การแปลสัมผัสผิด

การแปลสัมผัสผิด หรือ สัมผัสลวง หรือ การแปลสิ่งเร้าทางสัมผัสผิด[1] (อังกฤษ: Tactile illusion) เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดของระบบประสาทรับรู้สัมผัส การแปลสัมผัสผิดบางอย่างจะต้องขยับนิ้วหรือมือ และบางอย่างก็เกิดได้โดยไม่ต้องขยับ (เช่น มีสิ่งเร้าภายนอกมาสัมผัสกับผิวหนัง) ในหลายปีที่ผ่านมา นักวิจัยที่ศึกษาเรื่องการรับรู้ได้สนใจเรื่องนี้เพิ่มขึ้น ทำให้ได้ค้นพบสัมผัสลวงแบบใหม่ ๆ และมีการกล่าวถึงพวกมันในวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ประชานิยม[2] สัมผัสลวงบางอย่างจะคล้ายกับภาพลวงหรือเสียงลวง ซึ่งแสดงนัยว่า ระบบรับความรู้สึกต่าง ๆ อาจแปลผลคล้าย ๆ กัน แต่สัมผัสลวงอย่างอื่น ๆ ก็ไม่มีอะไรที่คล้ายกันทางตาหรือทางหู

แบบไม่ต้องขยับโดยเนื่องกับพื้นที่-เวลา แก้

สัมผัสลวงหลายอย่างเกิดจากลำดับของสิ่งเร้าที่มาสัมผัสกับผิวหนังที่อยู่นิ่ง ๆ

  • สัมผัสลวงเนื่องกับพื้นที่-เวลาที่รู้จักดีที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ สัมผัสลวงแบบกระต่าย ที่การเคาะผิวหนังสองที่ตามลำดับทำให้รู้สึกว่า ได้เคาะผิวหนังในระหว่างด้วย[3][4] สัมผัสลวงแบบกระต่าย (cutaneous rabbit illusion) ซึ่งเรียกอีกอย่างในภาษาอังกฤษว่า sensory saltation (การกระโดดทางความรู้สึก)[5] ก็เกิดทางตาด้วย[6] ทางหูด้วย[7]
  • ปรากฏการณ์เทา (tau effect) เป็นการรับรู้ระยะทางที่ผิดพลาด[8][4][9] ที่การเคาะผิวหนังในระยะเท่า ๆ กันทำให้สามารถรู้สึกว่า ไม่เท่ากัน โดยขึ้นอยู่กับช่วงเวลาระหว่างการเคาะ โดยเฉพาะก็คือ ช่วงระหว่างการเคาะสั้น ๆ จะทำให้รู้สึกว่าจุดที่เคาะอยู่ใกล้กันมากกว่า[9] เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดที่เกิดทางตาด้วย[10] ทางหูด้วย[11]
  • ปรากฏการณ์แคปปา (kappa effect) เป็นการรู้สัมผัสที่ผิดพลาดทางกาลเวลา[8] ซึ่งเสริมปรากฏการณ์เทา คือ การเคาะผิวหนังที่จุดต่าง ๆ โดยมีช่วงเวลาห่างเท่า ๆ กันจะทำให้รู้สึกว่า ช่วงเวลาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับช่วงระยะทางที่เคาะ โดยเฉพาะก็คือ ช่วงระยะทางที่ห่าง ๆ กันจะทำให้รู้สึกผิดว่า ช่วงระยะเวลาระหว่างการเคาะห่างกันมากขึ้น เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดที่เกิดทางตาด้วย[12][13] และทางหูด้วย[11]
  • ถ้าเปิดปลายแขนเล้วปิดตาหรือหันศีรษะไปทางด้านตรงข้าม ในขณะที่อีกคนหนึ่งค่อย ๆ ลากนิ้วอย่างช้า ๆ จากข้อมือขึ้นไปถึงข้อศอก หลายคน ๆ จะไม่สามารถบอกได้ว่า เมื่อไรนิ้วมาสัมผัสรอยย่นที่ข้อศอก[14]

