึกษา
- พ.ศ. 2525 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ภาคต่อเนื่องและภาคสมทบแทนภาคนอกเวลา
- พ.ศ. 2527 มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู เป็นฉบับที่ 2 กำหนดให้วิทยาลัยครูเปิดทำการสอนได้รวม 3 สาขาวิชา และในปีนี้เองที่สาขาวิชาการศึกษาได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2528 โครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อ.ค.ป) ได้ถูกยกเลิกและเปลี่ยนเป็นโครงการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) สอนทั้งในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการศึกษา
- พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูสวนสุนันทา ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
- พ.ศ. 2538 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันราชภัฏ คณะวิชาครุศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะครุศาสตร์ ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของคณะเรียกว่าคณบดี และสามารถเปิดทำการสอนสาขาวิชาการศึกษาในระดับปริญญาตรีและสูงกว่าได้
- พ.ศ. 2540 ภาควิชาพื้นฐานการศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาโทโปรแกรมวิชาภาวะผู้นำ และในปีต่อมาได้พัฒนาเป็นหลักสูตรการจัดการคุณภาพ
- พ.ศ. 2544 รับมอบหมายจากสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ให้จัดทำหลักสูตรการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี)
- พ.ศ. 2546 ได้รับมอบหมายจากสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ให้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูประจำการสำหรับบุคลากรที่ไม่มีวุฒิทางการศึกษา และในปีนี้คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ และเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2547
- พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับการปรับเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- พ.ศ. 2547 เปิดรับเฉพาะนักศึกษาทุน 5 ปี เข้ามาศึกษาจำนวน 43 คน ประกอบด้วย 3 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, สาขาวิชาภาษาไทย รวมทั้งได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 1
- พ.ศ. 2548 เปิดสอนหลักสูตรการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) จำนวน 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์, สาขาวิชาภาษาไทย, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- พ.ศ. 2549 เปิดรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสาขาวิชา และได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการก่อสร้างอาคารคณะครุศาสตร์หลังใหม่เป็นจำนวนเงิน 85 ล้านบาท และในปีการศึกษานี้มีนักศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี รุ่นสุดท้ายที่จะสำเร็จการศึกษา แต่ยังคงมีการเปิดสอนตามหลักสูตร 4 ปี ในสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
- พ.ศ. 2551 นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) รุ่นแรก สำเร็จการศึกษาและได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
- พ.ศ. 2554 เปิดรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา (5 ปี) และสาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (4 ปี) [1]
- พ.ศ. 2559 งดรับนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (4 ปี)
- พ.ศ. 2560 เปิดรับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ (5 ปี)
- พ.ศ. 2562 เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี และเปลี่ยนชื่อสาขาจาก สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ เป็น สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
มาร์ชครุศาสตร์สวนสุนันทา "กลิ่นแก้วจุลจอม"
แก้- ประพันธ์คำร้องโดย นายธงชัย เดือนแจ้ง
- แก้วจุลจอมหอมฟุ้งปรุงจิต
- แก้วจุลจอมหอมฟุ้งปรุงจิต
ธ เนรมิตกลิ่นแก้วการศึกษา
- หอมสุคนธ์ล้นสวนสุนันทา
- หอมสุคนธ์ล้นสวนสุนันทา
คือคุณค่าครุศาสตร์ปราชญ์แผ่นดิน
- สถานผลิตบัณฑิตครูเคียงคู่ชาติ
- สถานผลิตบัณฑิตครูเคียงคู่ชาติ
องอาจปราดเปรื่องเป็นทรัพย์สิน
- พร้อมมรรยาทชาววังยังอาจิณ
- พร้อมมรรยาทชาววังยังอาจิณ
กำจายกลิ่นครุศาสตร์ดาษดา
- ทรงปัญญาศรัทธาธรรมนำสังคม
- ทรงปัญญาศรัทธาธรรมนำสังคม
ปรัชญานิยมล้ำลึกศึกษา
- ใฝ่เรียนรู้ปฏิบัติตามปรัชญา
- ใฝ่เรียนรู้ปฏิบัติตามปรัชญา
รับใช้ประชาเป็นเรือจ้างสร้างชาติไทย
- ครุยขาวแถบชมพูชูเชิด
- ครุยขาวแถบชมพูชูเชิด
เปี่ยมประเสริฐงามงดสดใส
- ครุศาสตร์สร้างชื่อเสียงเกรียงไกร
- ครุศาสตร์สร้างชื่อเสียงเกรียงไกร
รักษาไว้ชีพพร้อมยอมพลี
- ครุศาสตร์สวนสุนันสรรค์สง่า
- ครุศาสตร์สวนสุนันสรรค์สง่า
สร้างคุณค่าเทิดรักศักดิ์ศรี
- ส่งกลิ่นหอมล้อมทั่วทั้งธานี
- ส่งกลิ่นหอมล้อมทั่วทั้งธานี
