กาเกาเอ็มคอมปะนี (อังกฤษ: kakao M Company, เกาหลี: 카카오엠 컴퍼니) หรือในอดีตคือ โซล เรคคอร์ด, วายบีเอ็ม โซล เรคคอร์ด, โลเอ็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และกาเกาเอ็ม เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านธุรกิจผลิตเพลง การจัดการศิลปิน,นักร้อง,นักแสดง รวมถึงดูแลการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆให้กับศิลปินภายในประเทศเกาหลีใต้ ก่อตั้งในปี 1978 โดย มิน ย็อง-บิน ปัจจุบันเป็นหนึ่งในหน่วยธุรกิจของบริษัทกาเกาเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จากการควบรวมกิจการกับกาเกาเพจ ถือเป็นกลุ่มธุรกิจในเครือกาเกา ที่ให้บริการด้านการบันเทิงครบวงจรทั้งเป็นตัวแทนการจัดจำหน่าย, การจัดการศิลปิน-นักแสดง-นายแบบ, การผลิตสื่อ, การจัดอีเวนท์, การจัดงานคอนเสิร์ตเป็นต้น

เอ็มคอมปะนี (M Company)
엠 컴퍼니
ชื่อเดิมโซล เรคคอร์ด
(1978–2000, 2005–2008)
วายบีเอ็ม โซล เรคคอร์ด
(2000–2005)
โลเอ็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์
(2008–2018)
กาเกาเอ็ม
(2018–2021)
ประเภทหน่วยธุรกิจ
อุตสาหกรรมธุรกิจบันเทิง
ก่อตั้งปี 1978
ผู้ก่อตั้งมิน ย็อง-บิน
เลิกกิจการ2 มีนาคม ค.ศ. 2021 (2021-03-02)
สาเหตุควบรวมกิจการกับ กาเกาเพจ และจัดตั้งกาเกาเอ็นเตอร์เทนเมนต์ พร้อมทั้งลดสถานะเป็นเพียงหน่วยธุรกิจของบริษัทใหม่แทน
ถัดไปกาเกาเอ็นเตอร์เทนเมนต์
สำนักงานใหญ่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
สเตฟานี คิม [ko]
(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)[1][2][3]
คิม ย็อง-ซ็อก
(รองประธานฝ่ายบริหารกลุ่มธุรกิจดนตรี)
ชัง เซ-จง
(รองประธานฝ่ายบริหารกลุ่มธุรกิจสื่อ)
บริการ
  • การผลิตเพลง
  • การผลิตสื่อ
  • การจัดจำหน่าย
รายได้เพิ่มขึ้น 323.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2014)[4]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 6.59 หมื่นล้านวอน (ปี 2015)
5.84 หมื่นล้านวอน (ปี 2014)[4]
รายได้สุทธิ
  • เพิ่มขึ้น 5.06 หมื่นล้านวอน (ปี 2015)
    4.57 หมื่นล้านวอน billion (ปี 2014)
  • เพิ่มขึ้น 12 ล้านวอน(ปี 2008)
[4]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 3.038 แสนล้านวอน[4] (2014)
พนักงาน
361 คน(เมื่อ ตุลาคม ค.ศ. 2016 (2016-10))[4]
บริษัทแม่วายบีเอ็ม กรุ๊ป (1978-2005)
เอสเค กรุ๊ป (2005-2016)
Affinity Equity Partners (2013-2016)[5]
กาเกา (2016-2021)[6][7]
บริษัทในเครือรายชื่อ

ในปี 2015 ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำบริษัทค่ายเพลงในแง่ของผลประกอบการตามสถิติที่จัดทำโดย สมาคมอุตสาหกรรมผู้ผลิตเพลงเกาหลี (KMCIA) [8] ก่อนที่ปี 2016 กลุ่มกาเกา ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และแอพลิเคชั่นสนทนา กาเกาทอล์ค ประกาศซื้อหุ้น และทำให้เปลี่ยนสภาพบริษัทเป็นบริษัทลูกของกาเกาไป

ประวัติ แก้

แต่เดิมแล้วเคยเป็นบริษัทที่ก่อตั้งในฐานะบริษัทลูกของกลุ่มบริษัท YBM Sisa ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวกับ เทปสอนภาษา ในปี 1978 โดย มิน ย็อง-บิน[9] ในปี 1982 บริษัทได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในชื่อ โซล เรคคอร์ดส์ และในปี 1984 ได้เริ่มผลิตและจัดจำหน่ายผลงานบันทึกเสียงบทเพลงคลาสสิกและบทเพลงพื้นบ้าน

ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นบริษัทร่วมทุน ในปี 1999 และเริ่มจำหน่ายอัลบั้มในขณะเดียวกันก็ทำธุรกิจเว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตอีกด้วย ก่อนที่ปี 2000 บริษัทได้เปลี่ยนชื้อบริษัทเป็น วาย-บี-เอ็ม โซล เรคคอร์ด และเริ่มที่จะขายหุ้นใน KOSDAQ ในปี 2003 บริษัทได้เข้าร่วมกับสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ ก่อนที่ ในปี 2005 บริษัทในเครือ เอสเค เทเลคอม บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของเกาหลีใต้ เข้าซื้อหุ้นจำนวน 60% ของบริษัท กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในขณะนั้น และวาย-บี-เอ็ม โซล เรคคอร์ด ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเอสเค กรุ๊ปในภายหลัง[10] ปี 2008 บริษัทได้ทำการเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน โลเอ็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์

ในปี 2009 โลเอ็นได้เข้าไปทำหน้าที่ดำเนินการบริการการจัดจำหน่ายเพลงออนไลน์ของกลุ่ม เอสเค เทเลคอม ชื่อ เมลล่อน (อังกฤษ: MelOn, เกาหลี: 멜론) ซึ่งปัจจุบันถือบริการที่เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศเกาหลีใต้[11][12]

ในปี 2012 บริษัทได้ทำการเซ็นสัญญาข้อตกลงกับเว็บไซต์สถานีโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ตและภาพยนตร์ วีกี (Viki) ในการเผยแพร่มิวสิกวิดีโอ, บทสัมภาษณ์, บันทึกการแสดงคอนเสิร์ต ของศิลปินในสังกัดเช่น ไอยู, บราวน์อายด์เกิลส์ และดรังเค้น ไทเกอร์[13]

18 กรกฎาคม 2013 บริษัท สตาร์ อินเวสต์ โฮลดิ้ง บริษัทในเครือกลุ่ม Affinity Equity Partners ทำการเข้าซื้อหุ้น 52.56% ของโลเอ็น ทำให้ปัจจุบัน เอสเค กรุ๊ปมีหุ้นเหลือเพียง 15% เท่านั้น[5] หลังจากนั้นอีก 5 เดือน SIH ได้เข้าซื้อหุ้นของ RealNetworks, Inc. ในสัดส่วน 8.83% ของบริษัท[14]

บริษัทได้ทำการปรับโครงสร้างองค์กร โดยแยกธุรกิจการจัดการศิลปินออกเป็น 2 บริษัทคือ โลเอ็นทรี (อังกฤษ: LOEN Tree) บริหารงานโดย โช ย็อง-ชอล และ '"Collabodadi'" บริหารงานโดย Shinsadong Tiger[15]

18 ธันวาคม 2013 โลเอ็นได้เข้าซื้อหุ้นจำนวน 70% ของบริษัทสตาร์ชิพเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ทำให้กลายเป็นบริษัทลูกที่ยังสามารถบริหารงานได้อย่างอิสระ

25 พฤศจิกายน 2015 โลเอ็นได้ประกาศเข้าซื้อหุ้นจำนวน 70% ของบริษัทเอ คิวบ์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ทำให้กลายเป็นบริษัทลูกที่ยังสามารถบริหารงานได้อย่างอิสระเช่นเดียวกับสตาร์ชิพเอ็นเตอร์เทนเมนต์

11 มกราคม 2016 กลุ่มกาเกา ได้ทำการซื้อหุ้นของโลเอ็นและกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด[6][7] ภายหลังจากนั้นอีก 2 ปี ได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น กาเกา เอ็ม

เดือนธันวาคม 2020 กาเกาเพจ ได้เสนอการควบรวมกิจการกับ กาเกาเอ็ม เพื่อให้บริษัทสามารถให้บริการได้อย่างครบวงจร[16] ก่อนที่วันที่ 25 มกราคม 2021 ทั้งสองบริษัทได้ประกาศแผนระยะเวลาในการดำเนินการควบรวมกิจการทั้งหมดของทั้งสองบริษัท รวมถึงประกาศชื่อบริษัทใหม่ว่า กาเกาเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่สื่อความหมายว่าธุรกิจบันเทิงที่ครบวงจร[17] โดยการควบรวมกิจการเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2021 และได้ก่อตั้งบริษัทใหม่ในวันถัดมา