เนื่องจากการปรับตัวของประสาท แก้

การแปลสิ่งเร้าผิดทางตาหลายอย่างเกิดจากการปรับตัวของประสาท เมื่อได้รับสิ่งเร้าอย่างหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ในกรณีเช่นนี้ การรับรู้สิ่งเร้าต่อไปจะเปลี่ยนไป ปรากฏการณ์นี้บางครั้งเรียกว่าในภาษาอังกฤษอีกอย่างหนึ่งว่า contingent after-effect (ผลตามหลังที่มีเงื่อนไข) ซึ่งสามารถเป็นเหตุให้เกิดสัมผัสลวง

  • ถ้าจุ่มมือข้างหนึ่งในน้ำเย็นและอีกข้างหนึ่งในน้ำร้อนประมาณ 1 นาที แล้วจุ่มมือทั้งสองในน้ำค่อนข้างอุ่น มือที่จุ่มในน้ำเย็นก่อนจะรู้สึกร้อน และมือที่จุ่มในน้ำร้อนก่อนจะรู้สึกเย็น
  • ถ้าคนหนึ่งนอนคว่ำที่พื้นแล้วยืดแขนออกไปข้างหน้า ให้อีกคนหนึ่งยกแขนขึ้นประมาณ 2 ฟุตเหนือพื้น โดยยกไว้ประมาณ 1 นาที และให้คนที่นอนอยู่กับพื้นปิดตาและปล่อย/ห้อยศีรษะ ให้คนที่ยกวางแขนอย่างช้า ๆ ลงที่พื้น คนที่นอนอยู่จะรู้สึกเหมือนกับแขนกำลังลงไปยังระดับต่ำกว่าที่เหลือของร่างกาย
  • การปรับตัวเป็นจุด ที่เกิดจากการเร้าผิวหนังเขตหนึ่งเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดสัมผัสลวงต่อมาว่า สิ่งเร้าสองจุดต่อมาที่อยู่ภายในเขตเดียวกันจะรู้สึกห่างกันมากกว่าความเป็นจริง[15] ซึ่งคล้ายกับภาพลวงตาเช่น visual tilt effects ซึ่งเส้นหรือตะแกรงที่เป็นตัวทดสอบจะปรากฏเอียงจากความเป็นจริง เนื่องจากรูปบริบทที่อยู่ข้างเคียงกัน หรือรูปอื่นที่ดูก่อน เป็นภาพลวงที่อาศัยการปรับตัวของระบบประสาทเช่นกัน

