กูกอลเพลกซ์ (อังกฤษ: googolplex) หมายถึง จำนวนมหาศาล (large number) จำนวนหนึ่งซึ่งมีค่าเท่ากับ 10กูกอล หรือ นั่นคือมีเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีก 1 กูกอลตัวในเลขฐานสิบ

ที่มาของชื่อ

แก้

ในปี ค.ศ. 1920 หลานชายของนักคณิตศาสตร์ เอดเวิร์ด แคสเนอร์ (Edward Kasner) ที่ชื่อว่า มิลทัน ซิรอตทา (Milton Sirotta) เคยนิยามคำจำกัดความของกูกอลเอาไว้ มิลทันจึงนิยามอีกคำหนึ่งเพิ่มคือกูกอลเพลกซ์ โดยให้ความหมายว่า "เลขหนึ่ง และตามด้วยการเขียนเลขศูนย์ไปจนกว่าคุณจะเหนื่อย"[1] แคสเนอร์จึงดัดแปลงนิยามนั้นให้มีกฎเกณฑ์เพิ่มขึ้นเป็น "เพราะว่าต่างคนก็ต่างเหนื่อยในเวลาที่ต่างกัน และมันก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เหมือนการนำคาร์เนรา (นักมวยแชมป์โลก) มาเป็นนักคณิตศาสตร์แทนที่ด็อกเตอร์ไอน์สไตน์ เนื่องจากเขามีความอดทนมากกว่า"[2]

กูกอลเพลกซ์มากแค่ไหน

แก้

หนึ่งกูกอลนั้นก็ยังมากกว่าจำนวนอนุภาคในเอกภพที่มองเห็น ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 1079 ถึง 1081 และเมื่อกูกอลเพลกซ์เป็นจำนวนที่มีเลขศูนย์ถึง 10100 ตัว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเขียนหรือเก็บบันทึกกูกอลเพลกซ์ให้เห็นเป็นจำนวนเต็มโดยไม่ใช้รูปเลขยกกำลัง

หรือหากตั้งใจจะพิมพ์จำนวนหลักของกูกอลเพลกซ์ด้วยฟอนต์ขนาด 1 พอยท์ที่อ่านไม่ออก และ 1 พอยท์ของ TeX นั้นกว้าง 0.3514598 มิลลิเมตร นั่นหมายความว่าจะต้องพิมพ์ให้ยาวถึง 3.5×1096 เมตรด้วยขนาดฟอนต์นั้น และเอกภพที่มองเห็นมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 7.4×1026 เมตร จึงหมายความว่าจะต้องเขียนหลักทั้งหมดของกูกอลเพลกซ์ยาวประมาณ 4.7×1069 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเอกภพ

กูกอลเพลกซ์เทียบกับจำนวนอื่น

แก้
  • BEAF =  

อ้างอิง

แก้
  1. Bialik, Carl (14 June 2004). "There Could Be No Google Without Edward Kasner". The Wall Street Journal Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2016. (retrieved 17 March 2015)
  2. Edward Kasner & James R. Newman (1940) Mathematics and the Imagination, page 23, NY: Simon & Schuster

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้