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 เพลงที่จัดจำหน่ายโดยกาเกาเอ็ม ถูกถอดออกจากแอปพลิเคชันบริการสตรีมเพลง สปอทิฟาย ภายหลังจากข้อตกลงการให้สิทธิ์ใช้งานบนบริการสตรีมเพลงสิ้นสุดลงและไม่สามารถหาข้อตกลงได้ทัน[18][19][20] ก่อนที่วันที่ 11 มีนาคม ทั้งสองบริษัทได้ทำการต่ออายุใบอนุญาตเป็นที่เรียบร้อย[21][22]

ภายหลังจากควบรวมกิจการเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2021 กาเกาเอ็ม ได้ปรับลดสถานะจากบริษัทเหลือเพียงหน่วยธุรกิจของกาเกาเอ็นเตอร์เทนเมนต์ โดยใช้ชื่อหน่วยธุรกิจว่า เอ็มคอมปะนี[23]

กรณีพิพาท แก้

การปั่นราคาหุ้น แก้

2011 แก้

เอ็มคอมปะนี ในสมัยที่ยังเป็นโลเอ็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และเป็นบริษัทลูกของ เอ็สเคเทเลคอม บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของเกาหลีใต้ ถูกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของเกาหลีใต้แจ้งข้อหาปั่นราคาหุ้นในปี 2011 และปรับเป็นเงิน 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการกระทำในครั้งนี้

2016 แก้

วันที่ 9 ตุลาคม 2016 ศาลฎีกาของเกาหลีใต้พิพากษาปรับกาเกาเอ็ม และจีนีมิวสิก (Genie Music) เป็นจำนวนเงิน 100 ล้านวอน จากการสมรู้ร่วมคิดในการปั่นราคาหุ้นย้อนหลังรวมถึงคดีที่เคยส่งฟ้องเมื่อปี 2008 ชิน ซู-ว็อน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารในขณะนั้นถูกศาลปรับ 10 ล้านวอนเช่นกัน[24]

การขโมยเงินค่าลิขสิทธิ์ แก้

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2019 มีการเปิดเผยว่าอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารชิน, รองประธานบริหารอี และผู้อำนวยการคิมถูกตำรวบจับในข้อหาขโมยเงินค่าลิขสิทธิ์จำนวน 1.82 หมื่นล้านวอนจากศิลปินและโปรดิวเซอร์ที่จำหน่ายเพลงบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน MelOn [25]

ปัญหาการจัดการโปรโมต แก้

ในปี 2013 กาเกาเอ็ม (โลเอ็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในขณะนั้น) ได้ทำข้อตกลงกับ ซี-เจสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (C-JeS Entertainment) สำหรับการโปรโมตและจัดจำหน่ายอัลบั้มที่ 2 ของจุนซูที่มีชื่อว่า 'Incredible' ไม่กี่วันก่อนการวางจำหน่าย ซี-เจสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ได้รับแจ้งจาก กาเกาเอ็มว่าพวกเขาจะจัดจำหน่ายอัลบั้ม แต่ได้ยกเลิกแผนการตลาดและโปรโมชั่นส่งเสริมการทำกิจกรรมทั้งหมด รวมที่แผนการออกอากาศรายการที่กำลังจะจัดแสดงของจุนซูในแพลตฟอร์ม MelOn ถึงแม้ว่าจะออกอากาศผ่านทาง LOEN TV (1theK ปัจจุบัน) ได้ แต่ข้อความโฆษณาที่เกี่ยวกับกิจกรรมและอัลบั้มของจุนซูบน MelOn ก็หายไปหมดรวมถึงบนบัญชีสื่อสัมคมออนไลน์ของกาเกาเอ็มด้วย

ต่อมา ซี-เจสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ต้นสังกัดของจุนซูขู่ว่าจะลบการกล่าวถึงการร่วมการกับกาเกาเอ็ม ออกจากการแสดงทั้งหมดที่จะมีขึ้น รวมถึงจะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของเกาหลี่ใต้ และ หน่วยงานต่อต้านการคอรัปชั่น รวมถึงหน่วยงานสิทธิพลเมือง[26]

ท่าทีของกาเกาเอ็มหลังจากที่เกิดเรื่องขึ้น ระบุเพียงพวกเขายังคงอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนที่จะแถลงการณ์ พวกเขาชี้ให้เห็นถึงหน้าโฮมเพจของ MelOn ว่ายังมีการโปรโมตกิจกรรมของจุนซูบนหน้าเว็บไซต์และแอปพลิเคชันอยู่ ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งหลังจากนั้นทางซี-เจสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ตอบว่าพวกเขาได้รับการสั่งซื้อล่วงหน้าและการอัดรายการล่วงหน้าสำหรับโชวเคสแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบจากกาเกาเอ็ม