สัมผัสลวงอื่น ๆ แก้

  • ถ้าถือขนมปังกรอบที่นิ่ม แต่ทานขนมปังกรอบที่สด จะทำให้รู้สึกว่า ขนมปังที่ทานเป็นของเก่า แต่ถ้าให้ถือขนมปังกรอบที่กรอบ แล้วให้ทานขนมปังกรอบที่นิ่ม (คือเก่า) จะทำให้รู้สึกว่า ขนมปังที่ทานเป็นของสด[16]
  • ถ้าใช้วัสดุต่อประสานกับคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์สามารถปรับแต่งแรงดันต่าง ๆ ได้[17] อาจจะทำให้ส่วนของวัสดุที่พูนออกเหมือนกับเป็นหลุม/รูได้[18] เทคโนโลยีลวงสัมผัสเยี่ยงนี้ อาจทำให้สร้าง "วัสดุเสมือน" เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ได้[19]
  • สัมผัสลวงแบบตะแกรงเหล็กร้อนเกิดเมื่อเอามือจับตะแกรงเหล็กที่มีแท่งเหล็กเย็นสลับกับแท่งเหล็กอุ่น โดยจะรู้สึกเหมือนกับถูกตะแกรงที่ร้อนมาก
  • ถ้าเอานิ้วโป้งและนิ้วชี้ลูบจับขอบของลิ่มกลับไปกลับมา เมื่อลูบจับขอบของวัตถุสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยวิธีเดียวกันต่อมา จะทำให้รู้สึกว่าวัตถุผิดรูปผิดร่าง
  • ถ้าขัดนิ้วชี้กับนิ้วกลางแล้วใช้ลูบตามขอบ จะทำให้รู้สึกเหมือนมีสองขอบขนานกัน และคล้าย ๆ กัน ถ้าขัดนิ้วชี้กับนิ้วกลางแล้วใช้หัวนิ้วในระหว่างกลิ้งลูกหิน จะรู้สึกเหมือนมีลูกหิน 2 ลูก
  • ถ้าใส่หมวกแก็ปเป็นเวลานานแล้วถอดออก อาจจะรู้สึกเหมือนใส่หมวกอยู่
  • ถ้าหันลิ้นด้านบนลงล่าง แล้วเอานิ้วลูบด้านหน้า จะรู้สึกเหมือนกับนิ้วลูบกลับทาง
  • ถ้าเอามือดันอะไรออกข้าง ๆ สักพักหนึ่งแล้วหยุด จะรู้สึกเหมือนกับมีอะไรห้ามไม่ให้เอามือเข้ามาประจบกัน โดยนัยเดียวกัน ถ้าดึงอะไรออกข้าง ๆ ด้วยแขน เช่นดึงกางเกงออกข้าง ๆ แล้วหยุด จะรู้สึกว่าเหมือนมีอะไรมากันไม่ให้แขนมาอยู่ข้าง ๆ ตัว
  • หลังจากออกกำลังกายบนสายพานวิ่ง หรือสายพานที่ใช้สำหรับเดิน (เช่นที่สนามบิน) สักระยะหนึ่ง เมื่อลงจากสายพาน บ่อยครั้งจะรู้สึกเหมือนกับถูกดึงให้ไปข้างหน้า
  • ถ้าคนสองคนยืนชนหน้าแล้วแปะมือข้างหนึ่งเข้าหากันและกัน แล้วให้คนหนึ่งเอานิ้วโป้งและนิ้วชี้ลูบนิ้ว 2 นิ้วที่ประกบกัน จะรู้สึกเหมือนนิ้วของอีกคนหนึ่งเป็นของตนเอง
  • ถ้าอยู่ในน้ำทะเลเป็นระยะเวลานาน หลังจากขึ้นมาอาจรู้สึกเหมือนกับกระแสน้ำยังผลักและดึงตนอยู่

