การโจมตีกองเรือกาซา
32°38′28″N 33°34′02″E / 32.64113°N 33.56727°E
การโจมตีกองเรือกาซา (อังกฤษ: Gaza flotilla raid) หรือชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการลมทะเล (อังกฤษ: Operation Sea Breeze) โดยกองกำลังป้องกันอิสราเอล[1][2] เป็นการขึ้นเรือและการยึดเรือหกลำจาก กองเรือเสรีภาพกาซา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553[3] กองเรือดังกล่าว ประกอบด้วยขบวนการกาซาเสรีและมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพและความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม (IHH) พยายามที่จะฝ่าการปิดล้อมกาซาและส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและวัสดุก่อสร้างไปยังฉนวนกาซา[3][4] เรือทั้งหกลำรวมตัวกันใกล้กับไซปรัส และออกเดินทางเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยมีผู้โดยสารกว่า 663 คน จาก 37 ประเทศ[5][6] คอมมานโดอิสราเอลขึ้นเรือในเขตน่านน้ำสากลของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[6] หลังจากกองเรือปฏิเสธข้อเสนอของอิสราเอลที่จะให้มีการตรวจสอบสินค้าที่บรรทุกมาที่ท่าแอชดอด และให้มีการจัดส่งทางบกแทน[7]
นักเคลื่อนไหวบนเรือลำใหญ่ที่สุดของกองเรือนี้ MV Mavi Marmara ปะทะกับกองกำลังพิเศษ กองเรือ 13 ของกองทัพเรืออิสราเอล เมื่อกองกำลังเหล่านี้ได้ขึ้นสู่ดาดฟ้าของเรือ นักเคลื่อนไหวบนเรือคนหนึ่งกล่าวว่าทหารอิสราเอลยิงเตือนก่อนที่จะขึ้นเรือ[8] คอมมานโดกล่าวว่าพวกเขาถูกโจมตีด้วยมีด หนังสติ๊ก และท่อโลหะ จากนั้นได้เปลี่ยนจากอาวุธที่ไม่รุนแรงถึงชีวิตเป็นกระสุนจริงหลังจากนักเคลื่อนไหวหลายคนยึดเอาปืนพกสั้นของพวกเขาไป[9][10] ผู้โดยสารคนอื่นกล่าวว่านักเคลื่อนไหวได้มีพฤติการณ์ป้องกันตัวเอง ปลดอาวุธทหาร และโยนอาวุธเหล่านี้ลงสู่ทะเล[11][12] นักเคลื่อนไหว 9 คน[13][14]ถูกยิงเสียชีวิตโดยคอมมานโดอิสราเอล[15] นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 12 คน และถูกจับกุมอีกหลายร้อยคน[16][17] คอมมานโดได้รับบาดเจ็บ 7 นาย ในจำนวนนี้ 2 นายได้รับบาดเจ็บสาหัส[18][16] ทางการอิสราเอลกล่าวหา IHH ว่าส่งนักเคลื่อนไหวมาบนเรือ MV Mavi Marmara เพื่อตั้งใจยุยงให้เกิดความรุนแรง[19] แต่ IHH ปฏิเสธข้อกล่าวหา[20]
การโจมตีดังกล่าวก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากหลายประเทศในทันที รวมไปถึงการประณามอย่างกว้างขวาง จากหน่วยงานของรัฐ องค์กรเหนือรัฐ และองค์การสาธารณประโยชน์ รวมทั้งการชุมนุมประท้วงและการก่อจลาจล[21][22]ทั่วโลก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณาม "การกระทำเช่นนั้นซึ่งทำให้พลเรือนเสียชีวิต" และต้องการให้มีการสืบสวนอย่างยุติธรรมเกี่ยวกับการโจมตีดังกล่าว[23] และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวพลเรือนที่อิสราเอลยังคุมขังไว้อยู่ทันที[23]อิสราเอลตอบสนองยินดีที่จะปล่อยตัวพลเรือนที่ถูกจับกุมราว 620 คน จาก 682 คน และส่งตัวกลับประเทศ[24] เหตุการณ์ดังกล่าวได้บั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับอิสราเอล[25]
สินค้าบรรทุกถูกยึดโดยอิสราเอล และเอาขึ้นจากเรือที่ท่าแอชดอตและได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของอิสราเอล: สินค้าบรรทุกดังกล่าวได้รับอนุญาตและส่งไปยังกาซาทางพื้นดิน[26] กลุ่มฮามาสปฏิเสธไม่ยิมยอมให้สินค้าบรรทุกเหล่านี้เข้าสู่กาซาจนกว่าอิสราเอลจะปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมจากกองเรือและตกลงที่จะอนุญาตให้ผู้จัดระเบียบกองเรือส่งสินค้ามายังกาซาได้โดยตรง รวมไปถึงวัสดุก่อสร้าง โดยปราศจากการตรวจสอบของอิสราเอล[27][28] MV Rachel Corrie เรืออีกลำหนึ่งซึ่งเดิมตั้งใจที่จะเดินทางมาเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือยังคงพยายามที่จะส่งวัสดุเข้าสู่กาซา; เรือดังกล่าวถูกยึดในน่านน้ำสากลโดยทหารอิสราเอลเช่นเดียวกัน[29]
อ้างอิง
แก้- ↑ IDF staff (undated). "Israel Defense Forces: Operation "Sea Breeze" – Legal Aspects" (Microsoft Word document). The Military Strategic Information Section, International Military Cooperation Department, Strategic Division, Israel Defense Forces. สืบค้นเมื่อ June 7, 2010.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Glenn Kessler (June 4, 2010). "Israel gives its account of raid on aid ship headed for Gaza". Washington Post. สืบค้นเมื่อ June 7, 2010.