ภายหลังจากได้รับความสนใจจากสื่อจำนวนมาก ทั้งสองบริษัทได้นัดพบกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดในวันที่ 8 กรกฎาคม และจบข้อพิพาททั้งหมดลงในวันเดียวกัน พร้อมทั้งแจ้งถุงการส่งเสริมการจัดจำหน่ายตามแผนเดิมที่วางไว้[27]

ธุรกิจเด่นของบริษัท แก้

เมลอน (Melon) แก้

เมลอน (อังกฤษ: Melon, เกาหลี: 멜론) เป็นธุกิจการจัดจำหน่าย,การฟังเพลงออนไลน์ รวมถึงจำหน่ายบัตรชมละครเวที, อีเวนท์, คอนเสิร์ต ซึ่งเป็นที่นิยมมากในประเทศเกาหลีใต้ โดยมีส่วนแบ่งผู้ใช้งานคิดเป็น 59% ในปี 2013

วันเดอะเค (1theK) แก้

วันเดอะเค (อังกฤษ: 1theK, เกาหลี: 원더케이) เป็นช่องทางเผยแพร่คอนเทนต์วิดีโอทาง ยูทูบ] ในอดีตใช้ชื่อว่า โลเอ็นมิวสิก (LOEN Music) โดยเป็นพื้นที่ในการลงมิวสิกวิดีโอของศิลปินที่บริษัทเป็นตัวแทนจัดจำหน่าย รวมถึงผลิตรายการเพื่อโปรโมตให้กับศิลปิน อาทิ Ask in a box เป็นต้น

กาเกาทีวี (kakao TV) แก้

เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2020 ให้บริการผ่านกล่องรับสัญญาณผ่านดาวเทียม

บริษัทภายใต้การดูแล แก้

กาเกา เอ็มคอมปะนี มีบริษัทในเครือและหน่วยงานภายในที่อยู่ในการดูแลภายใต้หน่วยธุรกิจดังนี้

บริษัทดำเนินการร่วมทุน แก้

  • อีดัมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (EDAM Entertainment)


สำนักงาน แก้

  • อาคารจ็องซ็อก เลขที่ 17 ถนนเทเฮรัน 103 แขวงซัมซอง เขตกังนัม กรุงโซล [a]
  • ชั้น 8 อาคาร Twosun World เลขที่ 221 ถนนพันกโย เขตบุนดัง จังหวัดคย็องกี[b]
  • ชั้น 2, ชั้น 4 และ ชั้น5 SS Building เลขที่ 8 ถนนอ็อนจู 172, เขตกังนัม กรุงโซล[c]
  • เลขที่ 4-5 ถนนซัมซ็อง 146 แขวงช็องดัม เขตกังนัม กรุงโซล[d]
  • ชั้น 9 อาคารสาร์ฮิลล์ เลขที่ 151 ถนนพงอึนซา แขวงนนฮย็อน เขตกังนัม กรุงโซล[e]
  • เลขที่ 43 ถนนพงอึนซา 49 เขตกังนัม กรุงโซล[f]
  • เลขที่ 27 ถนนฮักดง 50 เขตกังนัม กรุงโซล[g]
  • เลขที่ 35 ถนนนนฮย็อน 142 เขตกังนัม กรุงโซล[h]
  • เลขที่ 6 ถนนย็องดง 137 เขตกังนัม กรุงโซล[i]
  • ชั้น 4 - ชั้น 6 อาคาร 925 เลขที่ 30 ถนนโดซัน 101 เขตกังนัม กรุงโซล[j]
  • เลขที่ 13 อาคารดาอน ถนนอ็อนจู 130 เขตกังนัม กรุงโซล[k]
  • อาคารชังอู เลขที่ 7 ถนนโดซัน 53 เขตกังนัม กรุงโซล[l]
  • ชั้น 5 อาคารช็องอึน เลขที่ 6 ถนนซัมซ็อง 107 เขตกังนัม กรุงโซล[m]
  • ชั้น 3 อาคารชูซัน เลขที่ 17 ถนนฮักดง 33 เขตกังนัม กรุงโซล[n]
  • ชั้น 3 เลขที่ 14 ถนนฮันนัม 42 เขตยงซัน กรุงโซล[o]
  • ชั้น 20 อาคารดิจิทัลคิวบ์ เลขที่ 34 ถนนซังอัมซัน เขตมาโพ กรุงโซล[p]
  • ชั้น 8 อาคาร The PAN เลขที่ 10 ถนนเวิลด์คัพบุก 58 เขตมาโพ กรุงโซล[q]
  • ชั้น 4 อาคาร TUBAn เลขที่ 1 ในเขตพระราชวังคย็องฮี เขตจงโน กรุงโซล[r]
  • ชั้น B1, 3-4 เลขที่ 42 ถนนดงโฮ 20 เขตชุง กรุงโซล[s]
  • ชั้น 2 - 3 เลขที่ 12-8 ถนนโซลซัพ 4 (ป่ากรุงโซล) เขตซ็องดง กรุงโซล[t]

รางวัล แก้

ปี หน่วยงานที่ได้รับ งานประกาศรางวัล สาขาที่เข้าชิงรางวัล ผล
2011 เมลล่อน
(Melon)
Digital Chosun Ilbo Awards Most Trusted Brand (Online Music Service) ชนะ
App Awards Korea Best Entertainment Application ชนะ
2012 Digital Chosun Ilbo Awards Most Trusted Brand (Online Music Service) ชนะ
โลเอ็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ Korean Digital Business Innovation Awards Grand Prize (Digital Contents) ชนะ
2013 Gaon Chart K-Pop Awards Music Distribution (Online) ชนะ[28]

หมายเหตุ แก้

  1. สำนักงานหลักของเอ็มคอมปะนี รวมถึงหน่วยธุรกิจวันเดอะเคสาขาเอ็มคอมปะนี, GRAYGO และอีดัมเอ็นเตอร์เทนเมนต์
  2. ที่ตั้งสำนักงานของหน่วยธุรกิจวันเดอะเคสาขาเพจคอมปะนี
  3. สำนักงานของเฟล็กซ์เอ็ม (ชั้น 4) และ เพลย์เอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (ชั้น 2 และชั้น 5)
  4. ที่ตั้งสำนักงานของกลุ่มบริษัทสตาร์ชิปเอนเตอร์เทนเมนต์
  5. ที่ตั้งสำนักงานของเครเกอร์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  6. ที่ตั้งสำนักงานเจ,ไวด์คอมปะนี
  7. ที่ตั้งสำนักงานเมเนจเมนต์ซูป
  8. ที่ตั้งสำนักงานบีเอ็ชเอ็นเตอร์เทนเมนต์
  9. ที่ตั้งสำนักงานอีแอนด์ทีสตอรีเอ็นเตอร์เทนเมนต์
  10. ที่ตั้งสำนักงานวาสท์เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  11. ที่ตั้งสำนักงานเรดดีเอ็นเตอร์เทนเมนต์
  12. ที่ตั้งสำนักงานโลโกส์ฟิล์ม
  13. ที่ตั้งสำนักงานมูนไลท์ฟิล์ม
  14. ที่ตั้งสำนักงานครอสพิกเจอรส์
  15. ที่ตั้งสำนักงานของโชว์โน๊ต
  16. ที่ตั้งสำนักงานเมกะมอนสเตอร์
  17. ที่ตั้งสำนักงานบารัมพิกเจอรส์
  18. ที่ตั้งสำนักงานสตอรีแอนด์พิกเจอรส์มีเดีย
  19. ที่ตั้งสำนักงานสไนพิกเจอรส์
  20. ที่ตั้งสำนักงานออซัมเอ็นท์

อ้างอิง แก้

  1. Baek, Byung-yeul (January 2, 2019). "New Kakao M CEO to challenge Netflix, CJ ENM in original content". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ February 7, 2021.
  2. Park, Chang-young; Choi, Mira (January 2, 2019). "Kakao M names new CEO, adds Lee Byung-hun, Gong Yoo under management". Pulse News. สืบค้นเมื่อ February 7, 2021.
  3. "Kakao Corporation Internal Audit Report" (PDF). Kakao. PwC. สืบค้นเมื่อ February 7, 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Loen Entertainment on the Forbes Asia 200 Best Under A Billion List". Forbes Asia. Forbes Inc. July 2014. สืบค้นเมื่อ May 14, 2015.
  5. 5.0 5.1 "Private Equity Korea: SK Planet to divest stake in LOEN Entertainment to Affinity". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 2015-11-29.
  6. 6.0 6.1 Kim Min-soo (January 13, 2016). "카카오, '멜론' 로엔엔터테인먼트 1.8조에 인수…종합 모바일 콘텐츠 플랫폼 서비스 나선다 (Kakao acquires "MelOn" company Loen Entertainment for 1.8 billion dollars... sets out an entertainment platform for comprehensive mobile content services)". The Chosun Ilbo. สืบค้นเมื่อ January 13, 2016.
  7. 7.0 7.1 Lee Se-young (January 12, 2016). "Kakao to buy South Korea's top music streaming operator for $1.6 billion". Reuters. Thomson Reuters Corp. สืบค้นเมื่อ January 13, 2016.
  8. Kim, Jin-woo (December 11, 2015). "2015년 음악시장 결산 (2015 Music Market Closing Review)". Gaon Music Chart (ภาษาเกาหลี). Korea Music Content Industry Association. สืบค้นเมื่อ March 18, 2016.
  9. "1978 - Founding of "Seoul Records"". YBM Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-28. สืบค้นเมื่อ 2015-11-29.
  10. "Korean Telco Takes Control Of Seoul Records". Billboard. Prometheus Global Media. May 27, 2005. สืบค้นเมื่อ August 16, 2013.
  11. "(주)로엔엔터테인먼트 (LOEN Entertainment,Inc.)". Naver Terms. Naver Corporation. 2012-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-11-03.
  12. ""LOEN versus KT Music": Music cataclysm". Chosun Biz. Chosun Ilbo. 2013-05-13. สืบค้นเมื่อ 2013-11-13.
  13. "Video Subtitling Site Viki Puts K-Pop Content in Spotlight". The Chosun Ilbo. 25 May 2012. สืบค้นเมื่อ 30 May 2012.
  14. "어피니티, 리얼네트웍스 보유 로엔엔터 지분 인수 (Affinity acquires RealNetworks' stake in Loen Ent)". The Bell. November 17, 2013. สืบค้นเมื่อ January 6, 2015.
  15. starsung (September 24, 2013). "LOEN Entertainment undergoes reorganization to become a multi-label system". allkpop. สืบค้นเมื่อ September 24, 2013.
  16. "Kakao Page close to merging with Kakao M before IPO - Pulse by Maeil Business News Korea". m.pulsenews.co.kr.
  17. Corp, Kakao Page. "Launch of KAKAO ENTERTAINMENT through strategic merger of Kakao Page and Kakao M". www.prnewswire.com.
  18. Daly, Rhian (February 28, 2021). "Spotify confirm hundreds of K-pop releases removed from platform globally". NME.
  19. Daly, Rhian (March 1, 2021). "Spotify ชี้แจง – เมื่อเพลง K-POP หลายร้อยเพลงหายไปจากระบบเพียงชั่วข้ามคืน". HallyuKStar.
  20. Daly, Rhian (March 1, 2021). "Kakao M ชี้แจงถึงประเด็นที่เพลงในการจัดจำหน่ายหายไปจาก Spotify". HallyuKStar.
  21. Stassen, Murray (March 11, 2021). "Spotify reinstates K-Pop tracks from Kakao Entertainment as companies reach global licensing deal". Music Business Worldwide. สืบค้นเมื่อ March 11, 2021.
  22. Daly, Rhian (March 11, 2021). "Kakao M และ Spotify เคลียร์ปัญหาเรื่องสัญญา-เตรียมนำเพลงกลับสู่ระบบ". HallyuKStar.
  23. Jo, Ah-ra (2021-03-04). "카카오페이지, 웹소설 스타트업에 300억 배팅, 이유는? - 머니투데이". Hankyung (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2021-02-16.
  24. Yoon Sung-won (October 9, 2016). "Loen, KT Music fined for music source price-fixing". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ October 12, 2016.
  25. "'저작권료 182억 꿀꺽' 전 멜론 관계자 3명 재판행". Yonhap News (in Korean). September 26, 2019. สืบค้นเมื่อ September 27, 2019.
  26. 씨제스 "로엔, 준수 홍보 파기는 갑의 횡포"- 로엔 "긴급회의 중". 네이트뉴스 (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ May 9, 2016.
  27. "XIA 준수 측, "로엔과 원만한 합의..예정대로" :: THE STAR". thestar.chosun.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-30. สืบค้นเมื่อ May 9, 2016.
  28. jnkm (February 13, 2013). "Winners & Best Moments of the 2nd Gaon Chart K-Pop Awards". Soompi. สืบค้นเมื่อ September 28, 2013.