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "illusion", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) การแปลสิ่งเร้าผิด
  2. "Seven ways to fool your sense of touch". New Scientist.
  3. Geldard, F. A.; Sherrick, C. E. (October 13, 1972). "The Cutaneous "Rabbit": A Perceptual Illusion". Science. 178 (4057): 178–179. doi:10.1126/science.178.4057.178. PMID 5076909.
  4. 4.0 4.1 Goldreich, Daniel; Tong, Jonathan (2013). "Prediction, Postdiction, and Perceptual Length Contraction: A Bayesian Low-Speed Prior Captures the Cutaneous Rabbit and Related Illusions". Frontiers in Psychology. 4. doi:10.3389/fpsyg.2013.00221.
  5. Geldard, Frank A. (1982). "Saltation in somesthesis". Psychological Bulletin. 92 (1): 136–175. doi:10.1037/0033-2909.92.1.136.
  6. Khuu, S. K.; Kidd, J. C.; Badcock, D. R. (August 15, 2011). "The influence of spatial orientation on the perceived path of visual saltatory motion". Journal of Vision. 11 (9): 5–5. doi:10.1167/11.9.5.
  7. Getzmann, Stephan (2009). "Exploring auditory saltation using the "reduced-rabbit" paradigm". Journal of Experimental Psychology: Human Perception and Performance. 35 (1): 289–304. doi:10.1037/a0013026.
  8. 8.0 8.1 Goldreich, Daniel (March 28, 2007). "A Bayesian Perceptual Model Replicates the Cutaneous Rabbit and Other Tactile Spatiotemporal Illusions". PLoS ONE. 2 (3): e333. doi:10.1371/journal.pone.0000333.
  9. 9.0 9.1 Tong, Jonathan; Ngo, Vy; Goldreich, Daniel (August 1, 2016). "Tactile length contraction as Bayesian inference". Journal of Neurophysiology. 116 (2): 369–379. doi:10.1152/jn.00029.2016.
  10. Bill, JC; Teft, LW (November 1972). "Space-time relations: the effects of variations in stimulus and interstimulus interval duration on perceived visual extent". Acta psychologica. 36 (5): 358–69. PMID 4644729.
  11. 11.0 11.1 Sarrazin, Jean-Christophe; Giraudo, Marie-Dominique; Pittenger, John Bruce (October 7, 2005). "Tau and Kappa effects in physical space: the case of audition". Psychological Research. 71 (2): 201–218. doi:10.1007/s00426-005-0019-1.
  12. Chen, Youguo; Zhang, Bangwu; Kording, Konrad Paul; Luo, Wenbo (April 21, 2016). "Speed Constancy or Only Slowness: What Drives the Kappa Effect". PLOS ONE. 11 (4): e0154013. doi:10.1371/journal.pone.0154013.
  13. Ogata, Katsuya; Kuroda, Tsuyoshi; Miyazaki, Makoto; Grondin, Simon; Tobimatsu, Shozo (October 31, 2016). "The Kappa Effect With Only Two Visual Markers". Multisensory Research. 29 (8): 703–725. doi:10.1163/22134808-00002533.
  14. Brugger, Peter; Meier, Rebekka (January 2015). "A New Illusion at Your Elbow". Perception. 44 (2): 219–221. doi:10.1068/p7910.
  15. Li, Lux; Chan, Arielle; Iqbal, Shah M.; Goldreich, Daniel (June 28, 2017). "An Adaptation-Induced Repulsion Illusion in Tactile Spatial Perception". Frontiers in Human Neuroscience. 11. doi:10.3389/fnhum.2017.00331.
  16. Barnett-Cowan, M (2010). "An illusion you can sink your teeth into: Haptic cues modulate the perceived freshness and crispness of pretzels". Perception. 39: 1684–1686. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2015. สืบค้นเมื่อ November 4, 2017.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Robles-De-La-Torre, Gabriel. "Haptic Perception of Shape: touch illusions, forces and the geometry of objects". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2012. สืบค้นเมื่อ November 15, 2012. 3.2 The paradoxical object scenario: forces and geometry vary in an "impossible" manner. When the haptic interface is powered on, it generates computer-controlled forces. Such forces are added to the forces that arise naturally from the normal tool-surface interaction. In this manner, it is feasible to create normally impossible, paradoxical objects in which geometrical information conflicts with force information. Figure 1 presents one of these impossible objects. Here, a person is exploring and object with a real, physical hole object (Figure 1, gray bar). Normally, the person would simultaneously experience forces that are related to the geometry of the hole, as in the normal case described before. However, in this impossible object, the haptic interface modifies such forces, so that the person experiences forces that are normally associated with an object that has a bump on it (Figure 1, red dotted line). Here the bump is purely virtual: it is created with forces, and has no geometrical information of its own. That is, when exploring this object, the person's fingertip still follows the hole trajectory given by the plastic surface (gray bar in Figure 1). The end result is that the person experiences the geometrical information of a hole, together with the force information of a bump.
  18. Robles-De-La-Torre G. & Hayward V. (2001). "Force Can Overcome Object Geometry In the perception of Shape Through Active Touch" (PDF). Nature. 412 (6845): 445–8. doi:10.1038/35086588. PMID 11473320. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 28, 2008.
  19. Graham-Rowe, Duncan. "The Cutting Edge of Haptics". สืบค้นเมื่อ November 15, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้