- ↑ 3.0 3.1 Black, Ian; Haroon Siddique (May 31, 2010). "Q&A: The Gaza Freedom flotilla". The Guardian. Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ June 2, 2010.
- ↑ Colum Lynch (June 1, 2010). "Israel's flotilla raid revives questions of international law". Washington Post. สืบค้นเมื่อ June 2, 2010.
- ↑ Tia Goldenberg (May 31, 2010). "Pro-Palestinian aid flotilla sets sail for Gaza". San Diego Union-Tribune. Associated Press. สืบค้นเมื่อ June 4, 2010.
- ↑ 6.0 6.1 Noah Kosharek (June 2, 2010). "Israel transfers hundreds of Gaza flotilla activists to airport for deportation". Haaretz. สืบค้นเมื่อ June 7, 2010.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Joshua Mitnick (June 1, 2010). "Flotilla Assault Spurs Crisis". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ June 7, 2010.
- ↑ Dorian Jones Helena Smith (June 1, 2010). "Israelis opened fire before boarding Gaza flotilla, say released activists". Guardian (UK). สืบค้นเมื่อ June 2, 2010.
- ↑ Yaakov Katz (2010-06-04). "'We had no choice'". JPost.com. สืบค้นเมื่อ 2010-07-06.
- ↑ "Under Fire for Gaza Raid, Israel Blames Flotilla Organizers for Provocation". PBS NewsHour. May 31, 2010. Public Broadcasting System.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Haaretz Service and The Associated Press (2010-06-03). "Gaza flotilla organizer admits activists seized weapons from Israeli soldiers". haaretz.com. สืบค้นเมื่อ 2010-07-06.
- ↑ Jamal Elshayyal (June 6, 2010). "Kidnapped by Israel, forsaken by Britain". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ June 7, 2010.
- ↑ Slackman, Michael (June 2, 2010). "In Bid to Quell Anger Over Raid, Israel Frees Detainees". NYTimes.com. สืบค้นเมื่อ June 3, 2010.
- ↑ CNN Wire Staff (June 3, 2010). "Gaza aid flotilla activists arrive in Turkey". CNN.com. สืบค้นเมื่อ June 3, 2010.
- ↑ Ivan Watson (June 4, 2010). "Autopsies reveal 9 men on Gaza aid boat shot, 5 in head". CNN World. สืบค้นเมื่อ June 4, 2010.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 16.0 16.1 Edmund Sanders (June 1, 2010). "Israel criticized over raid on Gaza flotilla". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-31. สืบค้นเมื่อ June 2, 2010.
- ↑ Friedman, Matti (June 2, 2010). "Details emerge of bloodshed aboard Gaza-bound ship". The Washington Post. Associated Press. สืบค้นเมื่อ June 3, 2010.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Harel, Amos; Issacharoff, Avi; Pfeffer, Anshel (31 May 2010). "Israel Navy commandos: Gaza flotilla activists tried to lynch us". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 11 June 2011.
- ↑ "Cabinet communique" (Press release). State of Israel Cabinet Secretariat. 6 June 2010. สืบค้นเมื่อ 10 June 2010.
- ↑ "Islamic charity at center of flotilla clash known for relief work and confrontation". 10 June 2010. สืบค้นเมื่อ 10 June 2010.
- ↑ Riots Break Out Over Israel Flotilla เก็บถาวร 2010-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, CBS News
- ↑ Riots in Umm al-Fahm over naval raid on Gaza aid flotilla, Ynet News
- ↑ 23.0 23.1 Department of Public Information, News and Media Division (June 1, 2010). "Security Council Condemns Acts Resulting in Civilian Deaths during Israeli Operation against Gaza-Bound Aid Convoy, Calls for Investigation, in Presidential Statement". 6325th & 6326th Meetings (PM & Night). UN.org. สืบค้นเมื่อ June 2, 2010.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSofer
- ↑ Aliriza, Bulent; Flanagan, Stephen; Malka, Haim (June 3, 2010). "The Gaza Flotilla Raid and its Aftermath". Center for Strategic and International Studies. สืบค้นเมื่อ June 5, 2010.
- ↑ Meranda, Amnon (June 1, 2010). "After IDF raid, aid makes its way to Gaza". ynetnews.
- ↑ CNN Wire staff (June 2, 2010). "IDF: Hamas stops flotilla aid delivered by Israel". CNN. สืบค้นเมื่อ June 3, 2010.
Ra'ed Fatooh, in charge of the crossings, and Jamal Khudari, head of a committee against the Gaza blockade, said Israel must release all flotilla detainees and that [the aid] will be accepted in the territory only by the Free Gaza Movement people who organized the flotilla.
- ↑ Harriet Sherwood (June 3, 2010). "Hamas refuses flotilla aid delivered by Israel". Guardian (UK). สืบค้นเมื่อ June 4, 2010.
- ↑ Laub, Karin (June 5, 2010). "Israel remains defiant, seizes Gaza-bound aid ship". Associated Press. สืบค้นเมื่อ June 5, 2010.