หอมทวีกลกลิ่นแก้วจุลจอม
ภารกิจหลัก
แก้- 1. ผลิตบัณฑิตตามอัตลักษณ์ และพัฒนาครูมืออาชีพที่สนองตอบการปฏิรูปการศึกษาและการฝึกหัดครูสู่อาเซียน
- 2. บริการวิชาการคุณภาพตามความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อพัฒนาความแข็งแกร่งทางวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
- 3. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้
- 4. วิจัยสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ เพื่อเผยแพร่ และถ่ายทอดให้กับนักศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
แก้หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | ||
---|---|---|
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | |
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)
|
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
|
บุคลากร
แก้คณะผู้บริหาร
แก้คณะผู้บริหารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | ||
---|---|---|
รายนาม | ตำแหน่ง | |
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์ | คณบดี | |
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์ | รองคณบดีฝ่ายวิชาการ | |
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญฤดี อุดมผล | รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ | |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาณุวัฒน์ ศิวะสกุลราช | รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา | |
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์ | รองคณบดีฝ่ายบริหาร | |
6. อาจารย์ ดร.ดวงกมล จงเจริญ | รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ |
ทำเนียบคณบดี
แก้ทำเนียบคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | ||
---|---|---|
รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. อาจารย์ปลอบ เทพรักษ์ | พ.ศ. 2519 – 2523 | |
2. อาจารย์ ดร.อรสา ดิสสระ | พ.ศ. 2523 – 2527 | |
3. อาจารย์ ดร.อารี โสตถิพันธุ์ | พ.ศ. 2527 – 2531 | |
4. อาจารย์ประดับ นิลพังงา | พ.ศ. 2531 – 2532 | |
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประไพ เอกอุ่น | พ.ศ. 2532 – 2535 | |
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท เทอดสกุล ยุญชานนท์ | พ.ศ. 2535 – 2538 | |
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑา บุรีภักดี | พ.ศ. 2538 – 2541 | |
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันดี ทองใหญ่ ณ อยุธยา | พ.ศ. 2541 – 2545 | |
9. รองศาสตราจารย์ ดร.สุภัททา ปิณฑะแพทย์ | พ.ศ. 2545 – 2548 | |
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภรณ์ เจียมไชยศรี | พ.ศ. 2548 – 2552 | |
11. รองศาสตราจารย์ ดร.รสสุคนธ์ มกรมณี | พ.ศ. 2552 – 2556 | |
12. อาจารย์ ดร.อารยา ลี | พ.ศ. 2556 – 2560 | |
13. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา น้อยจันทร์ | พ.ศ. 2560 – 2563 | |
14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์ | พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน |
ทำเนียบนายกสโมสรนักศึกษา
แก้ทำเนียบนายกสโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | ||||
---|---|---|---|---|
รายนาม | รุ่น | สาขาวิชา | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. นายสมชาติ หิรัญภูมิ | 51 | คณิตศาสตร์ | พ.ศ. 2553 – 2554 | |
2. นายจิรายุทธ จิรวงษ์ศิริ | 52 | ภาษาไทย | พ.ศ. 2554 – 2555 | |
3. นางสาวเดือน แก้วพวง | 53 | ภาษาไทย | พ.ศ. 2555 – 2556 | |
4. นายณัฐนันทน์ หาญสัมฤทธิศักดิ์ | 54 | นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา | พ.ศ. 2556 – 2557 | |
5. นายทัศน์พล สุดโต | 55 | สังคมศึกษา | พ.ศ. 2557 – 2558 | |
6. นายการัณยภาส สัมดี | 56 | ภาษาไทย | พ.ศ. 2558 – 2559 | |
7. นายภริศกร คืนคง | 57 | สังคมศึกษา | พ.ศ. 2559 – 2560 | |
8. นายนทณัฐ เจริญพูล | 58 | ภาษาไทย | พ.ศ. 2560 – 2561 | |
9. นายชิณวัตร พละชัย | 59 | การศึกษาปฐมวัย | พ.ศ. 2561 – 2562 | |
10. นายศุภณัฐ อนุพจน์มนตรี | 60 | ภาษาไทย | พ.ศ. 2562 – 2563 | |
11. นายปัณณวิชญ์ ดวงโสภา | 61 | ภาษาไทย | พ.ศ. 2563 – 2564 |
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติความเป็นมา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์คณะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- เว็บไซต์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- เว็บไซต์ สกอ. เก็บถาวร 2006-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- เว็บไซต์กระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
- เว็บไซต์คุรุสภา เก็บถาวร 2013-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา